Connect with us

On this day

๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙

Published

on

ขอขอบคุณภาพจาก นิทรรศการ “คิดถึง…สมเด็จย่า” ด้วยสองพระหัตถ์ที่สร้างอาชีพให้ปวงชนชาวไทย (mgronline.com)

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 
(นามเดิม : สังวาลย์ ตะละภัฏ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ – ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘)
เป็นหม่อมในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 
เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนี ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร 
และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวง รัชกาลที่ ๙ 
และเป็นพระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลปัจจุบัน

ขอขอบคุณ ภาพจาก สมเด็จย่า แบบอย่างของในหลวง – โพสต์ทูเดย์ พระราชสำนัก (posttoday.com)

พระองค์มีพระนามที่นิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า ทั้งนี้เพราะพระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจ
เพื่อราษฎรชาวไทยภูเขา ที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร เปรียบเสมือนพระองค์เสด็จมาจากฟากฟ้า
ช่วยพวกเขาให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ชาวไทยภูเขา จึงถวายพระสมัญญานามว่า “แม่ฟ้าหลวง”

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระอาการทางพระหทัยกำเริบและทรงเหนื่อยอ่อน
คณะแพทย์ถวายการรักษาเบื้องต้นที่วังสระปทุม จนกระทั่งวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. พ.ศ. ๒๕๓๘ 
จึงเชิญเสด็จพระราชดำเนินเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ ตึก ๘๔ ปี โรงพยาบาลศิริราช 
ระหว่างการประทับรักษาที่โรงพยาบาล คณะแพทย์พบว่าเกิดการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต
จึงได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะเพิ่ม ต่อมา มีพระอาการแทรกซ้อน มีการอักเสบที่พระอันตะ
พระอันตคุณ (ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก) และที่พระปับผาสะ (ปอด) ข้างขวา
คณะแพทย์ได้พยายามถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปดีขึ้นบ้าง

เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระอาการทรุดลง เนื่องด้วย
มีพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ (ตับ) และพระวักกะ (ไต) ไม่ทำงาน พระหทัย (หัวใจ)
ทำงานไม่ปกติ ความดันพระโลหิตต่ำทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในพระโลหิต
คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ รวมทั้งการฟอกพระโลหิต
ด้วยเครื่องไตเทียมและกรองสารพิษซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของพระยกนะ
แต่พระอาการตั้งแต่เช้าจนเที่ยงของวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ คงอยู่ในภาวะวิกฤต
จนกระทั่ง เวลา ๒๑:๑๗น. สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี
ก็เสด็จสวรรคต รวมพระชนมายุ ๙๔ พรรษา

สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่ง
ลดธงครึ่งเสา ๓ วัน และให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์เป็นเวลา ๑๕ วัน
ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘  
ต่อมา ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้
ขยายเวลาลดธงครึ่งเสาต่อไปจนครบ ๕๐ วัน เพื่อให้สอดคล้องกับการแต่งกายไว้ทุกข์ถวาย
โดยให้ลดธงครึ่งเสาต่อไปจนถึงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

ขอขอบคุณ ภาพจาก “คิดถึง…สมเด็จย่า” ครั้งที่ 23 “ในความคิด…คำนึง” สยามรัฐ (siamrath.co.th)

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง พระราชสรีรางคารถูกเชิญไปบรรจุ ณ รังษีวัฒนา 
สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๑๐๑ ปี)
องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก UNESCO
ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จย่าเป็น “บุคคลสำคัญของโลก”

ข้อมูลและภาพจาก
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: