เมื่อไม่กี่วันก่อน เราทุกคนเพิ่งจะได้นับเค้าท์ดาวน์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่กันมาหยกๆ เผลอแป๊ปเดียวก็ต้องมานับถอยหลังวันที่ต้องกลับไปทำงานกันอีกแล้ว หลังจากที่ได้หยุดยาวพักผ่อนอยู่บ้านหรือออกเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด ทีมข่าวโตโจ้นิวส์มีสิ่งหนึ่งที่อยากให้ทุกคนเตรียมรับมือกับสภาวะทางจิตใจหลังวันยาวอย่างภาวะ “Post-Vacation Blues” ที่สามารถเกิดขึ้นกับเราทุกคนได้ … แล้วมันคือภาวะอะไร แก้ไขได้หรือไม่? มาหาคำตอบกันได้เลย!
ภาวะ Post-Vacation Blues หรือ Post-Holiday Blues หรือ Post-Travel Depression (PTD) คือ ภาวะทางอารมณ์ที่รู้สึกซึมเศร้า หดหู่ ไม่อยากเข้าออฟฟิศกลับไปทำงานหน้าคอมฯ มักเกิดขึ้นหลังจากที่ได้ใช้ชีวิตในวันหยุดยาวเมื่อร่างกายหลั่งสาร Endorphin อย่างพุ่งพล่านจนเกิดความสุขอย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะเป็นการได้นอนอยู่บ้านเฉยๆ หรือได้ออกไปเที่ยวในสถานที่ๆใหม่ ได้พบเจอผู้คนทั้งจากเพื่อนเก่าหรือคนที่เพิ่งจะเคยรู้จักกันก็ไม่นาน และเมื่อตกอยู่ในสภาวะนี้แล้ว ก็จะคอยนึกถึงแต่ความสุขในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมาแล้วอาการ Post-Vacation Blues เป็นโรคทางจิตเวชหรือเปล่า? ..
คำตอบคือ อาการนี้ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคทางจิตเวช เพราะอาการซึมเศร้าจะอยู่กับเราเพียงแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2-3 วันหลังจากวันหยุด และอาการนี้ก็จะหายไปเองเมื่อชีวิตได้ถูกปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ก็จะมีบางคนที่มีอาการซึมเศร้ายาวนานถึง 2-3 อาทิตย์ และมีหลายคนที่ไม่สามารถเอาชนะกับ Post-Vacation Blues ได้ จนต้องกลายเป็นโรค Major Depression Disorder หรือ โรคซึมเศร้า ไปโดยไม่ทันตั้งตัวอย่างไรก็ตาม เราทุกคนสามารถรับมือกับภาวะ Post-Vacation Blues ได้ง่ายๆโดยยากเกินความสามารถตัวเอง เพียงแค่ทำตามวีธีเหล่านี้
1) พักผ่อนอยู่ที่บ้านก่อนกลับไปทำงาน 1 วันวิธีการนี้เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจหลังจากที่เราไปเที่ยวมา การพักผ่อนอยู่ที่บ้านทำให้เราสามารถคุ้นชินกับสภาพแวดล้อมเดิมๆ และที่สำคัญคือ เราสามารถมีเวลานอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอก่อนที่จะเริ่มกลับไปทำงานอีกครั้งใันวันรุ่งขึ้น
2) อย่าจมปลักอยู่กับอดีตแน่นอนว่า เราสามารถย้อนคิดถึงวันหยุดยาวที่ผ่านมาได้ เพียงแต่อย่าจมอยู่กับห้วงเวลาเหล่านั้นนานจนเกินไป ทุกคนควรมองหาความสุขในปัจจุบันที่อยู่รอบๆตัว อย่าเบื่อหน่ายกับกิจกรรมในวันทำงาน เพราะนั่นจะทำให้คุณไม่มีความสุขเอาซะเลย
3) เลือกทานอาหารแบบตอนไปเที่ยวงานวิจัยจาก Western Michigan University เผยว่าอาหารและความทรงจำสามารถเชื่อมโยงความสุขได้อย่างใกล้ชิด การเลือกทานอาหารแบบตอนไปเที่ยวจะสามารถฟื้นฟูสภาวะจิตใจได้ดี และยิ่งมีเพื่อนหรือครอบครัวได้ลองทานกับคุณ ก็จะยิ่งเพิ่มความสุขได้ในมื้อนั้นๆ
4) พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เหมือนเดิมเคยทำอะไรในแต่ละวันก่อนวันหยุดยาว ก็กลับมาทำสิ่งเหล่านั้นให้เหมือนเดิม เพราะนั่นจะช่วยให้การใช้ชีวิตของเรามีแบบแผนมากขึ้น เหมือนกับการได้ทำภารกิจต่างๆของวันให้สำเร็จลุล่วง รวมถึงยังช่วยให้เราได้ปรับการใช้ชีวิตให้เข้าสู่สภาวะปกติให้ได้มากที่สุด
5) มองหาวันหยุดครั้งต่อไป…วางแผน…และจองตั๋วเลยความสุขของนักเดินทาง ถ้าไม่ใช่การเดินทางท่องเที่ยว จะเป็นอะไรไปได้ใช่ไหมละ? เพราะฉะนั้น ถ้ารู้สึกหดหู่ เศร้าสร้อยก็ตั้งเป้าหมายทริปต่อไปได้เลย คุณจะมีความสุขตั้งแต่การวางแผนทริปยันการกดตั๋วจองเครื่องบินหรือโรงแรม เพราะคุณจะรู้สึกถึงความสนุกที่รออยู่และทำให้รู้สึกมีแรงในการใช้ชีวิตมากขึ้น … และที่สำคัญคือ มีแรงทำงานเก็บเงินมากขึ้นด้วยเช่นกัน
6) ปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยาถ้าคุณยังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว ติดต่อกันมากกว่า 3 อาทิตย์ เราแนะนำให้เข้าพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อได้รับข้อแแนะนำและการรักษาที่ถูกวิธีสุดท้ายนี้ อาการ Post-Vacation Blues ไม่ใช่โรคหรืออาการที่ร้ายแรงจนทำให้เกิดความวิตกกังวล อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับเราทุกๆคนบนโลก หลังจากที่มีความสุขมากล้นจากการได้หยุดพักผ่อนในวาระต่างๆ ยิ่งเรารับมือกับอาการนี้ได้เร็วมากเท่าไหร่ จิตใจเราก็จะถูกเยียวยาให้ดีขึ้นมากเท่านั้น …
สู้ๆกับการทำงานในปี 2564 นี้นะคะ แล้วอย่าลืมวางแผนทริปไปเที่ยวของปีนี้ไว้ล่วงหน้าเพื่อหาความสุขเล็กๆใส่ตัว ถ้าอยากรู้ว่า ปีนี้หยุดยาววันไหนได้บ้าง ก็กดเข้าไปดูนี้เลย https://tojo.news/calendar2564/ ทีมข่าวโตโจ้นิวส์ได้รวบรวมวันหยุดปี 64 ไว้ให้แล้ว
You must be logged in to post a comment Login