เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย NPL และ การซื้อทรัพย์คืน NPA ให้แก่เกษตรกร ที่เป็นสมาชิกจำนวน 3,148 ราย
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวจากรัฐสภาว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบ ประมาณ 2566 จำนวน 1,500.75 ล้านบาท ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เพื่อจัดการหนี้ให้แก่เกษตรกรสมาชิก โดยเฉพาะหนี้เสีย (NPL) และการซื้อทรัพย์คืน (NPA) โดยมีเกษตรกรสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3,148 ราย
ทั้งนี้ พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 ได้มอบอำนาจให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สามารถจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีบุคคล ค้ำประกันได้ รวมทั้งช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิก ที่แตกต่างและไม่ซ้ำซ้อน กับการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หรือธนาคารของรัฐ เช่น การจัดการหนี้ให้แก่เกษตรกรสมาชิก กรณีหนี้ NPL และการซื้อทรัพย์สินคืน (NPA) ซึ่งเมื่อบุคคลได้รับการจัดการหนี้เหล่านี้ จะต้องเข้าสู่แผนการฟื้นฟูอาชีพด้วย
โดยก่อนหน้านี้ สํานักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้ของบประมาณรายจ่าย ปีงบ 2566 จากรัฐบาลในวงเงิน 3,341.5 ล้านบาท แต่ไม่ได้รับการจัดสรร จึงไม่มีเงินมาใช้ในการจัดการหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิก และใช้ในการดำเนินาการตามภารกิจในการช่วยเหลือและฟื้นฟูเกษตรกร
การได้รับงบประมาณเังกล่าว จะทำให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีงบประมาณเพียงพอ สามารถดำเนินแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรสมาชิกและฟื้นฟูอาชีพและพัฒนาเกษตรกรสมาชิกได้อย่างต่อเนื่อง
ในการนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้สั่งการเพิ่มเติม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบสิทธิให้ถูกต้อง รวมทั้งสั่งการให้มีการแก้ไขปัญหาหนี้ได้โดยเร็ว
ขอบคุณภาพประกอบจาก
https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3065.aspx
https://www.thaipost.net/public-relations-news/140322/