Connect with us

Politics

เหมาเครื่องการบินไทย 30 ล้าน ขนนายกฯและทีมงาน 50 ชีวิต บินไปร่วมประชุมกับ UN ที่นิวยอร์ก

Published

on

เผยราคากลางเช่าเหมาลำเครื่องการบินไทย ซึ่งจะนำนายกฯพร้อมทีมงานอีก 50 ชีวิต บินไปร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 “UNGA78” ที่นิวยอร์กระหว่างวันที่่ 18-26 ก.ย.66 นี้ มีค่าเชื้อเพลิง 16.8 ล้าน ค่าอาหารบนเครื่องบิน 1.47 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ได้ประกาศให้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะในการเสนอราคา การจ้างรับขนคนโดยสารทางอากาศโดยเครื่องบินพาณิชย์สำหรับภารกิจการเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 (UNGA78) ของนายกรัฐมนตรีและคณะ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ภายในวงเงิน 30,000,000. บาท (สามสิบล้านบาทถ้วน)
ซึ่งเอกสารดังกล่าวลงนามโดย นางสาวนัทรียา ทวีวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

โดยผู้สื่อข่าวมีรายงานเพิ่มเติมว่าโครงการนี้เป็นของ กองการต่างประเทศ สลน. มีการเผยแพร่รายละเอียดการคำนวณราคากลาง (ราคาอ้างอิง) การจ้างรับขนคนโดยสารทางอากาศโดยเครื่องบินพาณิชย์สำหรับภารกิจฯ ระหว่างที่ 18-24 กันยายน 2566 นี้ โดยใช้เส้นทางการบิน (ไป-กลับ) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ-กรุงโตเกียว (ฮาเนดะ)-นครนิวยอร์ก-กรุงโตเกียว (ฮาเนดะ)-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ

โดยมีรายละเอียด ประกอบด้วย

  1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องบิน เป็นเงิน 4,848,300.80 บาท
  2. ค่าเชื้อเพลิงอากาศยาน
    เป็นเงิน 16,800,000.00 บาท
  3. ค่าอาหารและเครื่องดื่มระหว่างบิน
    เป็นเงิน 1,479,520.00 บาท
  4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติการภาคพื้น
    เป็นเงิน 3,065,955.20 บาท และ
  5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เป็นเงิน 3,806,224.00 บาท
    รวมทั้งสิ้น 30.000.000.00 บาท

โดยราคาค่าจ้างเหมาดังกล่าว ใช้ราคากลางจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติโดยตรงรายเดียวในประเทศไทย เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) และการกำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ดังกล่าว เป็นการประมาณการค่าใช้จ่าย จากจำนวนผู้โดยสาร จำนวน 50 คน

โดยก่อนหน้านี้เคยปรากฏว่ารัฐบาลไทยในคราวที่คณะของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เดินทางไปฮาวาย เมื่อปี 2559 ใช้เงินในการจ้างเหมาเป็น
วงเงิน 20,953,800 บาท โดยแบ่งเป็น

  1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องบิน
    เป็นเงิน 3,835,200 บาท
  2. ค่าเชื้อเพลิงอากาศยาน
    เป็นเงิน 10,776,000 บาท
  3. ค่าอาหารและเครื่องดื่มระหว่างบิน
    เป็นเงิน 600,000 บาท
  4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติการภาคพื้น
    เป็นเงิน 2,636,400 บาท และ
  5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
    เป็นเงิน 3,106,200 บาท.

ขอบคุณภาพประกอบจาก
https://techsauce.co/news/thai-airways-announce-net-profit-first-haft-2020

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: