Connect with us

Politics

คนอุบลเรือนหมื่น แห่เชียร์ “สุดารัตน์” นั่งนายกฯ ดูแลคนอีสาน บอกมั่นใจ”หญิงหน่อย” ตัวจริงพร้อมทำงาน ไม่ใช่นอมีนีใคร ทำงานยากสำเร็จมาแล้ว ด้านเจ้าตัวประกาศเดินหน้า ดูแลชาวอีสาน ให้หายจน หมดหนี้ มีรายได้ยั่งยืนภายใน 3 ปี

Published

on

พร้อมยกระดับราคาสินค้าเกษตร ข้าวหอมมะลิต้องไม่ต่ำกว่า สองหมื่นบาทต่อตัน ยางพาราต้องไม่ต่ำกว่า 60 บาท ต่อกิโลกรัม

เมื่อช่วงสายของวันที่ 27 เมษายน 2566 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคไทยสร้างไทย หมายเลข 32 พร้อมด้วยนายสิทธิชัย โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้สมัครส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคไทยสร้างไทย ลงพื้นที่จ.อุบลราชธานี โดยช่วงเช้าที่สนามบิน มีพี่น้องประชาชนมารอรับแน่นขนัด ส่งเสียงเชียร์ “นายกหน่อย” “คุณหญิงสุดารัตน์ นายกคนอีสาน” พร้อมมอบดอกไม้ให้กำลังใจ เข้ามาทักทายสวมกอด และถ่ายภาพเป็นที่ระลึกอย่างอบอุ่น

จากนั้นคุณหญิงสุดารัตน์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัย 3 เวที ที่อำเภอนาจะหลวย อ.บุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่ 9 ของนางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ เบอร์ 10

โดยทั้งสามเวที ที่คุณหญิงสุดารัตน์ ได้รับการต้อนรับจากชาวอุบลราชธานีอย่างอบอุ่นมากเช่นกัน มีประชาชนแห่มาฟังนโยบายแต่ละเวทีนับหมื่นคน พร้อมกับเสียงสะท้อนจากชาวอุบลฯ ที่มองว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เหมาะที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ของประเทศไทยในเวลานี้มากที่สุด เพราะเป็นคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงานและมีประสบการณ์ทำงานยากๆสำเร็จมาแล้ว ที่สำคัญ คุณหญิงสุดารัตน์ สามารถทำงานได้ทันทีไม่ใช่นอมีนี จึงไม่ต้องรอฟังคำสั่ง หรือคำสั่งการจาก ใครคนใดคนหนึ่ง

และชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย ที่มุ่งยุติความขัดแย้ง การเมืองสองขั้ว ซึ่งสร้างความทุกข์ยาก แสนสาหัสให้ประชาชนมากว่า 17 ปี จนเกิดการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจึงขาดเสถียรภาพ ไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ และการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งในภาคอีสาน มีปัญหาเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำมาโดยตลอด รวมถึงที่จังหวัดอุบลราชธานีด้วย

คุณหญิงสุดารัตน์ ขึ้นเวที ประกาศ ดูแลพี่น้องชาว อุบลฯและพี่น้องคนอีสาน ให้หายจน หมดหนี้ มีรายได้ยั่งยืนภายใน 3 ปี พร้อมยกระดับราคาสินค้าเกษตร โดยจะรับซื้อและประกันราคาพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โดยข้าวหอมมะลิ จะต้องไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท/ตัน ข้าวหอมจังหวัด 13,000 บาท/ตัน ข้าวเหนียว 14,000 บาท/ตัน ข้าวสารขาว 11,000 บาท/ตัน
ส่วนราคาพืชผลอื่น มันสำปะหลัง 3 บาท/กก. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 บาท/กก. ยางพารา 60 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย 45 บาท/กก. ปาล์มน้ำมัน 5 บาท/กก. อ้อยโรงงาน 1,000 บาท/ตัน

และจะมีการปรับโครงสร้างการผลิต บริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกพืชเกษตร (Zoning) โดยปรับระบบการใช้ที่ดินเพื่อผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับอุปสงค์ – อุปทาน (Demand – Supply) เพื่อยกระดับราคา เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร พร้อมพัฒนาแหล่งน้ำ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงการกักเก็บน้ำตามลำน้ำ ซึ่งจะมีโครงการ ขุดบ่อน้ำ 1 ล้านบ่อ ขุดน้ำบาดาล 1 แสนบ่อ วางระบบผันน้ำ โขง-เลย-ชี-มูล แม่น้ำสายสำคัญอื่น และจาก สปป. ลาว มาเติม ในยามที่ขาดน้ำ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอและมีคุณภาพทุกหมู่บ้าน

นอกจากนี้ยังเห็นว่า จังหวัดอุบลราชธานี ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถ เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางการค้าได้ไม่น้อยกว่า 3 เท่า โดยจะยกระดับจังหวัดอุบลราชธานีให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Northeastern economic corridor

สำหรับ Northeastern economic corridor
ตรงข้ามอุบลราชธานี จะเป็นแขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดอุบลฯและกัมพูชา มีนคร ปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลาง ดังนั้น อุบลจึงเป็น corridor ที่เชื่อม 3 ประเทศ และขึ้นเหนือไปสู่จีนได้ ซึ่งจะเป็นสะพาน เชื่อมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวได้อีกมิติหนึ่ง

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: