Connect with us

Politics

“กำพล” ชูนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงิน (FinTech) กับการแก้ไขปัญหาหนี้สินชาวนา

Published

on

เพราะ“การสร้างอนาคตชาวนาไทย” เป็นส่วนสำคัญของการ “สร้างอนาคตไทย”

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายกำพล ปัญญาโกเมศ แกนนำผู้ก่อตั้ง พรรคสร้างอนาคตไทย ได้นำเสนอแนวความคิด ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินสำหรับชาวนา โดยการนำนวัตกรรมทางการเงินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จากปัญหาเดิมๆที่ชาวนาทั่วประเทศประสบมา แต่ไหนแต่ไรก็คือ การขายข้าวไม่ได้ราคา ราคาข้าวที่ขายได้ ไม่คุ้มทุน ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินของชาวนา

แนวคิดหลักประการนึงของพรรคสร้างอนาคตไทย ก็คือ การพยายามแก้ปัญหาของชุมชนฐานรากทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นชาวนาชาวไร่เกษตรกรจากชุมชนเมือง ในพื้นที่ส่วนต่างๆ
ของประเทศไทย เพื่อให้ทุกๆคนมีคุณภาพชีวิต

ที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงโอกาสในการจำหน่ายผลผลิตในราคาที่เหมาะสม โดยการนำนวัตกรรมด้านการเงิน (FinTech) มาประยุกต์ใช้ กับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างชุมชนเมืองกับหมู่บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม ให้กับคนในหมู่บ้าน และเกษตรกร

โดยในขณะนี้ได้มีการเดินหน้าเรื่องการสร้างต้นแบบระบบ “เหรียญดิจิตอล (Digital Token)” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน จากชุมชนเมืองสู่หมู่บ้าน โดยใช้แนวคิดในการสร้าง”เหรียญดิจิตอล (Digital Token)” และส่งเสริมแนวความคิด “Tokenization” เพื่อแก้ปัญหานี้

โดยแนวความคิดนี้ อาจจะเริ่มด้วยการตั้ง
“กองทุนสร้างอนาคตชาวนา” เพื่อทำการออกเหรียญดิจิตอล (Digital Token) อาจจะใช้ชื่อว่า “เหรียญสร้างอนาคตชาวนา (Future Farmer Token: FFT) แล้วเสนอขายให้กับผู้บริโภค โดยผู้ถือ “เหรียญสร้างอนาคตชาวนา’ มีสิทธิในการซื้อ ผลผลิตทางการเกษตรในราคาที่ถูกกว่า ท้องตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุน

โดยหลังจากออกเหรียญขายให้กับผู้บริโภค ในตลาดแรก (Primary Market) แล้วอาจจะ
นำเหรียญนี้เข้าซื้อขายในตลาดรอง (Secondary Market) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและความน่าสนใจ

ของเหรียญนี้ โดยเงินที่ระดมได้จากการขายเหรียญ รวมกับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ ในช่วงต้น สามารถนำไปชำระหนี้ชาวนาบางส่วน และ/หรือ นำไปพัฒนา “วิสาหกิจสร้างอนาคตชาวนา”
โดยจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ และปัจจัย เสริมอื่นๆ เช่น ยุ้งฉาง เครื่องสีข้าว เครื่องบรรจุถุง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง รวมถึงการ ติดตั้ง Solar Panel และการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) มาใช้

โดยมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดค่าใช้จ่าย และต้นทุนการผลิตของชาวนา
และให้ “วิสาหกิจสร้างอนาคตชาวนา” เป็นผู้รับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่เหมาะสม
จากนั้น “วิสาหกิจสร้างอนาคตชาวนา” จะนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสารบรรจุถุง และส่งไปวางขายที่ช่องทางการกระจายสินค้าของรัฐหรือความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น ตามสาขาไปรษณีย์ ร้านสะดวกซื้อตามปั๊มน้ำมัน ปตท.

หรือบางจาก สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น โดยให้สิทธิ์ผู้ถือเหรียญสามารถ
ไปซื้อข้าวสารจากช่องทางต่างๆเหล่านี้ได้ด้วย ด้วยกลไกนี้ จะทำให้ชาวนาขายข้าวเปลือก ได้ราคา สูงขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคซื้อข้าวสาร ได้ถูกลง ส่วนต่างที่ “วิสาหกิจสร้างอนาคตชาวนา” ซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา และ ขายข้าวสาร ให้กับผู้ถือเหรียญ สามารถนำกลับมาเข้ากองทุนสร้างอนาคตชาวนา เพื่อใช้เป็นค่าบริหารจัดการ
ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายระบบขนส่ง และ ตัวอทนจำหน่าย รวมถึงเป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
ให้กับชาวนา รวมถึงอาจจะสามารถจ่ายเป็นเงินปันผล คืนให้กับชาวนา ได้ด้วย

เมื่อชาวนาสามารถขายข้าวเปลือกได้ราคาสูงขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น และต้นทุนการผลิตลดลง ชาวนาก็จะมีเงินมาใช้หนี้ และแก้ไขปัญหาหนี้สินชาวนาได้อย่างยั่งยืน ไม่เป็นภาระการคลังของรัฐ และทำให้ชาวนาสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ได้อย่างมีศักดิ์ศรี

แนวคิดที่นำเสนอนี้เป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น จำเป็นต้องมีการปรับและเพิ่มเติมในแง่มุมอื่นๆ
เพื่อความสมบูรณ์ โดยหวังว่าแนวความคิดนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำ นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) มาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ชาวนา เป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาเกษตรกร

และราคาพืชผลอื่นๆ เพราะ “การสร้างอนาคตชาวนาไทย” เป็นส่วนสำคัญของการ “สร้างอนาคตไทย”

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: