Connect with us

Politics

สนธิรัตน์ เผย คนไทย ยังมีความเสี่ยงต่อราคาค่าไฟ สูงขึ้น !!

Published

on

สนธิรัตน์ พรรคสร้างอนาคตไทย ชำแหละปัญหาราคาพลังงาน ที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นจากสงคราม ที่นอกจากรัฐบาลต้องยุติ อ้างอิงราคาสิงคโปร์ ต้องเร่งแก้ด้านอื่นเพิ่ม

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ (กลุ่ม4กุมาร) แกนนำและผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสร้างอนาคตไทย เปิดเผยถึงราคาน้ำมัน ไฟฟ้า ก๊าซ ที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น โดยนายสนธิรัตน์ ระบุว่า ผมขอชวนทุกคนคิดกันครับว่า ในช่วงที่ราคาพลังงาน (น้ำมัน ก๊าซ) ขาขึ้นที่ถูกผลกระทบจากสงครามหรือจะเป็นช่วงที่ความต้องการปริมาณพลังงานมากๆ นี่ เราจะหาวิธีช่วยผ่อนคลายปัญหากันได้อย่างไร
อย่างเรื่องน้ำมัน ก็มีข้อมูลว่า

  1. ปริมาณการผลิตน้ำมันและ Condensate ในประเทศไทยนั้นคิดเป็นสัดส่วนไม่สูงนักหรือเฉลี่ยราว 18% เท่านั้นเมื่อเทียบกับปริมาณการบริโภคน้ำมันภายในประเทศ
    นั่นหมายความว่าน้ำมันอีกประมาณ 80% ที่เราใช้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้คือ ‘นำ้มันนำเข้า’ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศในรูปน้ำมันดิบแล้วนำมากลั่นในประเทศไทย
  2. โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย (ตามที่สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานเผยแพร่)
    2.1 ต้นทุนเนื้อน้ำมัน ประมาณ 40-60%
    2.2 ภาษีต่างๆ ประมาณ 30-40%
    2.3 กองทุนต่างๆ ประมาณ 5-20%
    2.4 ค่าการตลาด ประมาณ 10-18%
    ถ้าอย่างนั้น ในช่วงวิกฤตแบบสงครามนี่ เราหยุดชั่วคราวในการอ้างอิงราคาโรงกลั่นจากสิงคโปร์ บวกค่าขนส่ง ค่าต้นทุนอื่นๆ มาเป็น การคิดอิงต้นทุนจริง คือ จากราคาน้ำมันดิบที่ซื้อ บวก ค่ากลั่น (โรงกลั่นของเราเองในประเทศ) ในระดับที่ต่ำที่สุดในช่วงสัก 3 เดือน แล้วก็ลดภาษีนำเข้าให้ต่ำลง ยอมสูญเสียรายได้ชั่วคราวจากส่วนภาษีนี้ และลดค่าการตลาดลงบ้าง แบบนี้ เราก็น่าจะตรึงราคาและป้องกันการพุ่งของราคาสินค้าหรือค่าครองชีพอื่นๆ ของคนไทยได้
    หรือ เรามาคิดว่าใน 18% ที่ประเทศไทยผลิตได้เอง เราสามารถคิดในสัดส่วนดังกล่าวนี้ว่าไม่ต้องอิงราคาตลาดโลก ได้หรือไม่
    อย่างน้อยเชื่อว่า จะทำให้ราคาเฉลี่ยควรจะลดลงบ้าง ในช่วงภาวะไม่ปกติ และอาจจะทำให้ภาพในมุมอื่นๆ ที่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับโครงสร้างต้นทุนนำ้มันได้
    หรือ อย่างเรื่องก๊าซนี่ เราต้องทราบแล้วว่าตลาด LNG เป็นตลาดตึงตัว คือ ความต้องการซื้อ (Demand) พอๆ กับ ของที่จะขาย (Supply) ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ Supply มีมาก และจะตึงตัวไปอีก 2-3 ปี เพราะฉะนั้น ราคาก็พร้อมจะผันผวน ช็อคตามสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่าย อีกทั้งการขนส่ง LNG มีปัญหาเรื่องเรือไม่เพียงพอและค่าขนส่งที่สูง
    มีข้อมูลว่าสัดส่วนโครงสร้างกิจการการผลิตไฟฟ้าของประเทศปัจจุบัน ประมาณ 55-60% จะใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง นั่นหมายความว่าเรามีความเสี่ยงต่อราคาค่าไฟหากเกิดเหตุการณ์ความไม่แน่นอนเรื่องก๊าซ อีกทั้งปริมาณก๊าซในอ่าวไทยเราเหลือน้อยลง และนำขึ้นมาใช้ได้ต่ำกว่าเป้าหมาย อันเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทานที่ดำเนินการไม่ดีพอ สำหรับไฟฟ้าที่เหลือคือโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนในต่างประเทศ การใช้ถ่านหินที่มีในทั้งประเทศและต่างประเทศ เชื้อเพลิงชีวภาพ ชีวมวล หรืออื่นๆ คงต้องเร่งรัดและบริหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์
    เราต้องมาคิดเรื่องเหล่านี้ ที่มองได้ว่าเป็นความเปราะบางทางความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ การพึ่งพิงเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นหลัก เมื่อเกิดความไม่สมดุลของเชื้อเพลิงนั้น ย่อมเกิดความผันผวนทางด้าน Supply และราคา
    และด้วยเทคโนโลยีหลายๆอย่างในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุน Renewable Energy (พลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ) ก็ยังสามารถเป็นทางออกในการบริหารความเสี่ยงด้านพลังงานที่พึ่งพาแก๊สในปัจจุบันได้หากต้องบริหารจัดการเชิงรุก และเป็นไปตามกระแสสิ่งแวดล้อมของโลกครับ
    นี่ก็เป็นแนวทางของผมที่ชวนทุกคนคิดครับ

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: