Connect with us

Politics

เผยแล้ว!! ทำไมต้องต่อ​ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน​ ถึง​ พฤษภาคม​ 2565​!!

Published

on

ศบค.มีมติขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ​ ครั้งที่​ 17​ อีก 2 เดือน สิ้นสุด 31 พ.ค. ชี้​ เพื่อประโยชน์ต่อการควบคุมโรค

ผู้​สื่อข่าว​โต​โจ้​นิว​ส์ราย​งานว่า​ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. แถลงผลภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน โดยระบุว่า นายกรัฐมนตรีขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะจิตอาสาภาคประชาสังคม ทุ่มเทเสียสละทำงานอย่างเต็มที่ทำให้ผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆโดยเฉพาะการแพร่ระบาดในระดับนี้ ส่วนทำให้ประชาชนคนไทยเกิดการเรียนรู้และอยู่ร่วมกันกับโรคโควิด 19

พร้อมกันนี้ ยังระบุอีกว่า การแพร่ระบาดนั้นส่งผลกระทบต่อประชาชน ถึงห่วงใยโดยเฉพาะเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งถือว่าเป็นฤดูกาลผลไม้ของไทย จึงขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการบูรณาการร่วมกันเพื่อให้การส่งออกผลไม้ของไทย ไปถึงประเทศผู้ซื้อได้โดยไม่ทำให้สถานการณ์ต่างๆ มาเป็นผลกระทบต่อการส่งออกของไทย

โดยในวันนี้ที่ประชุมได้มีการปรับพื้นที่สถานการณ์ และการปรับมาตรการป้องกันโรคแบบบูรณาการ โดยไม่มีพื้นที่สีแดงเข้มและพื้นที่สีแดง ส่วนพื้นที่สีส้ม จากเดิม 44 จังหวัด ปรับเป็น 20 จังหวัด สีเหลืองจากเดิม 25 จังหวัดปรับเป็น 47 จังหวัด โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน สีฟ้า จากเดิม 8 จังหวัดเป็น 10 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีการเพิ่มมาคือจังหวัดเพชรบุรีและเชียงใหม่ ส่วนพื้นที่สีฟ้าบางพื้นที่ยังคงเดิมเป็น 18 จังหวัด

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังคงมาตรการ ปิดสถานบันเทิงผับ บาร์ และสถานประกอบการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วประเทศ โดย ศปก.ศบค. พิจารณาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ว่ายังไม่เห็นชอบว่าจะให้เปิดบริการได้ โดยขอให้สถานประกอบการปรับรูปแบบเป็นร้านอาหาร เพื่อให้สามารถเปิดบริการได้ผ่านระบบ Covid Free setting พร้อมกับย้ำว่ายังไม่อนุญาตให้ดื่มสุราในพื้นที่สีส้ม เว้นแต่มีพื้นที่สีฟ้าอยู่ภายในจังหวัด

ขณะที่แผนและมาตรการบริหารจัดการสถานการณ์ โควิด -19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่น โดยกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอเรื่องนี้เป็นแผนอย่างเป็นทางการต่อที่ประชุม ศบค. ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ยังอยู่ในช่วงที่ยังต้องต่อสู้กัน โดยหากในช่วงมีนาคม เมษายน ช่วยกันควบคุมป้องกันได้เป็นอย่างดี ระยะที่ 2 เมษายนถึงพฤษภาคม ก็จะเป็นระยะที่ทรงตัว และค่อยๆลดลงตามการคาดการณ์ที่ปลายเดือนพฤษภาคม จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งหากสถานการณ์เป็นไปตามการคาดการณ์ 1 กรกฎาคม ก็จะเห็นตัวเลขที่จะกดลดลง พร้อมกับระบุว่าแผนนี้เป็นเพียงแผนชี้นำที่จะให้คนทั้งประเทศช่วยกัน กดตัวเลขผู้ติดเชื้อให้มีระดับต่ำลงให้ได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเองก็เห็นชอบในแผนดังกล่าว พร้อมกับย้ำว่าแผนก็คือแผนแต่ 1 กรกฎาคมสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ค่อยดูกันไป ถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนไป

จากนี้ ก็คงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนตาม และประชาชนทุกคนจะเป็นผู้กำหนดแผนการชี้วัดเอง
ขณะที่ มาตรการ 4 ด้านประกอบด้วยด้านสาธารณสุข คือการเร่งการฉีดวัคซีนกระตุ้นให้ได้มากกว่าร้อยละ 60 ปรับระบบการเฝ้าระวังเน้นการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและผู้ป่วยปอดอักเสบ ผ่อนคลายมาตรการสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศ พร้อมทั้งปรับแนวทางแยกจากผู้ป่วยและกักกันผู้สัมผัส การเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพในอัตราการตายไม่เกินร้อยละ 0.1

ส่วนด้านการแพทย์จะมีการปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยนอกหรือ opd รวมไปถึงดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่ออาการรุนแรงและมีอาการรุนแรงรวมทั้งภาวะlong covid ด้านกฎหมายและสังคม การบริหารจัดการด้านกฎหมายในทุกหน่วยงานให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ post pandemic ผ่อนคลายมาตรการทางสังคมการลดจำกัดการเดินทางและการรวมตัวกันของคนหมู่มาก รวมไปถึงทุกภาคส่วนต้องส่งเสริมมาตรการ U P และ covid resetting

ขณะที่ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ทุกภาคส่วนร่วมสร้างความรับรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมให้ประชาชนสามารถ ดำเนินชีวิตร่วมกับ covid-19 ได้อย่างปลอดภัย Living with covid-19 รวมไปถึงการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก อย่างครอบคลุม ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างความร่วมมือของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา

ส่วนการเดินทางเข้าประเทศ วันที่ 1 เมษายนยกเลิกการตรวจ RT-PCR ทั้ง 3 กลุ่มทางบกทางอากาศและทางน้ำ โดยหักเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ให้ตรวจ RT-PCR ในวันแรก และตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองผ่าน ATK ในวันที่ 5 และให้อยู่ในพื้นที่ลดเวลาเหลือ 5 วัน ส่วนคนที่ลักลอบเข้าเมือง ไม่ได้ Quarantine หรือไม่ได้รับวัคซีน ให้กักตัวเหลือ 5 วัน และตรวจ RT-PCR ในวันที่ 4 และ 5 ส่วนผู้ที่ควบคุมยานพาหนะตรวจ ATK ในวันที่ 5

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้เปิดด่านทางบก ในวันที่ 1 เมษายน โดยเปิดด่านสตูล ท่าเรือในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปลืองหน่วยงานราชการในประเทศไทย ลูกเรือสัญชาติไทยบนเรือสินค้า สนามบินหาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากสถานการณ์ดีขึ้นการเปิดด่านทางบกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกับประชาชน ในเขตประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเมียนมา ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ก็จะใช้เดือนพฤษภาคมเป็นจุดหมายที่จะให้ทุกจังหวัดที่มีความพร้อมได้ดำเนินการไว้ เปิดพร้อมกันในทุกพื้นที่

ส่วนมาตรการการป้องกันโรคโควิด-19 ในการจัดงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ สามารถจัดได้ แต่จะตามประเพณีดั้งเดิมรดน้ำดำหัว ส่วนการสันทนาการต่างๆ ต้องขออนุญาต เพราะจะมีการรวมตัวกันของคนกลุ่มมาก โดยมีข้อแนะนำ การเตรียมตัวก่อนร่วมงาน โดยต้องมีการประเมินตนเองค่ะเพราะว่ามีอาการหรือมีความเสี่ยงขอให้หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมงานหรือพิจารณาการตรวจ ATK ก่อนเดินทางหรือ ก่อนเริ่มงานใน 72 ชั่วโมง พร้อมกับสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาล้างมือบ่อย งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ส่วนระหว่างการจัดงานสงกรานต์ อนุญาตให้เล่นน้ำและจัดกิจกรรมประเพณี เช่นรดน้ำ ดำหัวสรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรีโดยต้องปฏิบัติการตามมาตรการ covid Free setting และมีการกำกับอย่างเคร่งครัด ห้ามปะแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน

ขณะที่หลังจากกลับจากงานสงกรานต์ให้สังเกตอาการตนเอง 7 วันโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการ ป่วยรุนแรงและผู้ที่ไปพบปะกับผู้คนจำนวนมากหากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อให้ทำการตรวจ ATK และพิจารณามาตรการ Work From Home ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของหน่วยงาน

ส่วนการขยายระยะเวลาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักรคราวที่ 17 ซึ่งจะมีผลวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคม 2565 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค จึงขอฝากประชาชนในการร่วมมือกันภาครัฐดำเนินการมาตรการต่างๆ ภาคเอกชนร่วมมือกัน และดำเนินการตามข้อคิดเห็นร่วมกัน จะผ่านไปสู่โรคประจำถิ่นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จึงต้องขอความเข้าใจและการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันกับโรคนี้

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: