Connect with us

Politics

ปิยบุตร พูดถึงใคร?? หยุดทำตัวเป็นคุณพ่อรู้ดี ที่ไม่อยากให้คนทำอะไรก็ออกกฎห้าม-ลงโทษ !!

Published

on

“ปิยบุตร” เผย 3 ปัญหากฎหมายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชี้่ยิ่งเอื้อทุนใหญ่ผูกขาด – ปิดโอกาสผู้ประกอบการรายย่อยเติบโต

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า จัดรายการ “เอาปากกามาวง” โดยกล่าวถึง กรณี ‘ลิซ่า’ ลลิษา มโนบาล ไอดอลสาวชาวไทย สมาชิกวง Blackpink เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนล่าสุด ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งทางแวดวงแวดวงผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศ ตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องนี้จะสัมพันธ์กับ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา ม.32 ที่โดยเนื้อหาหลักคือห้ามโฆษณา แต่มีช่องให้สามารถกระทำเข้ามาจากนอกราชอาณาจักรได้ ซึ่งกรณีนี้อาจเป็นช่องว่างที่เกิดขึ้นหรือไม่?

ปิยบุตร กล่าวว่า มาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีปัญหาให้วิจารณ์ใน 3 ประเด็น คือ ปัญหาที่ 1. เป็นมาตราที่จำกัดสิทธิเสรีภาพเกินกว่าเหตุ ไม่ได้สัดส่วน ทั้งนี้ ในทางกฎหมายมหาชน อย่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง มีหลักการพื้นฐานหนึ่งคือ หลักความสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วน โดยที่บอกว่ารัฐต้องรับรองสิทธิเสรีภาพประชาชนนั้น ขณะเดียวกันก็มีอำนาจจำกัดสิทธิประชาชนได้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้ แต่ต้องเป็นการจำกัดเท่านั้น ไม่ใช่กำจัด ซึ่งก็ต้องเอาหลักต่างๆ ไปวัดเช่น หลักสัมฤทธิ์ผล ดูว่าบรรลุวัตถุประสงค์ตามประโยชน์สาธารณะที่ต้องการหรือไม่ กรณีนี้ต้องไปดูว่าคนเลิกดื่มจากการห้ามโฆษณาจริงเหรอ?, หลักความจำเป็น จะจำกัดต้องทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่มีมาตรการใดอื่นเหลือแล้ว และหลักอย่างการจำกัดแล้วประโยชน์ที่ได้รับต้องมากกว่าผลเสียที่ได้รับ ต้องเอากฎหมายมาตรา 32 มาชั่งน้ำหนักตามหลักหล่านี้ ปัญหาที่ 2.คือ โทษสูงกว่าที่ควรจะเป็น คือปรับไม่เกิน 5 แสน จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นอัตราโทษที่เกือบเต็มเพดาน นอกจากนั้นยังสามารถปรับได้เรื่อยๆ วันละหมื่นบาท จนกว่าจะหยุดโฆษณา ซึ่งโทษของการโฆษณานี้ปรับสูงกว่ากรณีเมาแล้วขับแล้วขับเสียอีก

“ปัญหาที่ 3 คือ มองว่าการเขียนกฎหมายแบบนี้ เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติ ถ้าดูข่าวผู้ที่ถูกจับปรับดำเนินคดีส่วนใหญ่ก็เป็นร้านลาบ ร้านอาหารข้างถนน ผู้ประกอบการรายเล็ก กรณีที่เป็นข่าวดังก็คือลาบลุงยาว ขณะเดียวกันเงินค่าปรับตรงนี้ก็ไม่ได้เข้ารัฐทั้งหมด ซึ่งเพจสุราไทยได้จัดทำข้อมูลมาให้ดูว่า ถ้ามีการจับเอาผิดผู้ทำการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถ้ายอมรับ ปรับที่ 50,000 บาท เรื่องจบ ไม่ต้องขึ้นโรงศาลขึ้นศาล ตรงนี้ผู้แจ้งเบาะแสได้ 7,500 บาท, เจ้าหน้าที่ที่ไปจับได้ 15,000 บาท, ค่าดำเนินงาน 7,500 รวมแล้ว 30,000 บาทของค่าปรับที่หายไป ส่วนอีก 20,000 บาทนั้นเข้าคลัง ซึ่งถ้าตั้งรางวัลกันแบบนี้ เจ้าหน้าที่คงขยันจับทุกวันหรือไม่ แล้ววิธีการที่ง่ายสุดคือเล็งไปที่ร้านโชว์ห่วย ร้านอาหารตามสั่ง ร้านลาบ หรือเพจร้านอาหารต่างๆ หรือไม่ นี่คือช่องให้มีการเลือกปฏิบัติแบบหนึ่ง และอีกแบบก็คือ การห้ามโฆษณานั้นไม่ใช้กับโฆษณาที่เข้ามาจากนอกราชอาณาจักร ดังนั้น เราจึงเห็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ไทยไปเป็นสปอนเซอร์ รายการแข่งขันกีฬาจากต่างประเทศ เวลามีถ่ายทอดสดเข้ามาก็เห็นตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์นั้น ซึ่งกรณีของคุณลิซ่านั้น หลายคนก็เป็นห่วงว่าอาจจะเข้าช่องนี้ คือถ่ายมาจากนอกประเทศ ทั้งนี้ กรณีดาราไทยโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยนั้นทำไม่ได้ แต่กรณีลิซ่าประกอบอาชีพอยู่เกาหลีใต้เป็นหลัก ถ่ายโฆษณาจากที่อยู่ข้างนอกประเทศเข้ามา สามารถทำได้” ปิยบุตร กล่าว

ปิยบุตร กล่าวว่า กรณีกฎหมายแบบนี้ เคยมีผู้ร้องผ่านช่องทางผู้ตรวจการแผ่นดินมาแล้ว ให้ตรวจสอบว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเมื่อปลาย 2563 ก็ได้คำตอบว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยมาแล้วว่าไม่ขัด ดังนั้น ตอนนี้ถ้าอยากแก้ มาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหลืออีกช่องทางคือผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งก็มีผู้เสนอแนวทางการแก้ไขไว้แล้ว 2 แบบ คือ แบบที่ 1.นำโดย สำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (สคอ.) อยากแก้ให้หนักยิ่งกว่าเดิม คือ ห้ามโฆษณาชื่อเครื่องดื่มที่ไปแปะบนเครื่องอื่นประเภทอื่น เช่น น้ำดื่ม โซดา ด้วย ยังรวมถึงห้ามทำซีเอสอาร์ของบริษัทเครื่องดื่ม และให้มีการเพิ่มโทษ เป็นปรับเป็นไม่เกิน 1 ล้านบาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี ส่วนแนวทางแก้ไขแบบที่ 2. เป็นของภาคประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อย นักปรุง นักชิมต่างๆ เสนอชื่อกว่า 10,000 คน ขณะที่อยู่ในการบรรจุเป็นญัตติในวาระพิจารณาของสภาฯ ต่อไป โดยมีการแก้ไขหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือมาตรา 32 ที่ให้ยกเลิกเรื่องการห้ามโฆษณา คือโฆษณาได้หมด ยกเว้นแต่ห้ามโฆษณาด้วยความเท็จ

“ปัญหาเรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คนต้นคิดของการออกแบบกฎหมายแบบนี้ บรรดาเจ้าหน้าที่ต่างๆ ที่อยากจะเพิ่มโทษให้หนักขึ้น พวกเขาคงมองเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่แค่มิติเดียว คือเป็นสิ่งที่มอมเมา ทำให้เสียสติ ทำให้เสียสุขภาพ โดยไม่ได้มองมิติทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเรื่องทลายทุนผูุกขาดในประเทศนี้เลย เพราะถ้ามองในมิติของการทลายทุนผูกขาด การให้โฆษณาจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาได้ เพราะรายใหญ่นั้นคนรู้จักอยู่แล้ว ผลิตตัวใหม่มาก็มีช่องทางทำให้คนรู้จักได้ไม่ยาก แต่รายเล็กซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้หวังรวยจากการทำธุรกิจนี้ แต่ทำเพราะชอบ กลับโฆษณาไม่ได้ ทำให้คนไม่รู้จัก ก็เกิดการผูดขาดต่อไป ยังมีในมิติเรื่องทางวัฒนธรรม ประเทศไทยมีวัตถุดิบหลากหลายที่นำมาทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ขายในเรื่องการท่องเที่ยวได้ อย่างในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ก็ทำเรื่องนี้เต็มไปหมด และอีกมิติคือเรื่องของชุมชน ที่การรวมกลุ่มตคนในชุมชนจะสามารถทำเรื่องนี้ได้ผ่านการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตนเอง ดังนั้น ผมอยากเชิญชวน ให้มองมิติที่กว้างขึ้น แล้วหาทางสมดุล การห้ามด้วยวิธีออกกฎหมายวิธีเดียวนั้นไม่ได้ เพราะความเสียหายที่ตามมานั้นมหาศาล” ปิยบุตร กล่าว

ปิยบุตร กล่าวทิ้งท้ายว่า แน่นอน ไม่มีใครสนับสนุนให้คนดื่มจนเสียสุขภาพเสียสติ แต่ว่าก็ไม่ใช่ว่าห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลอฮอล์จนทำให้เรื่องอื่นๆ เสียหายหมด ต้องชั่งน้ำหนัก ต้องรณรงค์ทางอื่นได้ คนจะเลิกดื่มไม่ใช่เพราะการโฆษณารณรงค์ให้เลิกดื่ม ต้องหาวิธีอื่นในการจัดการด้วย เลิกเสียเถอะวิธีการเป็นคุณพ่อรู้ดี ถ้าเป็นแบบนี้ รัฐไม่ต้องใช้สมองเยอะก็ได้ ง่ายๆ เลยคือ ถ้าไม่อยากให้คนทำอะไรก็ออกกฎหมายห้าม แล้วมาลงโทษ จะเอากันอย่างนี้เหรอ?

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: