ประธานด้านวิชาการพรรคพลังประชารัฐ ธีระชัย” แนะให้เตรียมคิดกรณีถ้าหากจำเป็นต้องเลิกคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุนวายุภักษ์
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยเพิ่มจากที่สัปดาห์ก่อนได้สังเคราะห์ นสพ.ข่าวหุ้น รายงานมีข่าวแพร่สะพัดว่า กลุ่มทุนยักษ์ไทยดูไบเข้ามาลงทุนในบริษัทของนายคีรี กาญจนพาสน์เพื่อยื่นขอเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ และลงทุนใน บลจ.เอ็มเอฟซี เพื่อบริหารกองทุนรวมวายุภักษ์ นั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนควรเตรียมคิดกรณีถ้าหากจำเป็นต้องยกเลิกคุ้มครองผู้ลงทุนในกองทุน
เหตุผลเพราะตนได้ร้องเรียนไปยัง 3 องค์กรอิสระ คือ คณะกรรม กกต. , คณะกรรมการ ปปช. และคณะกรรมการ คตง. ตรวจเงินเเผ่นดินขอให้ตรวจสอบการเอาเงินแผ่นดินในกองทุนไปคุ้มครองผู้ลงทุนเอกชน โดยไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ม. 140
“รัฐธรรมนูญกําหนดให้จ่ายเงินแผ่นดินเฉพาะตามกฎหมายงบประมาณหรือกฎหมายวินัยการเงินการคลัง ผมจึงได้ขอให้ 3 องค์กรพิจารณาว่า การไม่ยึดมั่นหลักนิติธรรมเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่ และเป็นการดูแลรักษาทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ถูกต้องด้วยหรือไม่” นายธีระชัย กล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากความผูกพันต่อกระทรวงการคลังได้เกิดขึ้นแล้ว และการกระทำมีความสมบูรณ์แห่งเจตนาแล้ว ดังนั้น จึงขอแนะทำให้รัฐมนตรีคลังเตรียมคิดว่า ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกาวินิจฉัยว่าขาดจริยธรรม ตามที่ กกต. หรือ ปปช.เสนอ หรือถ้า คตง. แจ้งว่าเป็นการดูแลรักษาทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ถูกต้อง กระทรวงการคลังจะต้องยกเลิกคุ้มครองการลงทุนหรือไม่ และรัฐมนตรีคลังจะรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ลงทุนอย่างไร กองทุนรวม” ที่ประชาชนรายย่อยจองซื้อ จะกลายเป็น กองทุนลวง” หรือไม่
สรุปกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. ๒๕๖๑
หมวด ๑มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ การไม่ปฏิบัติ ถือว่าร้ายแรง
ข้อ ๖ ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติ
ข้อ ๘ ต้องไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเอง หรือผู้อื่น
หมวด ๒มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก การไม่ปฏิบัติ ถือว่าร้ายแรงหรือไม่ ให้พิจารณาถึงพฤติกรรมของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ เจตนาและความร้ายแรงของความเสียหายที่เกิด
ข้อ ๑๒ ยึดมั่นหลักนิติธรรม
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เกี่ยวกับ ก.ก.ต.
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับทราบการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้านแรง ก็มีหน้าที่จะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามมาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ วรรคสี่
พ.ร.ป. ป.ป.ช.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พศ. ๒๕๖๑
มาตรา ๒๘ อำนาจไต่สวน
มาตรา ๑๗๒ ควาผิดละเว้นการปฏิบัติหน้าที่