News มาเอง!! รองนายกฯ เป็นสักขีพยาน ศธจ.ทำ MOU พว.พลิกโฉมการเรียนการสอนแบบ Active Learning Published 3 ปี ago on เมษายน 8, 2022 By Admin_Tojo Share Tweet พลิกโฉมการเรียนการสอน!! “วิษณุ” ปลื้มเห็น ศธจ.เชียงใหม่ จับมือ พว.ปรับการเรียนการสอนเป็น Active Learning หวังขยายผลไปจังหวัดอื่น ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ที่ ห้องประชุม สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ศ.กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการความร่วมมือทางวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2565-2567 ระหว่างสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) โดยนายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานในพิธีเปิดการลงนามว่า สืบเนื่องจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 หรือ Big Rock 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยกำหนดให้ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิงมาตรฐาน(Standard-based Curriculum) ในปัจจุบันไปสู่การเรียนรู้ที่พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนเป็นสำคัญ เป้าหมายปฏิรูปการเรียนรู้ตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา จึงกำหนดให้ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน เป็นแบบ Active Learning และใช้เกณฑ์มิติคุณภาพ Rubrics จัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การเรียนรู้แบบ Active Learning จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพของผู้เรียนที่มีศักยภาพ และความถนัดที่แตกต่างการให้สามารถถักทอสร้างความรู้ตั้งแต่ระดับขั้นรับรู้ไปจนถึงระดับหลักการ และนำหลักการไปเรียนรู้และพัฒนางาน พัฒนาอาชีพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพดังกล่าวให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนามาเป็นที่ประจักษ์ เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้เป็นไป ตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาที่ได้กำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 ให้บรรลุเป้าหมาย ศ.กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องจากเป็นที่พิสูจน์แล้วว่าการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้ประโยชน์กว่าการเรียนการสอนแบบเก่าที่เคยใช้กันมานานที่เรียกว่า Passive Learning มาก คือ 1. ผู้เรียนมีบทบาทในการมีส่วนร่วมได้อย่างมาก มีการปฏิบัติจริง จึงทำให้จดจำได้นาน และทำให้เข้าใจเรื่องได้เร็ว แม้จะเรียนเพียงเรื่องเดียวก็สามารถนำไปประยุกต์กับเรื่องอื่น ๆ ได้ 2.ทำให้ครูและนักเรียนเรียนด้วยกัน มีความเป็นกันเอง ทำให้บรรยากาศในการเรียนดีขึ้น ทำให้สรุปได้ว่าทำให้เข้าถึงบทเรียนได้ง่าย เร็ว และสนุก สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่น ๆ ใช้แก้ปัญหาชีวิตในอนาคตได้ เพราะเด็กได้ทดลองปฏิบัติ และได้เรียนรู้ว่าหากเจอปัญหาอะไรก็สามารถประยุกต์ได้ ไม่เหมือนการเรียนแบบ Passive Learning ที่เรียนเท่าไหร่ก็ได้เท่านั้นไม่สามารถคิดต่อเองได้ จึงเป็นนโยบายของรัฐบาลและอยู่ในแผนปฏิรูปประเทศที่ต้องการเห็นการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในทุกระดับความรู้ ไม่ว่าจะเป็นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงอุดมศึกษารองนายกฯ กล่าวต่อไปว่า ความยากลำบากของ Active Learning ประการที่ 1 คือ ครูไม่เคยสอนแบบนี้มาก่อน เมื่อจะเปลี่ยนให้ครูมาสอนโดยวิธีนี้ครูก็ต้องเหนื่อยขึ้น หนักขึ้น ทำการบ้านมากขึ้น และต้องมีความเข้าใจมากขึ้น ดังนั้นการมีคอร์สหรือพี่เลี้ยงจึงเป็นเรื่องจำเป็น สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการจะเป็นคอร์สได้เป็นอย่างดี ประการที่ 2 คือ เรื่องหลักสูตรหรือตำราที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน ที่จะไม่ใช่แบบเดิม ๆ ที่เคยใช้กัน ประการที่ 3 คือ ผู้เรียนที่ต้องมีความพร้อมที่จะรับการเรียนแบบนี้ และประการที่ 4 คือ ผู้ปกครองต้องมีความเข้าใจ หากเด็กกลับบ้านแล้วไม่ทำการบ้านเหมือนเมื่อก่อน แต่เด็กจะไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปแสดงในห้องเรียน ผู้ปกครองจะต้องเข้าใจและให้ความร่วมมือ เพราะฉะนั้นทุกคนจะต้องมีความพร้อมจึงจะทำให้เกิดระบบ Active Learningที่สมบูรณ์ได้“ความร่วมมือครั้งนี้ เชื่อว่า พว.จะเป็นทั้งพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา เป็นแหล่งข้อมูลให้แก่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ในการลงมือปฏิบัติต่อไป ผมมีความยินดีมากที่ได้เห็นการลงนามบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ และปรารถนาที่จะเห็นความร่วมมือในเขตพื้นที่อื่น ๆ ด้วย เพราะต้องการจะเห็นการเรียนการสอนแบบ Active Learningโดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ให้ทั่วถึงหลากหลาย และหวังว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จและสามารถนำไปต่อยอดได้ในโอกาสต่อไป”ศ.กิตติคุณ ดร.วิษณุกล่าว ดร.ยุพิน บัวคอม ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.) เชียงใหม่มีวิสัยทัศน์ให้ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีทักษะการเรียนรู้ทีศตวรรษที่ 21 จึงให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนการเรียนการสอนแบบ Passive Learning ไปสู่ Active Learning เพื่อให้นักเรียนของจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ดังนั้นกระบวนการคิดชั้นสูง GPAS 5 Steps จะช่วยเสริมและเชื่อมโยงนักเรียนกับบริบทที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ที่สามารถแก้ปัญหา และผลิตนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น นำนักเรียนไปสู่ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ศธจ.เชียงใหม่ โดยกลุ่มเชียงใหม่การศึกษาทุกสังกัดจะนำข้อตกลงไปพัฒนาครูและบุคลากรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนานวัตกรรมการสอนที่จะเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นนวัตกรต่อไป ด้าน ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) กล่าวว่า ถือเป็นเกียรติที่ ศธจ.เชียงใหม่ให้ความไว้วางใจ พว.ในการร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงระบบของสถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 54 มาตรา 258 จ(4) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พลิกโฉมการศึกษาด้วยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นมืออาชีพสามารถปรับการสอนจาก Passive Learning ไปสู่ Active Learning สร้างนักเรียนเป็นนวัตกรเพื่อพัฒนาสมรรถนะให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบถักทอ สร้างความรู้ ทักษะ คุณลักษณะของผู้เรียนเข้าด้วยกันด้วยการลงมือปฏิบัติจริงแบบ Active Learning ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ “พว.ได้นำจุดเน้นของการจัดการเรียนรู้แต่ละระดับตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps พัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศตามพหุปัญญา สามารถคิดเชื่อมโยงทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ต้องเผชิญกับความท้าทายตามวิถีชีวิตใหม่ และสามารถสร้างความรู้ระดับความคิดรวบยอดและระดับหลักการนำไปใช้แก้ปัญหา ผลิตผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ ต่อยอดนวัตกรรมให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัว สังคม ซึ่งมีผลเชิงประจักษ์แล้ว จึงเชื่อว่านักเรียนในจังหวัดเชียงใหม่จะได้รับโอกาสความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความทั่วถึงในการเข้าถึงการศึกษาและการบริการที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เข้มแข็งตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทย”ประธาน พว.กล่าว Share this:TwitterFacebookLineLike this:Like กำลังโหลด... Related Topics:#TOJONEWS #โตโจ้นิวส์Featured Up Next ตะลึง!! สธ.พบคนไทย ร้อยละ 35.7 มีพฤติกรรม ไม่ตรวจ.. แม้มีความเสี่ยง!! Don't Miss ผงะ! พบกลายพันธุ์ ลูกใหม่ เพิ่มหนามสไปค์ 2 ตำแหน่ง จับโปรตีนตัวรับเพื่อเข้าสู่เซลล์ !! Continue Reading Advertisement Advertisement Latest Trending Videos Politics3 ชั่วโมง ago เพื่อไทย ยังไม่รู้ตัวอีกเหรอ ว่าล้มเหลว เงิน10,000 ก็แค่ลมปาก… “พลพีร์” เย้ย! ขยันจับผิดคนภูมิใจไทย News6 ชั่วโมง ago รองโฆษกรัฐบาล เคลียร์ชัด! ปมให้สัญชาติไทย Politics7 ชั่วโมง ago นายกแพทองธาร จะไม่ลาออก…ในเดือนกรกฎาคมนี้!! News2 วัน ago ปวิน ย้อนความหลัง! ปี 2019 ใครเคยพูดอะไรไว้ ลั่น ยินดีกับตำแหน่งใหม่ในรัฐบาลด้วย News1 วัน ago วิทเยนทร์ สรุปจบ!! ทักษิณ ออกมาพูด จะเสือก ทุกเรื่องต่อ ทั้งที่ไทยจะดีกว่านี้ ไม่เชื่อลองตา_ยดู News2 วัน ago ไอซ์ ฟาด…สะท้าน! อย่าคิดว่าคนกรุงเทพโง่ !! Horoscope12 เดือน ago ดวงความรักที่จะเกิดขึ้นกับคุณ กับ อ.สาธกา พรหมญาณ CLIP12 เดือน ago รางวัลชีวิตที่กำลังจะเกิดขึ้นกับคุณ กับ อ.สาธกา พรหมญาณ CLIP12 เดือน ago เรื่องที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นในช่วง 7 วันนี้ กับ อ.สาธกา พรหมญาณ