Connect with us

Environment

อุตุฯ แจง “Polar Vortex” ไม่มีผลกระทบถึง ประเทศไทย หลังจากสื่อในโลกออนไลน์ แห่แชร์สาเหตุ ที่เกิดอากาศหนาวเย็นวูปในเดือนเมษายน

Published

on

หลังจากเกิดอากาศหนาวเย็น ฝนตก ลมพัดแรง ในเดือนเมษายน จนสื่อในโลกออนไลน์
ได้พากันแชร์ข้อมูล สาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว กันอย่างกว้างขวาง
ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

” ชี้แจงข่าวลือ : สาเหตุ ที่อุณหภูมิทั่วไทยลดลง อากาศแปรปรวน หนาวเย็น – ฝนตก
หรืออากาศหนาวเย็น ช่วงฤดูร้อน เดือนเมษายน ๒๕๖๕ เป็นผลพวงจาก
“ปรากฎการณ์ Polar Vortex”
ทำให้เย็นวูบวาบ กระแสลมโลกเบี่ยงทิศ ผลพ่วงปัญหาโลกร้อนที่ต้องเร่งแก้ไข”
ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข้อความและภาพ “สาเหตุ ที่อุณหภูมิทั่วไทยลดลง
อากาศแปรปรวน หนาวเย็น – ฝนตก หรืออากาศหนาวเย็น ช่วงฤดูร้อน เดือน เมษายน ๒๕๖๕
ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้ว่าเป็นผลจาก”ปรากฏการณ์ Polar Vortex” ทำให้เย็นวูบวาบ
กระแสลมโลกเบี่ยงทิศ ผลพวงปัญหาโลกร้อนที่ต้องเร่งแก้ไข” นั้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ขอเรียนชี้แจงว่า ความแปรปรวนของสภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ ๑ – ๓ เมษายน ๒๕๖๕ เป็นผลมาจาก อิทธิพลของความกดอากาศสูง
หรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุม
บริเวณประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูร้อน
(กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูร้อน วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๕)
ซึ่งโดยทั่วไป อุณหภูมิบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงกลางวันอากาศ
ร้อนถึงร้อนจัดในบางวัน และมักจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ส่วนความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็น ที่เคยปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน
ในช่วงฤดูหนาวจะอ่อนกำลังลง และถอยกลับไปปกคลุมบริเวณประเทศจีน
แต่ยังมีบางช่วงที่มีมวลอากาศเย็นดังกล่าว แผ่ลงมาปกคลุมได้เป็นระยะๆ
ขึ้นอยู่กับความแรงของมวลอากาศ หากมวลอากาศเย็นดังกล่าว มีกำลังแรง
แผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคใต้ตอนบน มักจะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีสภาพอากาศแปรปรวน
โดยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรกๆ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเกิดขึ้นทาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลดลง และมีลมแรง

ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้เคยเกิดขึ้นในอดีต เช่นเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙
เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในฤดูร้อน แต่จะเป็นระยะเวลา สั้นๆ ๒-๓ วันเท่านั้น

ส่วนปรากฎการณ์ Polar Vortex ที่อ้างถึงดังกล่าว มักจะไม่มีผลกระทบถึงประเทศไทย
เพราะกระแสลมวนที่ไหลเวียนจากทางด้านตะวันตกไปตะวันออก
จะมีเทือกเขาสูงกรีดขวางเป็นอุปสรรคคือ เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูง
ทำให้ทิศทางลมของกระแสลมวนที่ไหลเวียนลงมาเปลี่ยนทิศทางไป
โอกาสที่นำความหนาวเย็นจากขั้วโลก เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา
เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก

ดังนั้น อุณหภูมิที่ลดลงในระยะนี้ จึงไม่ได้มาจากอิทธิพลของ
กระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) ดังกล่าว แต่อย่างใด”

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่ม
สามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
http://www.tmd.go.th หรือ
ที่ ๐-๒๓๙๙-๔๐๑๒-๑๔ และ ๑๑๘๒ ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

กรมอุตุนิยมวิทยา

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

๓ เมษายน ๒๕๖๕

ภาพ Polar Vortx ที่แชร์กันในสื่อโลกออนไลน์

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: