ทั้งโครงการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และโครงการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในอนาคตของจังหวัด และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ลงพื้นจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการต่างๆ ในพื้นที่ ทั้งโครงการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และโครงการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในอนาคตของจังหวัด และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสงขลา
โดยโครงการสำคัญ ที่นายกฯ ได้ลงฟื้นที่ เพื่อติดตามความคืบหน้าในครั้งนี้ ได้แก่
1. การบริหารจัดการน้ำอำเภอจุฬาภรณ์ ที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ตลอดจนการหาลู่ทางพัฒนาอาชีพ แหล่งท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ เช่น “คั่วกลิ้งเนื้อ” ซึ่งเป็นของดี มีเอกลักษณ์ ประจำพื้นที่ หากได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม ก็จะสามารถยกระดับเป็นสินค้า OTOP หรือสินค้า GI ต่อไปได้
2. การพัฒนาความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิต ณ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ในเขตภาคใต้ตอนบน ด้วยการต่อยอดโรงพยาบาลแห่งนี้ ให้เป็น “ศูนย์กลางสุขภาพ” ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทย ณ เวลานี้ โดย นายกฯ เห็นว่าสามารถเชื่อมโยง เป็นเครือข่ายสุขภาพ กับ “โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน” ณ จังหวัดภูเก็ต ที่คณะรัฐมนตรี (ณ 11 ต.ค.65) ได้เห็นชอบ ให้ดำเนินการแล้ว เป็นโครงการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อผลิตแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ แพทย์ทางเลือก ฯลฯ รวมถึงเป็นสถานที่ทำการวิจัย/พัฒนาด้านวิชาการสาธารณสุข และสถานพยาบาลรักษาโรคระดับต้น-โรคซับซ้อน
3. การแก้ปัญหาอุทกภัยซ้ำซากอำเภอสิชล และพื้นที่ใกล้เคียง โดยจัดทำโครงการก่อสร้างทางน้ำล้นสายเขาทราย-อ่าววาโย ให้มีความคงทนแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุนงบประมาณ และนายกฯ ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน อีกทั้งพร้อมสนับสนุนการพัฒนา การท่องเที่ยวในมิติใหม่ๆ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ จากฐานรากสู่ชุมชน-ท้องถิ่น-จังหวัด และเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย
สำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนเพื่ออนาคต สร้างความเข้มแข็ง และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชนชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ในภาพรวม ที่รัฐบาลนี้ ได้วางรากฐานไว้ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเรา ได้แก่ 1. การพัฒนาท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารสูงสุด ในชั่วโมงเร่งด่วน จากเดิม 600 คนต่อชั่วโมง เป็น 1,600 คนต่อชั่วโมง, การ เพิ่มพื้นที่รันเวย์, ลานจอดเครื่องบิน, ลานจอดรถ เป็นต้น ซึ่งใกล้เสร็จแล้ว คืบหน้ากว่า 98% (ณ 31 ม.ค.66)
2. รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 เชื่อมต่อลงมาจากชุมพร ผ่านสุราษฎร์ธานี – นครศรีธรรมราช – พัทลุง – สงขลา เข้าสู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ระยะทางรวมกว่า 500 กิโลเมตร
3. รถไฟความเร็วสูง เส้นทางสายใต้ จากหัวหิน ไปถึงปาดังเบซาร์ รวมระยะทางกว่า 750 กิโลเมตร ซึ่งเป็นแผนก่อสร้าวระยะยาว ช่วงปี พ.ศ.2570 – 2579 ที่จะต้องทยอยสร้าง ทยอยลงทุนต่อไป
ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นการเติมเต็ม
โครงการพัฒนา “ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้” (SEC) ครอบคลุม 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ และทางออกทางทะเลของภาคใต้ตอนบน ที่มีแนวทางการพัฒนา 4 เรื่อง ได้แก่
(1) พัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก
(2) พัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน
(3) พัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ และการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง ตลอดจน
(4) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ต่อไปในอนาคตด้วย
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
@ ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha