Connect with us

News

แพทย์​พบ​ โอไมครอน​ ไม่ลงปอด​ แต่ลงจุดนี้แทน!!

Published

on

หมอพบ​ แน่นอนแล้ว​ เชื้อไวรัสโอไมครอน ชอบเยื่อบุคอมากกว่าปอด

ผู้​สื่อข่าว​โต​โจ้​นิว​ส์ราย​งานว่า​ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศ มีการระบาดรวม 4 ระลอกแล้ว ปี 2564 เจอทั้งสายพันธุ์จี , อัลฟา, เดลตา และสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดโอไมครอน จากรายงานของ GISAID พบว่าจำนวนรหัสพันธุกรรมของโอไมครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เชื่อว่าไม่เกิน 1-2 เดือน โควิดสายพันธุ์โอไมครอน จะเข้ามาแทนที่เดลตาแน่นอน เพราะติดต่อได้ง่ายกว่าเดลตา เดิมโอไมครอนมีจุดกำเนิดที่แอฟริกา แต่ตอนนี้กระจายไปครึ่งโลก

เนื่องจากยุโรปและอเมริกาเป็นแหล่งกระจายโรคได้ดี และเมื่อตรวจดูสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอน ที่มีถึง 3 สายพันธุ์ BA1,BA2 และBA3 พบว่าการระบาดขณะนี้ยังเป็นโอไมครอน BA1 โดยที่ศูนย์เชี่ยวชาญฯ ได้มีการตรวจวินิจฉัยโอไมครอน จากตัวอย่างที่ถูกส่งตรวจ 96 คน พบเป็นโอไมครอน 40-50 คน แสดงว่าเชื้อโอไมครอนแพร่ได้รวดเร็ว ซึ่งการระบาดในระลอกที่ 3 และ 4 แทบแยกจากกันไม่ออก แต่เชื่อว่าหลังปีใหม่ 2565 จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดในระลอก 5 ขึ้นแน่ หากเราไม่ช่วยกัน

ส่วนการตรวจหาเชื้อโอไมครอนใช้การถอดรหัสพันธุกรรมและเทคนิคการตรวจที่รวดเร็วภายใน 4 ชั่วโมง เตรียมถ่ายวิธีการตรวจให้กับสถานพยาบาลอื่น ซึ่งการตรวจเทคนิคนี้ด้วย RT-PCR ทราบผลใน 4 ชั่วโมง พร้อมสาเหตุที่โอไมครอนหลุดออกจากระบบ T&G นั้น ถือว่ามีมากกว่าระบบอื่น โดยยกตัวอย่างกรณีสามีชาวฝรั่งเศสและภรรยาที่เป็นช่างเสริมสวยเดินทางเข้าไทย ตรวจต้นทาง RT-PCR ไม่พบ ตรวจเมื่อเข้าไทยซ้ำ RT-PCR 24 ชั่วโมงก็ไม่พบ หลังไม่พบไปจิบไวน์กับเพื่อนที่บาร์ 11 คน จากนั้นไม่นานมี 1คน

ไม่สบายนอนโรงพยาบาล ตรวจพบโอไมครอน สันนิษฐานติดจากสามีภรรยา และจากนั้นเพื่อนทั้งหมดก็ติดโอไมครอน เชื่อว่า สามีภรรยานี้ติดเชื้อมาจากฝรั่งเศส เช่นเดียวกับเคส ครอบครัว 1 ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ลูกสาวติดโอไมครอน กักตัว แต่พ่อแม่และน้องชายไม่ติด ไม่กักตัว แต่เชื่ออีก 2-3 วันก็ติด ซึ่งในช่วงเวลานั้นทั้ง 3 คนก็ไปทำกิจกรรมอื่นก็เท่ากับมีการแพร่เชื้อในสังคม จะเห็นว่าขบวนการ T&G ไม่สามารถป้องกันโอไมครอนได้เลย

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ส่วนเคสมีข้าราชการระดับสูง มีไปประชุมร่วมหลายที่ ป่วยนอนแอดมิตที่ รพ.เอกชน ตรวจพบเชื้อโอไมครอน ลองนึกภาพว่าการทำงานต้องเดินทางไปไหนเยอะแยะ ติดต่อผู้คนมากมาย แสดงให้เห็นว่าเชื้อติดง่ายมากจากสายพันธุ์อู่ฮั่น 10 คน กินเหล้าร่วมกันติด 2-3 คน มาเป็นสายพันธุ์เดลตา 10 คน ติดเชื้อ 6-7 คน และโอไมครอน 10 คน ติดทั้ง 10 คน

และเชื้อไอไมคอรนหลบภูมิคุ้มกันได้ คนที่ติดโอไมครอนส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม และไม่ว่าจะยี่ห้อไหน ชนิดไหน แต่อัตราการรักษาใน รพ.ต่ำกว่าเดลตา แสดงว่ารุนแรงน้อยกว่า แต่ไม่สามารถระบุได้ชัดว่า ที่โรคมีความรุนแรงน้อยลง เพราะเชื้อหรือเพราะคนรับวัคซีน แต่ที่แน่นอนเชื้อไวรัสโอไมครอน ชอบเยื่อบุคอมากกว่าปอด

ดังนั้นเมื่อมีโอไมครอนเข้ามาจึงจำเป็นต้องให้วัคซีนเข็มกระตุ้น หรือเข็ม 3 โดยไม่ต้องรอให้ครบ 6 เดือน เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะสูงใน 3 เดือนแรก และจากนั้นเดือนที่ 5 ภูมิคุ้มกันในเดือนที่ 4-5 ก็จะเริ่มลดลง อีกทั้งเป็นช่วงรอยต่อของเชื้อโอไมครอน ที่แพร่เร็ว และหากรอนานไว้แม้ภูมิคุ้นกันสูง และก็เสี่ยงติดเชื้อ จึงต้องร่นระยะเวลาการรับวัคซีนให้เร็วขึ้นเป็น 3 เดือนขึ้นไป โดยการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ใน กลุ่มวัคซีนเชื้อตายพบว่าภูมิขึ้น 10 เท่า

แต่ถ้าเป็นไวรัสเวกเตอร์ ภูมิขึ้น 100 เท่า และหากเป็น mRNA ภูมิคุ้มกันจะขึ้น 200 เท่า ทั้งไวรัสเวกเตอร์ และ mRNA ให้ภูมิสูงต่อสู้โอไมครอนได้ แต่ภูมิที่ขึ้นเร็วก็ลงเร็ว เป็นธรรมดา โดยการศึกษาพบว่า ใน mRNA ไม่ว่าจะรับครึ่งโดส หรือเต็มโดสภูมิขึ้นและต้องลงเป็นเรื่องปกติร่างกาย ไม่มีความแตกต่าง ขณะนี้ทางศูนย์ฯกำลังวิจัย เรื่องวัคซีนเข็ม 3 ทุกชนิด ต่อโอไมครอน

ศ.นพ.ยง กล่าวว่าจากการศึกษา การฉีดเชื้อตาย เข็ม 1 แล้วตามด้วย mRNA สูตรไขว้ ซิโนแวค+ไฟเซอร์ ในผู้ใหญ่ 18 ปี ขึ้นไป 60 คน พบว่า ภูมิกันเท่ากับการรับไฟเซอร์ 2 เข็ม ส่วนการฉีดวัคซีนในเด็กที่จะต้องรับ mRNA 2 เข็ม หากรับสูตรไขว้ เชื่อว่าจะลดอาการข้างเคียง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ แต่ทั้งนี้การตัดสินใจรับวัคซีน เป็นดุลพินิจของผู้ปกครอง ไม่สามารถบอกว่าได้อะไรดีกว่ากัน ส่วนการฉีดวัคซีนในเด็กเล็ก 5-11 ปี แม้มีความปลอดภัย

แต่จำนวนโดสที่ให้เด็กต้องแตกต่างกับผู้ใหญ่ ในสัดส่วน 1 ใน 3 เพราะช่วงตัดอายุเด็กกับผู้ใหญ่มีความใกล้เคียงกัน ที่ 11 ปี กับ 12 ปี มีความใกล้เคียงกัน ส่วนวัคซีนเข็ม 4 ที่พบคนเป็นรับใกล้เคียงกับเข็ม 3 พบว่า ให้ภูมิไม่แตกต่างกัน เพราะภูมิที่ขึ้นสูงก็ลงเร็ว โดยเข็ม 4 ควรพิจารณาให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มเสี่ยงก่อน และจนถึงขณะนี้ทั่วโลกก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโอไมครอนโดยเฉพาะ

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: