อ.เจษฎา ไขข้อสงสัย ปรากฎการณ์รอยแยก ที่เมียนมา หลังเกิดแผ่นดินไหว
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ ลมหายใจ แห่งกาลเวลา โพสต์รูปภาพ รอยแยกจากแผ่นดินไหว ที่ประเทศเมียนมา โดยระบุว่า ที่พม่า มีโคลนหรืออะไรผุดออกมาจากรอยแยกแผ่นดินไหว
ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ให้ความรู้ถึงกรณีดังกล่าว ระบุว่า
(เพิ่มเติมข้อมูล : เป็นปรากฏการณ์ “liquidfaction” เกิดจากแผ่นดินไหวทำให้แรงดันน้ำในดินสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นฟองดัน ดินโคลนขึ้นมาตามรอยแยก เรียกว่า “สภาวะดินเดือด soil boiling” ครับ)
ถ้าให้เดา มันก็น่าจะเป็นการเกิดรอยแยก แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว และทำให้น้ำใต้ดินผุดขึ้นมาครับ
แล้วน้ำก็ผลักดันพวกดินโคลนแร่ธาตุที่อยู่ใต้ดิน ขึ้นมาแห้งข้างบนด้วย
ถ้าให้มั่นใจได้มากกว่านี้ ก็ต้องส่งทีมธรณีวิทยา ไปสำรวจครับ
แต่ไม่ใช่ลาวาหรือหินหลอมเหลวแน่ๆครับ ตรงนั้นเป็นแค่รอยเลื่อน ไม่ใช่แนวปะทุเป็นภูเขาไฟ
(เพิ่มเติม) Soil boiling คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อก๊าซหรือของเหลวใต้ดินถูกดันขึ้นมาผ่านชั้นดินอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินดูเหมือนกำลังเดือด (คล้ายกับน้ำเดือด)
ซึ่งมักเกิดขึ้นจากแรงดันที่สะสมอยู่ใต้ดินและสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
1.แรงดันน้ำใต้ดิน (Pore Water Pressure) สูง
–เกิดขึ้นเมื่อน้ำใต้ดินถูกกักอยู่ใต้ชั้นดินที่มีความหนาแน่นสูง แล้วได้รับแรงดันเพิ่มขึ้น เช่น จากกระบวนการก่อสร้างหรือแผ่นดินไหว
2.กระบวนการทางธรณีวิทยา
–เช่น การปล่อยก๊าซจากโพรงใต้ดิน หรือกิจกรรมของภูเขาไฟ
3.Liquefaction (การทรายเหลว)
–เกิดขึ้นเมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำและได้รับแรงสั่นสะเทือน เช่น จากแผ่นดินไหว ทำให้ดินสูญเสียความแข็งแรงชั่วคราวและเคลื่อนตัวขึ้นมาเหมือนกำลังเดือด
4.การรั่วไหลของก๊าซใต้ดิน
–เช่น มีเทน (Methane) หรือก๊าซธรรมชาติอื่น ๆ ที่สะสมอยู่ใต้ดินแล้วมีแรงดันมากพอที่จะดันตัวขึ้นมาสู่ผิวดิน
ปรากฏการณ์นี้อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร ถนน และเขื่อน เพราะอาจทำให้ดินสูญเสียความแข็งแรงและเกิดการทรุดตัวได้
#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS