Connect with us

News

ตอบชัด! 1 เม.ย.66 ปรับราคา!! “ภาษีความหวาน” กระทบประชาชน ??

Published

on

สรรพสามิต ยัน! “ภาษีความหวาน” ไม่กระทบประชาชน แต่ขึ้นเพราะ รัฐบาลต้องการให้มีการปรับปริมาณน้ำตาลลงในส่วนผสมต่างๆ

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุม กรมสรรพสามิต เผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.66 กรมสรรพสามิต จะเริ่มปรับขึ้นภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาล หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการคงภาษี 6 เดือน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบ วันที่ 1 ต.ค.65-31 มี.ค.66

ถ้าผู้ประกอบการไม่ปรับเปลี่ยนสูตรการผลิต โดยลดส่วนผสมจากน้ำตาลลง จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการดูแลสุขภาพของไทยให้ห่างไกลจากโรคอ้วน เบาหวาน และความดัน
สำหรับภาษีความหวานนี้ เป็นระยะที่ 3 ที่จะเริ่มเก็บตั้งแต่ 1 เม.ย.66- 31 มี.ค.68 มีอัตรา แบ่งเป็น

ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 0.3 บาทต่อลิตร

ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาทต่อลิตร

ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาทต่อลิตร

ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร

ปริมาณน้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร

“ภาษีความหวาน จะปรับขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าทุกๆ 2 ปี ถ้าผู้ประกอบการไม่ปรับตัวในการผลิต โดยลดความหวานลงจะเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องดื่มที่มีสารความหวาน 10-14 กรัมต่อลิตร จะเสียภาษีเพิ่มจาก 1 บาท เป็น 3 บาทต่อลิตร ซึ่งเบื้องต้น ขณะนี้พบว่า ผู้ผลิตทยอยลดปริมาณน้ำตาลลงแล้ว ก็จะไม่ทำให้มีภาระภาษีเพิ่มขึ้น” นายณัฐกร กล่าว

นายณัฐกร เชื่อว่า การขึ้นภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลรอบนี้ จะไม่กระทบให้ราคาเครื่องดื่มที่มีความหวาน หรือน้ำอัดลมราคาเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นภาระต่อผู้บริโภค เนื่องจากขณะนี้ผู้ผลิตสินค้าได้ทยอยปรับตัว ลดส่วนผสมน้ำตาลลง หรือหันไปใช้น้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานอื่นๆ ผสมกับน้ำตาลธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพจะน้อยกว่าแทน

นอกจากนี้ ยังพบว่าเครื่องดื่มที่มีสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 200 กว่ารายการ ล่าสุดเมื่อเดือนม.ค.66 เพิ่มเป็น 1,800 รายการ หรือเพิ่มมากกว่าเดิม 9 เท่าตัว

ดังนั้น จึงเชื่อว่า เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยกว่า 6 กรัมกำลังมีมากขึ้น ขณะที่ น้ำอัดลมจากที่เคยมีความหวานมากๆ เกิน 10 กรัมต่อลิตร ก็เหลือความหวานเพียง 7.3-7.5 กรัมต่อลิตรในปัจจุบัน

#เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: