Connect with us

News

ไม่ต้องใช้ไซยาไนด์!! อ.อ๊อด แนะโรทิโนน กำจัดปลาหมอคางดำ

Published

on

อ.อ๊อด ใช้สารสกัดธรรมชาติอย่างโรทิโนน กำจัดปลาหมอคางดำ เป็นยาเบื่อปลาแต่สลายตัวระยะสั้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า อาจารย์อ๊อด หรือ รศ. ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า

ไม่ต้องใช้ไซยาไนด์ หากหมดหนทางกำจัดปลาหมอคางดำจริงๆ ให้ใช้สารสกัดจากธรรมชาติซึ่ง สารสกัดนี้ เป็นยาเบื่อปลา สลายตัวในระยะสั้น สลายตัวเร็วเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อาจารย์อ๊อดแนะนำสารสกัดจากสมุนไพรหางไหลแดง ซึ่งมีเยอะมากเป็นตันตันที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะมีสาร สกัดธรรมชาติ ที่ชื่อว่า โรทิโนน (Rotenone)

สารสกัดจากหางไหลแดง ใช้โดยนักชีววิทยาประมงในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของปลาทะเล ในการสุ่มตัวอย่างขนาดเล็กเพื่อรวบรวมปลาที่เป็นหายากหรือซ่อนอยู่ แต่มีความสำคัญของระบบนิเวศน์ชายฝั่ง โรทิโนนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการเบื่อปลา เนื่องจากสามารถใช้ในปริมาณน้อย และมีผลกระทบข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อมเล็กน้อยและในระยะเวลาที่สั้นมาก

โรทินโนน ถูกใช้ในการกำจัดปลาในนากุ้ง ใช้กันหลายประเทศครับสหรัฐอเมริกาก็ใช้กัน
โรทิโนน มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน โดยยับยั้งกระบวนการส่งผ่านอิเลกตรอนในไมโตคอนเดรีย คอมเพล็กซ์ที่ 1 (Mitochondrial complex 1 electron transport inhibitors) รบกวน (ขัดขวาง) การทำงานของนิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ (NADH) ในกระบวนการสร้างพลังงานของเซลล์ในปลา (energy metabolism) ส่งผลให้คอมเพล็กซ์ที่ 1 ไม่สามารถส่งผ่านอิเล็กตรอนไปยัง CoQ ได้ ทำให้เกิดการสำรองอิเล็กตรอนภายในเมทริกซ์ไมโทคอนเดรีย ออกซิเจนในเซลล์จะลดลงจนถึงขั้นรุนแรง

โรทิโนนยังยับยั้งการสร้างไมโครทิวบูล (microtubule) ที่มีผลต่อการคงโครงสร้างของเซลล์
การใช้โรทิโนน ในการช่วยจับปลา ด้วยการนำพืชหางไหลแดง หีอพวกตระกูลถั่ว – Fabaceae มาบดหยาบและจุ่มลงในแหล่งน้ำ เนื่องจากโรทิโนนส่งผลรบกวนระบบการหายใจของปลา ปลาที่ได้รับสารนี้จะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำที่มีออกซิเจนมากกว่า เพื่อหายใจหรือกลืนอากาศ ซึ่งทำให้ถูกจับได้ง่ายขึ้น การใช้โรทิโนนที่เป็นยาเบื่อปลานี้ ยังถูกใช้โดยหน่วยงานของรัฐเพื่อฆ่าปลาในแม่น้ำและทะเลสาบในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: