News
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน รวบรวมรายชื่อแถลง!! ร้อง ปล่อยตัวชั่วคราว “อานนท์ นำภา”
Published
2 ปี agoon
By
Admin_Tojo
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน แถลงการณ์ ขอปล่อยตัว “อานนท์ นำภา” ชั่วคราว ชี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เรื่อง สิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวของนายอานนท์ นำภา รวมทั้งผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง โดยระบุว่า
เรียนผู้พิพากษาศาลอาญา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ตลอดจนผู้พิพากษาที่มีหน้าที่สั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว นายอานนท์ นำภา ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง
สืบเนื่องจากวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๙.๓๐ น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ ๘๑๑ ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ๒๔๙๕/๒๕๖๔ ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ นายอานนท์ นำภา จำเลย
สิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวของจำเลยในคดีการเมืองภายหลังการพิพากษาคดีของศาลในช่วงที่ผ่านมา หากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก โดยเฉพาะคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ ส่วนใหญ่จะไม่รอการลงโทษ แม้อัตราโทษที่ลงจะอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ศาลสามารถพิพากษาให้รอการลงโทษตามกฎหมายได้ และขั้นตอนหลังการพิพากษา ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้อง ระหว่างรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ จำเลยต้องถูกส่งเข้าเรือนจำ
และส่วนใหญ่ในคดีการเมือง ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งโดยให้เหตุผลในทำนองเดียวกันว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด….ปี หากปล่อยชั่วคราวมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยจะหลบหนี ทั้งที่โทษจำคุกในคดีการเมือง โดยเฉพาะคดีมาตรา ๑๑๒ มีอัตราการลงโทษจำคุกที่ชัดเจน คือกรรมละประมาณ ๑-๓ ปี ซึ่งไม่ถือว่าเป็นอัตราโทษสูง แต่กลับไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราว และแม้ประธานศาลฎีกาจะออกข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 โดยข้อ ๒๔ กำหนดว่า
“กรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน ๕ ปี ไม่ว่าจะเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือคดีที่ต้องขออนุญาตฎีกาก็ตาม หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใดๆ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยใช้วิธีการอย่างเดียวกับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง
ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์ และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใดๆ แม้จำเลยยังไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลที่มีอำนาจอาจมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวโดยใช้เงื่อนไขหรือมาตรการอย่างเดียวกับศาลล่างหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้”
ข้อ ๒๕ กำหนดว่า “การดำเนินการตามข้อบังคับนี้ ให้ใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงและแบบพิมพ์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด”
แต่ข้อบังคับฯ ดังกล่าวก็ไม่ถูกบังคับใช้ในคดีมาตรา ๑๑๒ ทั้งที่ข้อบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพัฒนาการในการคุ้มครองสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย และการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาพึงผูกพันกับหลักการแห่งกฎหมายและข้อบังคับคับประธานศาลฎีกาดังกล่าว การไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ อาจก่อให้เกิดความลักลั่นและกระทบหลักประกันสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของจำเลยได้
นายอานนท์ นำภา ปฏิบัติหน้าที่ทนายความให้ความช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เป็นผู้ที่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและยินดีจะพิสูจน์ความคิดความเชื่อของตนเองผ่านกระบวนการยุติธรรมในฐานะจำเลย ตลอดเวลาที่ผ่านมา นายอานนท์ นำภา ไม่เคยมีพฤติการณ์จะหลบหนี แม้ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหลายต่อหลายครั้งในหลายคดี แต่ทุกครั้งที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว นายอานนท์ นำภา ไม่เคยมีพฤติการณ์ใดที่เป็นเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วจะหลบหนี
กระทั่งครั้งสุดท้ายที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว นายอานนท์ นำภา ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพกว่า ๗ เดือน ต่อมาเมื่อได้รับการปล่อยชั่วคราวก็ไม่ได้หลบหนีจนถึงปัจจุบัน และยังคงปฏิบัติหน้าที่ทนายความให้ความช่วยเหลือคดีแก่ประชาชนอย่างเต็มความสามารถและยังคงต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ในฐานะจำเลยเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองต่อหน้ากระบวนการยุติธรรมเสมอมา
ข้าพเจ้าและองค์กรดังมีรายชื่อแนบท้ายหนังสือฉบับนี้ ขอเรียนต่อผู้พิพากษาศาลอาญา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ตลอดจนผู้พิพากษาที่มีหน้าที่สั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวนายอานนท์ นำภา ว่าข้าพเจ้าเชื่อมั่นในอุดมการณ์ ศักดิ์ศรีและการประพฤติตนของนายอานนท์ นำภา ว่าหากได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วจะใช้สิทธิต่อสู้คดีและยอมรับผลคำพิพากษาเมื่อคดีถึงที่สุดตามกระบวน จึงขอให้ท่านโปรดคำนึงถึงข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ หลักการแห่งกฎหมายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยพึงได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ งดเว้นการกระทำหรือการปฏิบัติเสมือนว่านายอานนท์ นำภา รวมทั้งผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีการเมืองอื่นๆ เป็นผู้กระทำความผิดทั้งที่ยังไม่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด
ขอให้ท่านสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ ข้อ ๒๔ และ ๒๕ โดยพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่แท้จริงของจำเลยโดยปราศจากอคติ ข้าพเจ้ายังคงเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ได้หน้าที่จำกัด ยับยั้ง หรือควบคุมกำกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย และข้าพเจ้าหวังว่าศาลจะเป็นสถาบันที่มีบทบาทในการคุ้มครองและพัฒนาสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมให้งอกงามโดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
๑. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๒. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
๓. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
๔. ศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน
๕. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)
๖. Non-Binary-Thailand
๗. Nitihub
๘. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์ประจำ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๙. ฐิตินันท์ เต็งอำนวย อาจารย์ประจำ นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๐. พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ประจำ นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๑. ปิยากร เลี่ยนกัตวา อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
๑๒. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๓. มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๔. เมษปิติ พูลสวัสดิ์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๕. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๖. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๗. นัทมน คงเจริญ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๘. วพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๙. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๐. สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๑. ดิน บัวแดง อาจารย์ประจำ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๒. ทินกฤต สิรีรัตน์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๓. พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๔. วราภรณ์ เรืองศรี อาจารย์ประจำ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๕. สิงห์ สุวรรณกิจ อาจารย์ประจำ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒๖. ทิพสุดา ญาณาภิรัต อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๒๗. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๒๘. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ นักวิชาการอิสระ
๒๙. ญาศศิภาส์ สุกใส นักวิจัยอิสระ
๓๐. กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ
๓๑. กฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความ
๓๒. กัณฐัศจ์ ต้นสุนันท์กุล ทนายความ
๓๓. กาญจนา อัครชาติ ทนายความ
๓๔. กิตติศักดิ์ กองทอง ทนายความ
๓๕. กุณฑิกา นุตจรัส ทนายความ
๓๖. คอรีเยาะ มานุแช ทนายความ
๓๗. คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความ
๓๘. จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ
๓๙. เฉลิมศรี ประเสริมศรี ทนายความ
๔๐. ชนะจิต รอนใหม่ ทนายความ
๔๑. ณธกร อนุพันธุ์ ทนายความ
๔๒. ณรงค์รัตน์ ขำสุวรรณ ทนายความ
๔๓. ณัฐพล คุ้มวงศ์สกุล ทนายความ
๔๔. ณัฐวดี เต็งพานิชกุล ทนายความ
๔๕. ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ
๔๖. ถาวร ปิยะวงศ์รุ่งเรือง ทนายความ
๔๗. ทิตศาสตร์ สุดแสน ทนายความ
๔๘. ธันย์ชนก เชาวนทรงธรรม ทนายความ
๔๙. ธิติพงษ์ ศรีแสน ทนายความ
๕๐. ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ
๕๑. นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความ
๕๒. นรินทร์ ภูบาล ทนายความ
๕๓. บุษยาภา ศรีสมพงษ์ ทนายความ
๕๔. ปภพ เสียมหาญ ทนายความ
๕๕. ปรีดา นาคผิว ทนายความ
๕๖. ปสุตา ชื้นขจร ทนายความ
๕๗. ผรัณดา ปานแก้ว ทนายความ
๕๘. พงศ์สิทธิ์ เทพไกรวัล ทนายความ
๕๙. พงษ์สิทธิ์ นาเมืองรักษ์ ทนายความ
๖๐. พนม บุตรเขียว ทนายความ
๖๑. พรพิมล มุกขุนทด ทนายความ
๖๒. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ทนายความ
๖๓. พสธร อ่อนนิ่ม ทนายความ
๖๔. พิมลพร สุริยะ ทนายความ
๖๕. พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
๖๖. ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
๖๗. มาริสา ปิดสายะ ทนายความ
๖๘. มิสรี ดอหนิ ทนายความ
๖๙. ยุพิน เขียวขำ ทนายความ
๗๐. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
๗๑. รัดเกล้า นามกันยา ทนายความ
๗๒. รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ
๗๓. วราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
๗๔. วริยา เทพภูเวียง ทนายความ
๗๕. วัชรวิชญ์ วุฒิพัชระพัชร์ ทนายความ
๗๖. วัชลาวลี คำบุญเรือง ทนายความ
๗๗. วัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต ทนายความ
๗๘. ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความ
๗๙. ศศิประภา ไร่สงวน ทนายความ
๘๐. ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความ
๘๑. ศิริวรรณ เจนจบ ทนายความ
๘๒. ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
๘๓. สมชาย หอมลออ ทนายความ
๘๔. สมภพ โชติวงศ์ ทนายความ
๘๕. สัญญา เอียดจงดี ทนายความ
๘๖. สันติชัย ชายเกตุ ทนายความ
๘๗. สุทธิเกียรติ คชโส ทนายความ
๘๘. สุธีรา เปงอิน ทนายความ
๘๙. สุพรรษา มะเหร็ม ทนายความ
๙๐. สุมิตรชัย หัตสาร ทนายความ
๙๑. สุรชัย ตรงงาม ทนายความ
๙๒. สุริยง คงกระพันธ์ ทนายความ
๙๓. อณุภา ด้วงเพียร ทนายความ
๙๔. อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย ทนายความ
๙๕. อภิญญา เอวากุล ทนายความ
๙๖. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักกฎหมาย
๙๗. ชล คีรีกูณฑ์ นักกฎหมาย
๙๘. นฤมล กาญวงษา นักกฎหมาย
๙๙. บัณทิต หอมเกษ นักกฎหมาย
๑๐๐. ประดิษฐา ปริยแก้วฟ้า นักกฎหมาย
๑๐๑. พุทธิณี โกพัฒน์ตา นักกฎหมาย
๑๐๒. ยูฮานี เจ๊ะกา นักกฎหมาย
๑๐๓. ลืนหอม สายฟ้า นักกฎหมาย
๑๐๔. สนธยา โคตปัญญา นักกฎหมาย
๑๐๕. อัมรินทร์ สายจันทร์ นักกฎหมาย
๑๐๖. อาทิตยา งามประดิษ นักกฎหมาย
๑๐๗. เกศริน เตียวสกุล สมาชิกสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๐๘. วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๐๙. ศราวุฒิ ประทุมราช สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๑๐. อนุชา วินทะไชย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๑๑. เมธา มาสขาว คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
๑๑๒. สิริลักษณ์ บุตรศรีทัศน์ สมาคมนักกฎหมายสิทธมนุษยชน
๑๑๓. สุภาพร ดารักษ์ สมาชิกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๑๑๔. สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
๑๑๕. คีตนาฏ วรรณบวร ประชาชน
๑๑๖. จิรารัตน์ มูลศิริ ประชาชน
๑๑๗. ชนัตตา บิลม่าหลี ประชาชน
๑๑๘. ชนาง อำภารักษ์ ประชาชน
๑๑๙. ชลธร วงศ์รัศมี ประชาชน
๑๒๐. ณัฐวรรธน์ แก้วจู ประชาชน
๑๒๑. ธรธรร การมั่งมี ประชาชน
๑๒๒. ธีรัตม์ พณิชอุดมพัชร์ ประชาชน
๑๒๓. นราภรณ์ ดำอำไพ ประชาชน
๑๒๔. นันทวัฒน์ ศักดิ์สกุลคุณากร ประชาชน
๑๒๕. นีรนุช เนียมทรัพย์ ประชาชน
๑๒๖. ประดิษฐา ปริยแก้วฟ้า ประชาชน
๑๒๗. มนทนา ดวงประภา ประชาชน
๑๒๘. มนิสา ต้นสุนันท์กุล ประชาชน
๑๒๙. วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย ประชาชน
๑๓๐. วิศรุต เหล็มหมาด ประชาชน
๑๓๑. ศุภดี วนประภาเวช ประชาชน
๑๓๒. สุณัลฑา ศรีวิเศษ ประชาชน
๑๓๓. สุดารัตน์ จงสุขกลาง ประชาชน
๑๓๔. โสภิดา สุขเจริญ ประชาชน
๑๓๕. หทัยกานต์ เรณูมาศ ประชาชน
๑๓๖. อรยา ไกรนิรากุล ประชาชน
๑๓๗. เอกอนิวัฒน์ วิชาเร็ว ประชาชน
#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS



รายวันพยากรณ์ ดวงวันนี้ 12 เมษายน 68 กับ อ.ดีนุ้ย พรหมญาณพยากรณ์

ช่อ พรรณิการ์ โต้เดือด!! ทรงศักดิ์ เหน็บ โหนเสื้อแดงอีกแล้ว

ไอซ์ รักชนก เหน็บรัฐบาล คอยดูนะ ตึกถล่ม แต่เอาผิดใครไม่ได้!!

KEEEN ร่วมภารกิจกู้ภัย สนับสนุนโดรนฉีดพ่นฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยง เสริมภารกิจค้นหาผู้ประสบภัยอย่างปลอดภัยและยั่งยืน | O2O

ภาพถูกลิขสิทธิ์ รากฐานในการ ‘ พัฒนา AI อย่างมีจริยธรรม โดย Number24 x Shutterstock | O2O
