คุณหมอ เล่าข้อเท็จจริงการมาใช้บริการรพ.รัฐ บางคนคาดหวังได้บริการแบบเวิร์ลคลาส
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายแพทย์อัสมาน อาลี โรงพยาบาลปัตตานี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
คาดหวังมาก เมื่อผิดหวังก็จะเสียใจมาก
โดยเฉพาะกรณีโรงพยาบาลที่ถูกด่าๆกัน
ล่าสุด ก็มาม่าตะลุบัน 😖
ช่องทางการร้องเรียนการบริบาลมีทุกโรงพยาบาล สามารถร้องเรียน แนะนำอย่างสร้างสรรค์ได้ ไม่ใช่อะไรก็เสียดายเงินภาษี ไม่มีจรรยาบรรณ ลาออกไปเลย มุขเดิมๆ เอาไปต่อยอด และพัฒนาต่อไม่ได้
ขอบอก ณ ที่นี้ไว้ว่า หมอ พยาบาล ทันตะ เภสัช และเจ้าหน้าที่รพ.จ่ายภาษีเหมือนกันครับ บางคนเป็นพัน บางคนเป็นหมื่น บางคนเป็นแสนๆ ต่อปีครับ ส่วนตัวจ่ายภาษีไม่ถึงล้านครับ
ปรับความคาดหวังให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
👉 บางคนมารพ.รัฐ คาดหวังได้รับการบริบาลเหมือนรพ.ระดับเวิร์ดคลาสอย่างบำราษฎร์(ขออนุญาตยกตัวอย่าง) ไม่เกินจริง 🫦🫦🫦อย่างเช่น เคส 12 นาทีที่เพิ่งสร้างตำนานบทใหม่มานี้ กินทุเรียน น้ำตาลขึ้น เพลีย รอ 12 นาที เล่นใหญ่ ตุ๊กตาทอง รอไม่ได้ โกรธที่ไม่ได้ตรวจทันที ไม่คิดเลยว่ามีเพื่อนมนุษย์เจ็บป่วยหนักกว่ากำลังได้รับการบริบาลจากเจ้าหน้าที่อยู่ อคติกับเจ้าหน้าที่ ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
👉 บางคนมารพ.คาดหวังเหมือนมาเดินพรมแดงงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ ที่มีผู้คนรายล้อมสนใจ
ตั้งสติ💥 แล้วมาปรับความคาดหวังให้เป็นจริงนะครับ
รพ.รัฐ ดูแลคนไข้ทุกระดับ ดังนั้นคนไข้จึงมากมายต่อวัน และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จำนวนเจ้าหน้าที่นั้นเพิ่มน้อยมากๆ ทำให้
👉 ผู้ป่วยทั่วไปรอนานแน่นอน กว่าจะได้พบหมอ อย่าได้คาดหวังมาเร็วเคลมเร็ว
👉 เจอหมอแป๊บเดียวแน่นอน เพราะหมอต้องรีบเคลียร์เคส เดี๋ยวผู้ป่วยคนอื่นๆต้องรอนาน อย่าได้คาดหวังจะได้ปรึกษาหมอนานๆ ถ้าอาการไม่ได้เปลี่ยนแปลง
👉 คลินิกเฉพาะทางมีเฉพาะในเวลาราชการการ ถ้าคาดหวังพบแพทย์เฉพาะทางมาพบในเวลาราชการ หรือไปคลินิก
👉 คนไข้เยอะ เจ้าหน้าที่ไม่พอ การดูแลเบื้องต้นเล็กๆน้อย อย่าคาดหวังว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาช่วย(ยกเว้นขณะนั้นคนไข้น้อย) เช่น เด็กไข้สูง ผู้ปกครองต้องเช็ดตัวเด็กเองระหว่างรอเรียกตรวจ เด็กพ่นยาผู้ปกครองต้องเฝ้าเด็กเองเวลาพ่นยา(เคยมีมาม่า พ่นยาแล้วลูกตัวเองดิ้น ไม่มีคนช่วยจับเด็ก ก็บ่นรพ.มาแล้ว)
👉 รพ.รัฐ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ดูตามจำนวนเตียงของโรงพยาบาลเป็นหลัก เช่น โรงพยาบาล 30 เตียง ควรมีหมอเท่านี้คน พยาบาลเท่านี้คน เภสัชเท่านี้คน ฯลฯ ซึ่งการกำหนดอัตรากำลังตามจำนวนเตียงนั้นล้าหลัง (คนไข้นอนรพ.จริงอาจจะเกิน 60 เตียงไปแล้ว ในรพ.ขนาด 30 เตียง) ไม่ใช่คำตอบของภาระงานจริงๆ ทำให้เกือบทุกรพ. คนทำงานไม่พอ ขอคนเพิ่มไปก็เท่านั้น ได้แต่ให้อดทน อย่าได้คาดหวังกับการบริบาลเหมือนเอกชน พอบริบาลได้ไม่ดีก็ส่งผลให้คนหน้างานเป็นจำเลยที่ถูกด่า
👉 รพ.รัฐ รายได้ที่เข้ามาแทบจะขาดทุน จ้างคนทำงานเพิ่มไม่ได้ รายการยาก็ซื้อที่ถูกที่สุด ประหยัดให้มากที่สุด บางทีค่ายายังไม่จ่ายบริษัทยาเลย(ค้างค่ายา ครึ่งปีไรงี้ ) ยานอกบัญชีบางรพ.ก็ไม่เอาเข้ามาเลย ทั้งๆที่เป็นยาดี เพราะกลัวจะเบิกกลับไม่ได้ ไม่คุ้มกับที่จะได้มา ก็ไม่แปลกที่คนไข้มารพ.รัฐ จะได้แค่ยาพื้นฐาน อย่าคาดหวังมาก
👉 รพ.รัฐ มีหมออยู่เวรนอกเวลาราชการ วันละ 1-2 คน โดยเฉพาะรพ.ตามอำเภอ อย่าคาดหวังว่ามารพ.แล้วจะได้ตรวจทันที เพราะนอกเวลาราชการรพ.เปิดบริบาลให้กับเคสฉุกเฉิน หมออาจจะกำลังดูคนไข้ที่ฉุกเฉินกว่าแต่คนประเทศเทาไม่ฉุกเฉินก็มาใช้บริบาล
👉 อย่าคาดหวังถ้าคุณมารับบริบาลแล้วพูดไม่ดีกับเจ้าหน้าที่ก่อน แล้วจะให้เจ้าหน้าที่ยอม แล้วอ้างว่าตัวเอง/ญาติตัวเองป่วยเลยพูดไปแบบนั้น เจ้าหน้าก็คน อาจมีกระทบกระแทกกันได้
👉 อย่าคาดหวังว่าผลิตหมอ ผลิตพยาบาลเพิ่มแล้วระบบสาธารณสุขจะดีขึ้น เพราะภาระงานมากเกินไป ตำแหน่งบรรจุก็ไม่มี เวลาพักผ่อนก็ไม่พอ คนก็ออกจากระบบอยู่ดี เหมือนกรอกน้ำในถังที่รั่ว เดี๋ยวก็ออกไป คนทำงานก็ไม่พออยู่ดี
👉 อนาคตประเทศเทาจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนแก่มากขึ้น ถ้าไม่รู้จักดูแลตัวเอง การเจ็บป่วยย่อมเยอะขึ้น แต่งบประมาณแผ่นดินเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มขึ้นมากไม่ได้ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่เพิ่มไม่ได้เต็มกรอบ อย่าได้คาดหวังกับระบบสุขภาพระบบนี้มากนัก จะแบกภาระได้นานแค่ไหนกัน
นี่คือส่วนหนึ่งที่อยากให้ปรับจูนความคาดหวังให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่ใช่เพ้อฝันไปตามนโยบายของนักการเมือง
👉ไม่อยากเข้ารพ. ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี
👉 อยากได้การบริบาลถูกใจ ไม่แออัด ไปเอกชน
#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS