Connect with us

News

กรมควบคุมโรค เตือนด่วน!! ซีเซียม 137 อาการแบบใดต้องพบแพทย์?

Published

on

กรมควบคุมโรค เผย! วิธีรับมือซีเซียม 137 พร้อมอาการที่ต้องเฝ้าระวัง หากเป็นหนักต้องพบแพทย์

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า กรมควบคุมโรคให้ความรู้เรื่อง ซีเซียม 137 เพื่อเป็นข้อมูลเตือนภัยให้ประชาชน โดยระบุว่า

ซีเซียม 137 คืออะไร
กรมควบคุมโรค ระบุข้อมูลว่า ซีเซียม 137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อน สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวเป็นคลอไรด์กลายเป็นผลผลึก ปล่อยรังสีเบต้าและแกมม่า ใช้ในโรงงาน นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือแพทย์รักษามะเร็ง

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัส ซีเซียม 137

1.ลดการปนเปื้อนโดยการล้างตาในน้ำ ผ่านจากหัวตาไปยังหางตาด้วยน้ำสะอาด

2.ล้างมือ

3.อาบน้ำ

4.สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีถ้าทำได้ จากนั้นเก็บเสื้อผ้าใส่ถุง ปิดปากถุงให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่

5.ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนดสำหรับผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายกัมมันตรังสี

6.ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้เป็นพื้นที่อันตราย

เฝ้าระวังอาการ ดังต่อไปนี้

1.ไข้

2.คลื่นไส้ อาเจียน

3.เบื่ออาหาร

4.ถ่ายเหลว

5.ผิวหนังที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง

ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้

อาการที่ควรพบแพทย์

1.คลื่นไส้อาเจียน

2.ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง

3.มีไข้ หนาวสั่น

4.ชักเกร็ง

5.มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายในหนึ่งสัปดาห์หลังโดนรังสี หรือมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

การป้องกันและปฏิบัติตน

1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสีหรือกล่องเหล็กต้องสงสัย

2.ถ้าอยู่ในเหตุการณ์ให้ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตภาพรังสียังหน่วยงานที่กำหนด

3.รวบรวมสิ่งของเสื้อผ้าที่คาดว่าปนเปื้อนให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ

4.ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม

5.ติดตามข้อมูลสถานการณ์และปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: