Connect with us

News

เฉลยแล้ว!! สรรพากร รู้ได้ยังไง! ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ !!

Published

on

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สรรพากร รู้ได้อย่างไรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่?

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า ข้อมูลกรมสรรพากรระบุว่า หน้าที่หลักคือเก็บภาษีต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ดังนั้น กรมสรรพากรจึงมีอำนาจตรวจสอบว่าผู้เสียภาษีปฏิบัติตามหน้าที่แล้วหรือไม่ รวมถึงการแสวงหาข้อมูลจากช่องทางต่างๆ เพื่อประเมินว่าใครมีรายได้เท่าไหร่อย่างไรบ้าง สรรพากรจึงรู้รายได้เราโดยอาศัยช่องทางต่อไปนี้

1. ข้อมูลจาก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ได้รับจากผู้จ่ายเงินให้คุณ ซึ่งข้อมูลชุดนี้จะถูกบันทึกไว้อยู่ในฐานข้อมูลส่วนกลางของกรมสรรพากร ทำให้สรรพากรรู้รายได้เราในภาพรวมว่าคุณมีรายได้กี่บาท ดังนั้น หากพบว่าต้องชำระภาษีเพิ่ม แล้วไม่มาดำเนินการยื่นภาษีและจ่ายภาษีตามกำหนด เจ้าหน้าที่สรรพากรก็สามารถอาศัยข้อมูลชุดนี้เพื่อตรวจสอบ และส่งหนังสือมาถึงเราให้ชี้แจงสาเหตุที่ไม่จ่ายภาษีต่อไป

2. ข้อมูลจากธนาคาร มีหน้าที่ต้องรายงาน “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ” ให้กรมสรรพากรทราบ ได้แก่ เมื่อพบว่ามีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีของสถาบันการเงินเดียวกันรวมในปีเดียว ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง หรือเฉลี่ยเดือนละ 250 ครั้ง (ถ้าทั้งปีมียอดรวม 2,999 ครั้ง จะยังไม่เข้าเกณฑ์ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ) * เมื่อพบว่ามีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีของสถาบันการเงินเดียวกันรวมในปีเดียว ตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป

3. ข้อมูลจากประชาชนที่เข้ามาร้องเรียนให้กรมสรรพากรทราบ

4. ข้อมูลจากการสุ่มตรวจ การสุ่มตรวจเป็นวิธีการที่เจ้าหน้าที่สรรพากรเดินทางไปสำรวจตามพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ

5. ข้อมูลจากระบบ Big Data Analytics กรมสรรพากรเริ่มนำระบบ Big Data Analytics มาคัดแยกผู้เสียภาษีกลุ่มดีและผู้เสียภาษีกลุ่มเสี่ยง โดยอาศัยข้อมูลจากที่เจ้าหน้าที่สรรพากรบันทึกไว้เอง รวมถึงข้อมูลภายนอก เช่น การทำ Web Scraping (การดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหา keyword หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง) มาประกอบการพิจารณาเพื่อประเมินรายได้ได้ด้วย

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: