Connect with us

News

ควรจะมีการแก้ไขกฎหมาย!! กรณีแม่บังเกิดเกล้า ทอดทิ้งลูกไป โดยไม่ได้เลี้ยงดู !!

Published

on

ทนายเกิดผล แนะแก้กฎหมาย ชี้ แม่ ทิ้งลูกไปแล้วปล่อยให้พ่อเลี้ยงดูจนลูกเติบโต เมื่อลูกเสียชีวิตและสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมทดแทน แต่พ่อ ไม่ได้สักบาทเพราะพ่อไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย เหตุไม่ได้จดทะเบียน

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า ทนายเกิดผล เเก้วเกิด ประธานมูลนิธิทนายเกิดผลเพื่อประชาชน โพสต์ระบุว่า…

ควรจะมีการแก้ไขกฎหมาย เกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตร ในกรณีที่แม่บังเกิดเกล้า ทอดทิ้งลูกไป โดยไม่ได้เลี้ยงดู

ปล่อยให้พ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับแม่ เลี้ยงดูอยู่ฝ่ายเดียวจนลูกเติบโต

ปัจจุบันนี้ ในทางกฎหมายแล้ว การที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน กฎหมายถือว่า บุตร เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงฝ่ายเดียว

ฝ่ายพ่อไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย

เมื่อลูกถูกคนละเมิดจนเสียชีวิต ค่าสินไหมทดแทนที่ มีสิทธิ์ได้รับ คืนแม่ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย เพียงฝ่ายเดียว

แต่ในกรณีแบบนี้และมีอยู่หลายเคส  ที่ทิ้งลูกไปแล้วปล่อยให้พ่อเลี้ยงดูจนลูกเติบโต

เมื่อลูกเสียชีวิตและสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมทดแทน แต่พ่อ ไม่ได้สักบาทเพราะพ่อไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย

ความเป็นจริงแล้วผมถือว่าไม่เป็นธรรม แต่จะทำอะไรได้ เมื่อกฎหมาย ไม่รับรอง  ไม่คุ้มครองให้

แต่ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกมานั้น พ่อควรจะได้รับ หรือมีการชดใช้คืนหรือไม่

เคยมีคดีที่ พี่เลี้ยงเด็กรับจ้างเลี้ยงเด็ก เดือนละ 4,000 บาท 


แล้วแม่ของเด็กทิ้งเด็กให้พี่เลี้ยงดูแล แล้วก็ทอดทิ้งเด็กนั้นไปเป็นเวลา 14 ปี

ต่อมาพี่เลี้ยงเด็กได้ยื่นคำร้องฟ้องศาล เรียกค่าเลี้ยงดูเด็กตามสัญญาว่าจ้าง ที่ตัวเองสำรองค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูเด็กแทนแม่เด็กทั้ง 14 ปี

ซึ่งศาลพิพากษาให้แม่เด็กชดใช้ตามฟ้อง

แต่.. ในกรณีที่พ่อเลี้ยงลูกมาฝ่ายเดียวนั้น  เกิดขึ้นตาม หน้าที่ทางศีลธรรมจรรยา มิได้เกิดจาก สัญญาว่าจ้างตามกฎหมาย

ตามกฎหมายแล้วพ่อเด็กไม่จำเป็นต้องเลี้ยงดูเด็กคนนี้เลยเนื่องจากไม่มีหน้าที่เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย

แต่เมื่อเลี้ยงดูมาแล้ว  หากเด็กมีชีวิตอยู่เด็กก็ต้องตอบแทน  ทดแทนบุญคุณด้วยการอุปการะเลี้ยงดู ฝ่ายผู้เป็นพ่อตอบแทน

และเมื่อมีคนทำให้เด็กเสียชีวิตคุณพ่อก็ควรมีสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมทดแทน

แต่ในทางกฎหมายแล้วเขาไม่สามารถเรียกร้องได้เพราะไม่ได้มีสิทธิ์ตามกฎหมายนั่นเอง

ทางออกเรื่องนี้ไม่เคยเจอเพราะไม่มีกฎหมายรองรับ

แต่ผมคิดว่าน่าจะปรับใช้กับกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง  ตามมาตรา 4  คือ

เรื่อง การจัดการงานนอกสั่ง

( มาตรา ๓๙๕  บุคคลใดเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ)

#เป็นกรณีที่บุคคลคนหนึ่งเข้าทำบางสิ่งบางอย่างแทนอีกบุคคลหนึ่งโดยที่เขามิได้มอบหมายเลยก็ดี หรือโดยที่ไม่มีสิทธิทำเช่นนั้นเลยก็ดี เป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองนี้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามที่กฎหมายบัญญัติ แม้อันที่จริงแล้ว เขาอาจไม่ประสงค์จะผูกความสัมพันธ์กันในทางกฎหมายเลยก็ตาม[

ซึ่งการจัดงานนอกสั่งนี้ หากเป็นประโยชน์ต่อตัวการผู้ได้รับประโยชน์ กฎหมายก็ให้ผู้จัดการงานนอกสั่ง จะเรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้

(มาตรา ๔๐๑  ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการสมประโยชน์ของตัวการ และต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้นั้นไซร้ ท่านว่าผู้จัดการ #จะเรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้ และบทบัญญัติมาตรา ๘๑๖ วรรค ๒ นั้น ท่านก็ให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม)

ดังนั้นพ่อสามารถฟ้องเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปก่อนในการเลี้ยงดูบุตรคืนจากแม่เด็กได้

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: