แพทย์พบ เชื้อโอมิครอนอยู่ได้นานกว่าสายพันธุ์เดลตา โดยอยู่บนผิวหนังได้นานถึง 21 ชั่วโมง และบนถุงพลาสติกได้นานถึง 194 ชั่วโมง
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัยอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า อนามัยเรื่องความกังวลของประชาชนต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ พบว่า ร้อยละ 75 ประชาชนมีความกังวลต่อการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด และ ร้อยละ25 ไม่กังวล
ส่วน สาเหตุ ถึงความกังวล อันดับ 1 ร้อยละ 85 กังวล เรื่องของความรุนแรงของเชื้อ อันดับที่ 2 ร้อยละ 54 กลัวจะติดเชื้อได้ง่าย อันดับ 3 ร้อยละ 44 กังวลในเรื่องของเชื้อกลายพันธุ์ที่ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และร้อยละ 44 กังวลในเรื่องผลกระทบในการทำงานและรายได้ ร้อยละ 38 กังวล ถึงประสิทธิภาพของวัคซีนฉีดแล้วจะป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้หรือไม่
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 64 ต้องการที่จะรู้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆที่มากขึ้น
สำหรับความคงทน ของเชื้อโรคบนพื้นผิวสัมผัส เช่น บนผิวหนัง และผิวพลาสติกนั้น พบว่า โอมิครอนอยู่ได้นานกว่าสายพันธุ์เดลตา โดยอยู่บนผิวหนังได้นานถึง 21 ชั่วโมง และบนถุงพลาสติกได้นานถึง 194 ชั่วโมง
โดย โอมิครอน BA.2 มีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้มากกว่า โอมิครอน BA.1 และเดลต้า
อธิบดีกรมอนามัย ยังได้นำเสนอข้อมูล สถานการณ์โควิด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปี 2563-2564 พบว่า 2563 มีการใช้มาตรการเข้มงวด คือ ยกเลิกกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เลื่อนสงกรานต์ ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันลดลง
ส่วนในปี 2564 ได้มีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆประชาชนเดินทางได้ มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม มีการฉีดวัคซีน พบว่า ช่วงเวลานั้น จำนวนผู้ติดเชื้อหลังเทศกาลสงกรานต์สูงขึ้น และคาดว่าปี 2565 ที่จำเป็นต้องขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจมีความเป็นไปได้ที่ช่วงหลังสงกรานต์จะมียอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นถึงแม้จะมีประชาชนจะได้รับวัคซีนโควิด19 ที่ครอบคลุม แต่ก็ไม่ได้ป้องกันโรคได้ 100% เน้นย้ำประชาชนและผู้ที่จะจัดงาน คงมาตรการสาธารณสุข เพื่อให้ปลอดภัยปลอด