โรคทำงานจนตาย มีอาการทางหัวใจและเส้นเลือดสมอง จากระยะเวลาทำงานที่ยาวนาน และมีความเครียดในงานมาก ฮอร์โมนจะถูกหลั่งมาในเลือด
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรค Karoshi หรือ ที่เรียกว่าทำงานจนตาย เป็นปัญหาต่อเนื่องในสังคมการทำงานของประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานเกือบ 50 ปี จนเกิดคำศัพท์ “คาโรชิ” (Karoshi) ขึ้น
สาเหตุของ Karoshi เมื่อมีความเครียดสมองจะสั่ง ให้หลั่งฮอร์โมนตัวชี้วัดความเครียด เนื่องจากจะวัดได้ในเลือดและปัสสาวะเวลาร่างกายเกิดความเครียด เมื่อเกิดความเครียดฮอร์โมนเหล่านี้จะถูกหลั่งออกมาในเลือดทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน น้ำตาล และกรดไขมัน ทำให้เกิดการตอบสนองต่อความเครียดซึ่งเป็นปฏิกิริยาช่วยชีวิตในคน โดยเฉพาะเมื่อเจอภาวะฉุกเฉิน เมื่อมนุษย์พบเหตุการณ์เครียดก็จะมีกลไกตอบสนอง เพื่อลดความเครียดนั้นลง
การตอบสนองขึ้นกับสภาวะทางสรีระหรือจิตใจของคนนั้นๆ ถ้าไม่สามารถจัดการความเครียดได้ก็จะหลงเหลือความเครียดอยู่ (residual stress) ซึ่งทำให้เกิดกลไกจิตบังคับกาย หรือแสดงออกทางร่างกาย หรือเกิดโรคได้ ความเครียดที่หลงเหลือทำให้มีระดับ catecholamine สูงในเลือดตลอด และทำให้ความดันโลหิตขึ้น ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดแข็งและหนาตัว เกิดความดันเลือดสูงขึ้นอีก และทำให้เป็นโรคของหลอดเลือด
นอกจากนี้ฮอร์โมนเหล่านี้ยังทำให้เกิดระดับไขมันในเลือดสูง มีการแข็งตัวของเลือด และหลอดเลือดตีบ โดยฮอร์โมน epinephrine และ norepinephrine จะเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ส่วน cortisol ยังทำให้เกิดโรคของหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ลดภูมิคุ้มกัน และภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมลง มีงานวิจัยพบว่าผู้หญิงที่ทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 50 ชั่วโมงจะมีระดับ cortisol สูงเป็นสองเท่าของผู้หญิงที่ทำงานปานกลาง
#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS