หมอวรงค์ เตือน! กรรมการแพทยสภาระวังโดนมาตรา157
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ระบุว่า…
เตือนกรรมการแพทยสภาระวังโดนมาตรา157
การที่แพทยสภา มีประกาศคณะกรรมการบริหารแพทยสภา ลงวันที่ 3 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีความพยายามประวิงเวลา ผลสอบสวนความผิดจริยธรรมของแพทย์ที่รักษานักโทษหรือไม่
ข้อสงสัยดังกล่าว จึงนำไปสู่การสืบค้น อำนาจหน้าที่ ตลอดจนขั้นตอนต่างๆ ตามข้อบังคับฯแพทยสภา ว่าด้วยการพิจารณาจริยธรรมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2563 และพรบ.วิชาชีพเวชกรรม 2525 มีข้อสังเกต
1.คณะกรรมการบริหารแพทยสภา ที่ประกาศในนามแพทยสภา ลงวันที่ 3 เมษายน 2568 พบว่าไม่มีหน่วยงานนี้ในพรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ที่สำคัญคณะกรรมการแพทยสภา ซึ่งประกอบไปด้วยคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และอีกหลายตำแหน่งล้วนมีประสบการณ์ เป็นผู้แต่งตั้งอนุกรรมการต่างๆ ต้องร่วมรับผิดชอบ และตอบคำถามในรายละเอียด
1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแพทยสภา ตามที่ได้ออกประกาศในวันที่ 3 เมษายน 2568 ใช่หรือไม่
1.2 มีข้อบังคับของแพทยสภา ที่มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารแพทยสภา ตามประกาศ 3 เมษายน 2568 และสามารถออกประกาศในนามแพทยสภา และมีผลเป็นคำสั่งทางการปกครอง ใช่หรือไม่
1.3.คณะกรรมการบริหารแพทยสภา ประกอบด้วยบุคคลใด มีจำนวนกี่คน
1.4 การที่ไม่มีการลงนามในประกาศของคณะกรรมการบริหารแพทยสภา คณะกรรมการบริหารแพทยสภามีเหตุผลใด
อย่างน้อยคณะกรรมการแพทยสภา ซึ่งรวมถึงคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ทั้งหมด ต้องออกมาทำความเข้าใจต่อสังคม ก่อนที่องค์กรนี้จะเสื่อมลง
2.เมื่อไม่มี กรรมการบริหารแพทยสภา ตามกฏหมาย และมีการประกาศ โดยใช้ชื่อดังกล่าว ย่อมมีคำถามตามมาว่า ประกาศกรรมการบริหารแพทยสภา ลงวันที่ 3 เมษายน 2568 เป็นประกาศที่ไม่ชอบหรือไม่
3.ตามข้อบังคับฯแพทยสภา ว่าด้วยการพิจารณาจริยธรรมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2563 และพรบ.วิชาชีพเวชกรรม 2525 อนุกรรมการสอบสวน มีอำนาจดำเนินการด้วยตนเอง และเสนอต่อกรรมการแพทยสภา ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องรายงานต่อ กรรมการบริหารแพทยสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่มีตามกฏหมาย
4.ตามขั้นตอน ถ้าครบกำหนดเวลา 180 วันที่ได้รับเรื่องจากเลขาธิการ อนุกรรมการสอบสวน ควรรายงานต่อ กรรมการแพทยสภาเพื่อพิจารณา ถ้ามีเอกสารเพิ่มเติม ที่จะต้องขยายเวลา ต้องเสนอเรื่องขยายเวลาจากกรรมการแพทยสภา ไม่ใช่รายงานต่อกรรมการบริหารแพทยสภา ซึ่งไม่ใช่องค์กรตามกฏหมาย
5.จากการที่ประธานอนุสอบสวน (อาจารย์อมร) เคยแจ้งผ่านสื่อว่า การสอบสวนเสร็จแล้ว 99.99 % แต่มีการประกาศเลื่อน เสนอผ่านขั้นตอนที่สังคมแคลงใจ จึงเกิดคำถามตามมาว่า มีการประวิงเวลาหรือไม่
สิ่งที่กรรมการแพทยสภา โดยเฉพาะท่านคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ทั้งหลาย ต้องพิจารณาว่า การที่อาจารย์อมร ไม่นำเรื่องการพิจารณาจริยธรรมแพทย์ในเรื่องเกี่ยวข้องกับ นาย ทักษิณ ชินวัตร เข้าที่ประชุมของคณะกรรมการแพทยสภาชุดใหญ่ ในวาระที่ได้บรรจุไว้แล้ว ในวันที่10เมษายน2568
ท่านจะต้องตอบ สมาชิกแพทยสภา สังคมประชาชนคนไทยว่า อาจารย์อมร สมควรต้องนำเรื่องนี้ เข้าประชุมตามวาระ ของคณะกรรมการแพทยสภาชุดใหญ่ ในวันที่10 เมษายน 2568 ให้คณบดีมีส่วนร่วมในการพิจารณา หรือไม่
แล้วจะมีมติของที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาชุดใหญ่จะออกมาอย่างไร คือความรับผิดชอบของกรรมการแพทยสภาซึ่งมีคณบดีคณะแพทยศาสตร์ทุกๆคณะร่วมด้วย
เนื่องจากเรื่องดังกล่าว ได้รับความสนใจจากประชาชน อนุกรรมการและกรรมแพทยสภา จะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส เพราะข้อมูลที่ออกมา พวกท่านมีความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีตามมาตรา157 ของประมวลกฏหมายอาญา
#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS