หมอนิธิ เผยวิธี รับแจกยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับเด็กตั้งแต่ 1 เดือน ขึ้นไป
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทเมดิกา อินโนวา จำกัด ชี้แจง การพัฒนาและคิดค้นสูตรตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อต้านเชื้อไวรัสสำหรับเด็ก และผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย โดยตัวยาจะเป็นน้ำเชื่อม กลืนง่าย อีกทั้งยังยินดีมอบสูตรการผลิตยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ให้กับโรงพยาบาลอื่นแต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เท่านั้น
โดยรายงานระบุ นพ.นิธิ กล่าวว่า เนื่องด้วยขณะนี้การระบาดของโควิด-19 มากขึ้นและพบว่าผู้ติดเชื้อเป็นเด็กเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การฉีดวัคซีนในเด็ก ยังไม่ได้มีการใช้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น การได้รับยารักษาเร็ว จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก เข้าโรงพยาบาล และเสียชีวิตได้ และช่วยภาวะที่เตียงในโรงพยาบาลต่าง ๆ เริ่มไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นห่วงประชาชนมาตลอด โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ใช้ยาลำบาก จึงได้มีการหารือร่วมกัน เพื่อพัฒนายาในโรงพยาบาล โดยทำยาฟาวิพิราเวียร์ชนิดน้ำเชื่อม สำหรับเด็กที่กลืนยาเม็ดไม่ได้ หรือเพื่อให้ผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องการกลืนยา ซึ่งยาดังกล่าวต้องใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น และมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ ทีมผลิตยา จากบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด ผลิตยา กล่าวว่า ยาสูตรน้ำเชื่อมนี้ เป็นยาน้ำที่ผลิตได้ในโรงพยาบาล ตั้งสูตรตำรับตามหลักสากล โดยยาตัวนี้ สามารถใช้ได้กับเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป สัดส่วนการให้ยาเป็นไปตามแพทย์สั่ง ซึ่งยาจะมีอายุแค่ 30 วัน ไม่เหมาะกับที่ที่มีความร้อนจัด หรือต่ำกว่า 30 องศาเซียลเซียส
อย่างไรก็ตาม จากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์น้ำเชื่อมในคนไข้เด็กอายุ 8 เดือน ถึง 5 ปี จำนวน 12 คน ในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พบว่า ตอบสนองต่อการรักษาดี ไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรง กินยาได้ดี อัตราส่วนที่ต้องใช้ยาน้ำจริง คือ 1 ใน 3 ในเด็กที่วิกฤติ ต้องมีการรวบรวมตัวเลขอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม สำหรับช่องทางการลงทะเบียนขอรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับแพทย์ สามารถสแกน QR Code หรือ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://favipiravir.cra.ac.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เริ่ม วันที่ 6 ส.ค.2564 ในระยะแรกให้บริการได้ 100 รายต่อสัปดาห์ เฉลี่ย 20 รายต่อวัน จะได้รับยาหลังลงทะเบียนแล้ว 1 วัน จัดยาไม่เกินเวลา 20.00 น. ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง อาจจะต้องรับผิดชอบเอง
ทั้งนี้ได้กล่วทิ้งท้ายว่า หากโรงพยาบาลไหน อยากจะได้สูตรยาไปผลิตเอง ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีความยินดีที่จะให้สูตรยาไปผลิต เพราะวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงยา แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เท่านั้น
You must be logged in to post a comment Login