โดย สยาม เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลาง ส่งผลให้เมื่อสิ้นสุดสงคราม สยาม อยู่ในฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ และการทหาร รวมทั้งสามารถเรียกร้องแก้ไขและยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ของชาติมหาอำนาจที่เคยทำไว้กับ สยาม
วงเวียน 22 กรกฎาคม เป็นวงเวียนน้ำพุ ตั้งอยู่ในบริเวณที่ถนน 3 สายตัดกัน คือ ถนนไมตรีจิตต์ ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถนนรอบวงเวียนมีชื่อว่า
ถนนวงเวียน 22 กรกฎาคม
วงเวียน 22 กรกฎาคม ถูกสร้างขึ้น เพื่อรำลึกถึงวันที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัย นำ สยาม เข้าร่วมกับฝ่ายฝ่ายสัมพันธมิตรส่งทหารไปรบ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยประกาศสงครามกับกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลาง ส่งผลให้เมื่อสิ้นสุดสงคราม ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ และการทหาร รวมทั้งสามารถเรียกร้องแก้ไขและยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ของชาติมหาอำนาจที่เคยทำไว้กับ สยาม ในขณะนั้น
บริเวณที่เป็นวงเวียน 22 กรกฎาคม แต่เดิมนั้น เคยเป็นชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่นมาก ราว พ.ศ. 2460 ได้เกิดไฟไหม้ใหญ่เผาผลาญบ้านเรือนในบริเวณนี้ไปเกือบหมด เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตัดถนนเพื่อความเป็นระเบียบของบ้านเมือง ต่อมาได้โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตัดถนนสามสาย บริเวณที่ถนนสามสายนั้นมาตัดกันได้โปรดให้สร้างเป็นวงเวียน พระราชทานนามว่า 22 กรกฎาคม ส่วนถนนสามสายนั้น พระราชทานชื่อว่า ไมตรีจิตต์ – มิตรพันธ์ – สันติภาพ เมื่อแปลความหมายแล้วจะได้ความว่า รอบวงเวียนนั้นมี 6 แยก คือ รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศสงครามเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ด้วยไมตรีจิต ที่มีต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้เกิดสันติภาพ
ย้อนไปนับแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในทวีปยุโรป ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เป็นผู้นำ กับฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งมีผู้นำได้แก่ เยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อพุทธศักราช 2457 ประเทศสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินนโยบายรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
จนกระทั่งพุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และปราศจากมนุษยธรรม กับทรงตระหนักด้วยพระปรีชาญาณทางทหาร ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรน่าจะได้รับชัยชนะในสงคราม ซึ่งเมื่อสงครามสงบลงแล้ว หากสยามเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร ย่อมได้ประโยชน์ในการเจรจากับนานาประเทศ เพื่อแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ทั้งในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการแก้พิกัดภาษีศุลกากร
ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2460 จึงได้ทรงตัดสินพระราชหฤทัยประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร นอกจากนี้ ยังทรงส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบ ณ สมรภูมิทวีปยุโรปอีกด้วย
ภายหลังจากสงครามโลก ครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2461 ฝ่ายสัมพันธมิตร
ซึ่งหมายรวมถึงประเทศสยาม ได้รับชัยชนะในมหาสงคราม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าควรจะสร้างถาวรวัตถุ เป็นอนุสรณ์ ถึงวันที่ประเทศสยามประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวงเวียน พร้อมกับถนน ๓ สาย ณ บริเวณที่เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้ในตำบลหัวลำโพง ซึ่งอยู่ท้องที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ทั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวงเวียนและถนนรวมกันว่า “22 กรกฎาคม”
ปัจจุบัน บริเวณวงเวียน 22 กรกฎาคม เป็นแหล่งขายยางรถยนต์ มีร้านขายยางรถยนต์ทั้งใหม่และเก่าจำนวนหลายร้าน รวมถึงร้านผลิตป้ายโฆษณา
นอกจากนี้ ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สถานที่แห่งนี้ยังถูกใช้เป็นที่สังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคา
แบบไม่เต็มดวง ที่เห็นได้ในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เนื่องจากชื่อสถานที่
ตรงกับวันเกิดปรากฏการณ์นี้ นับเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคา ที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21
You must be logged in to post a comment Login