When childhood dies, its corpses are called adults.
เมื่อความเป็นเด็กน้อยได้จากไป ร่างที่เหลือไว้จึงเรียกว่า ผู้ใหญ่
-Billion Year Spree: The History of Science Fiction (1973) by Brian Aldiss-
ก็คงเป็นความจริงดั่งบทความข้างต้นว่า ในสมัยที่เรายังเด็กเรามักเฝ้าฝันที่จะได้ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ เฝ้านับรอเวลาว่าเมื่อไหร่กันนะที่เราจะได้โตขึ้นและเป็นอิสระได้ทำตามใจฝัน ทว่าพอโตขึ้นมาเป็นวัยผู้ใหญ่จริง ๆ เรากลับหวนคิดถึงวันวานที่ยังเป็นเด็ก ในยามที่ได้วิ่งเล่น ในยามที่ยังคงมีจินตนาการล้ำเลิศ เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าในวัยที่เติบโต
Loss of Innocence ความไร้เดียงสาที่หล่นหาย
ในระหว่างทางที่เรานั้นเติบโต กลับไม่รู้ตัวเลยว่าความไร้เดียงสาของเรานั้นได้หล่นหายไปตั้งแต่เมื่อใด คงคล้ายกับความฝันตื่นหนึ่งที่ยามอยู่ใครความฝันช่างเหมือนจริง และมีความสุข ทว่ายามที่ตื่นขึ้นมานั้นกลับจำสิ่งที่อยู่ในความฝันได้เพียงเลือนราง
ทฤษฎี 7 ปี อาจจะเป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมเราถึงได้ทำความไร้เดียงสาหล่นหายไป เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยว่า “วุฒิภาวะของคนจะเปลี่ยนไปทุกๆ 7 ปี” เนื่องจากใน 7 ปี ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเราอาจจะเห็นไม่ชัดมาก แต่ลึกลงไปถึงจิตใจวิทยาศาสตร์พบว่า ความคิด ความรู้สึกต่างๆ จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
คล้ายกับว่าเรากำลังเรียนรู้เรื่องพื้นฐานความเป็นมนุษย์ พยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ และเมื่อเราเติบโตเต็มที่เราจะเข้าใจความซับซ้อนของการมีชีวิตอยู่ จนไม่ตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆ เท่าที่ควรเหมือนอย่างเด็กๆ นั้นจึงเป็นสัญญาณว่าความไร้เดียงสาที่เคยมี กำลังจะจางหายไป
Nostalgia Mode ฉันคิดถึงเธอคนที่อยู่แสนไกล
เพราะความไร้เดียงสาที่หายไป จึงได้หวนคิดถึงวันวานที่ยังเคยมีอยู่ เห็นภาพอดีตที่ไม่อาจย้อนกลับคืนความคิดนี้ ทางจิตวิทยาคลินิกเรียกว่า Nostalgia หรือ อารมณ์ถวิลหาอดีต
Nostalgia คือแนวคิดย่อยสำคัญในยุคหลังสมัยใหม่ ที่มีรากศัพท์จากภาษากรีซผสมผสานระหว่างคำว่า Nosto หรือการกลับบ้าน และคำว่า Algos ความเจ็บปวด พูดให้เห็นภาพก็คงคล้ายกับ Homesick แต่อยู่ในระดับที่เป็นความผิดปกติทางจิตใจ ถึงขั้นนึกถึงเรื่องราวในอดีต ติดอยู่ในอดีตและปัจจุบันโดยหาทางออกไม่ได้ มุมมองเวลาเป็นวงกลมเฝ้าจินตนาการถึงโลกที่เราสูญเสียไปแล้ว บางครั้งอาจจะเป็นตอนที่เราได้เที่ยวสวนสนุกครั้งแรก ตอนที่ได้เข้าโรงเรียนวันแรก หรือบางคนอาจจะนึกถึงเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานเสียด้วยซ้ำ
ความรู้สึกกดดันโดยสังคมรอบข้าง ความผิดหวัง ความวิตกกังวลในความมั่นคง เป็นสูตรสำเร็จทางหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการโหยหาอดีตที่ผู้ใหญ่หลายคนเผชิญ โดยส่วนมากจะกลับไปนึกถึงวันวานที่เคยมีความสุข จินตนาการภาพจะความทรงจำในวัยเด็กให้กลับมา บางครั้งอาจถึงขั้นหมดศรัทธากับโลกความเป็นจริง
Obsess with Retro โอบกอดวันคืนแสนสุขไว้ในจินตนาการ
เพราะปัจจุบันนั้นขาด จึงต้องสร้างบางสิ่งเพื่อทดแทนนำไปสู่ วัฒนธรรมการบริโภครสนิยมย้อนหลัง (Retro Style) ออกมาในรูปแบบของไลฟ์สไตล์ วัตถุ สิ่งปลูกสร้าง เพลง ภาพยนตร์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้หลายประเทศอย่าง ท่องเที่ยวแบบโหยหาอดีต (Nostalgia Tourism) ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพที่ใกล้ตัวที่สุดก็คงเป็น สวนสนุก สถานที่ที่ทำให้ได้รู้สึกย้อนวัย รู้สึกตื่นเต้น สนุกสนาน
หลุดพ้นและละทิ้งทุกอย่าง เข้าสู่โลกแห่งความสุขชั่วคราว
ร่วมแชร์เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจ
ครั้งหน้าพบกับเราในบทความใหม่เรื่องใด
อย่าลืมกดติดตามข่าวสารจาก Tojo News
https://today.line.me/th/v2/publisher/102232
#ทฤษฎี #TojoNews #จิตวิทยา