Connect with us

News

ทำไม 29 กุมภาพันธ์ ถึงมาทุก ๆ 4 ปี?

Published

on

ที่มาของเดือนกุมภาพันธ์นั้นมาจาก จูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาลนู้น ซีซาร์เป็นคนแรกที่ริเริ่มให้ใช้ “ปฏิทินจูเลียน” (Julian calendar) ซึ่งได้ทำการปรับเปลี่ยนจำนวนเดือนเสียใหม่ โดยก่อนหน้านั้นชาวโรมันใช้ “ปฏิทินโรมัน” กันมา ซึ่ง 1 ปีปฏิทินมี 10 เดือน (304 วัน) คือ Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December เทียบแล้วก็คือ มีนาคม-ธันวาคม ของปัจจุบันนั่นเอง และในบางปีจะมีการทดเดือนพิเศษเข้ามาเพื่อให้มีวันใกล้เคียงตามสุริยคติ

ทำไมต้องรอ 4 ปี ถึงจะมี 29 วัน
เหตุผลที่เดือนกุมภาพันธ์เดี๋ยวมี 28 วันบ้าง 29 วันบ้าง เป็นเพราะปฏิทินจูเลียนได้อ้างอิงการนับวันตามระบบสุริยคติหรือดูจากตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก และก่อนคำนวณปฏิทินนี้ขึ้น ชาวโรมันผู้ซึ่งเป็นคนพวกแรกที่คำนวณปฏิทินขึ้นมาใช้อย่างเป็นระบบ ได้พบว่าโลกใช้เวลาทั้งหมด 365.25 วัน (นับเป็น 1 ปี) ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่จะให้ปฏิทินรอบ 1 ปี มี 365 กับเศษอีก 0.25 วัน ก็จะดูแปลกๆ จึงได้แก้ปัญหาว่าให้เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันไปเรื่อย ๆ จนครบ 4 ครั้งเมื่อไร ก็เท่ากับว่าได้เวลา 0.25 วันเพิ่มขึ้นมาสี่รอบกลายเป็น 1 วันเต็มพอดี และก็ให้เดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้นมี 29 วันไปนั่นเอง

คิดง่าย ๆ ก็จะเป็นตามนี้
ระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ คือ 365.24224 วัน ถ้าปีใดเดือน กุมภาพันธ์มี 28 วัน ปีนั้นมีจำนวนวัน 365 วัน ก็ขาดไป 0.24224 วัน ถ้าปีใดเดือน กุมภาพันธ์มี 29 วัน ปีนั้นมีจำนวนวัน 366 วัน ก็เกินไป 0.24224 วัน ดังนั้น เพื่อง่ายต่อการเพิ่มหรือลดระยะเวลาที่ขาดหรือเกินไป จึงกำหนดให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ส่วนที่ขาดไปปีละ 0.24224 วันนั้น (ประมาณ 6 ชั่วโมง) ก็ทดไว้จนครบ 4 ปี ก็จะได้วันอีกหนึ่งวัน

อย่าลืมกดติดตาม Tojo News เพื่อพบกับข่าวสาร และบทความใหม่ ๆ จากเรา

Line Today TOJO NEWS , ToJoNews

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: