Connect with us

News

หลักสูตร “ผู้นำยุคใหม่ พลิกโฉมธุรกิจด้วย Big Data และ AI” พาปลดล็อกศักยภาพผู้นำยุคใหม่ สู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ

Published

on

วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) จัดหลักสูตร “ผู้นำยุคใหม่ พลิกโฉมธุรกิจด้วย Big Data และ AI”  (LEAD : Transformational Leadership with Big Data and AI) เป็นสัปดาห์ที่ 3  ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์ กรุงเทพฯ เพื่อปลดล็อกศักยภาพผู้นำยุคใหม่ สู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ เจาะลึกทุกมิติทาง Big Data และ AI สู่การประยุกต์ใช้จริง พร้อมถอดบทเรียนจากตัวอย่างการใช้งานจริงของบริษัทชั้นนำระดับโลก ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ตลอดจนเรียนรู้เทคนิคการสร้างความเชื่อมั่น และการนำ Big Data และ AI ไปปรับใช้ในองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ

สำหรับช่วงแรกของงานได้รับเกียรติจากคุณวรพิชญา ระเบียบโลก ผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิเคราะห์ข้อมูล สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่, ดร.อัญชลิสา แต้ตระกูล (รักษาการ) ผู้อำนวยการโครงการ Travel Link สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่, คุณปฏิภาณ ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ดร.พีรดล สามะศิริ ผู้จัดการโครงการ และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลอาวุโส สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ และคุณศักดิ์สิทธิ์ ศรีมะโรง ผู้ประสานเครือข่ายพันธมิตร ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมและประสานเครือข่าย กลุ่มงานส่งเสริมธุรกิจและองค์ความรู้ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ มาแบ่งปันความรู้ในหัวข้อ “Data Driven Decision for Executives” โดย นพ.ธนกฤต จินตวร First Executive Vice President รับหน้าที่เป็น Moderator

โดย คุณวรพิชญา ระเบียบโลก ผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิเคราะห์ข้อมูล สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ได้พูดถึงการทำงานซึ่งหลัก ๆ คือการดูแลทาง Data Science ของแต่ละฝ่ายงานเช่น การเงิน และพาณิชย์ ซึ่งงานที่ทำจะเป็นการเข้าไปที่หน่วยงานรัฐ โดยจะเข้าไปรับโจทย์เพื่อที่จะได้ทราบว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่หน่วยงานรัฐจะนำมาใช้คือข้อมูลอะไรบ้าง หลังจากนั้นจะนำมาวิเคราะห์แล้วนำไปขึ้นบน Dashboard หลังจากนั้นจึงจะได้ทราบถึงข้อมูลที่หน่วยงานมีนั้นสามารถนำมาใช้ได้จริงหรือไม่ นอกจากนี้อีกงานที่ทาง BDI เข้าไปช่วยคือการตั้งศูนย์นวัตกรรมข้อมูล ซึ่งเข้าช่วยในลักษณะที่ทำให้หน่วยงานมีการสื่อสารที่ไม่มีช่องว่างระหว่างฝ่าย IT กับฝ่ายวิจัยข้อมูล

ด้านดร.อัญชลิสา แต้ตระกูล (รักษาการ) ผู้อำนวยการโครงการ Travel Link สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ได้กล่าวว่าสำหรับการรับผิดชอบที่ทาง BDI ทำหลัก ๆ คือการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งวัตถุประสงค์คือการเชื่อมโยงข้อมูลท่องเที่ยวในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นจากทางภาครัฐหรือภาคเอกชน ซี่งเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐ โดยเป็นการเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงานแต่ละสมาคม เริ่มจากความต้องการที่แต่ละฝ่ายต้องการอยากรู้ข้อมูลในส่วนไหนที่สามารถตอบได้ด้วย Data เพราะทุก ๆ ครั้งที่ทำ Dashboard จะเริ่มจากโจทย์ว่าต้องการอยากรู้อะไร และไปหาว่าข้อมูลนั้นอยู่ที่ไหน เมื่อได้ข้อมูลก็จะนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบตามโจทย์นั้น ๆ

ในส่วนของคุณปฏิภาณ ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ได้ชี้ให้เห็นว่าการทำงานหลัก ๆ จะเป็นในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อได้รับโจทย์มาทางทีมจะนำมาวิเคราะห์ว่าจะสามารถช่วยอะไรได้บ้างในทางนโยบาย

ดร.พีรดล สามะศิริ ผู้จัดการโครงการ และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลอาวุโส สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ กล่าวว่า การทำงานจะเป็นการไปช่วยในกระทรวงต่าง ๆ เช่นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการเกษตร กระทรวงสาธารณสุข โดยการเข้าไปช่วยนั้นจะเป็นการดูว่าหากเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นจะสามารถต่อยอดอย่างไรได้บ้าง ซึ่งช่วงนี้จะหันมาดูทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ดูทางด้านภูเก็ตว่ามีการจัดการพื้นที่อย่างไรในเขตเมืองเก่าในเรื่องของการปล่อยคาร์บอน โดยการใช้เทคโนโลยี AI ไปจับว่ารถที่ผ่านเข้ามาว่ามีจำนวนคาร์บอนเท่าไหร่ ซึ่งทำให้เห็นภาพเพิ่มเติมว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ เพื่อช่วยให้การบริหารเรื่องฝุ่นจัดการได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

และคุณศักดิ์สิทธิ์ ศรีมะโรง ผู้ประสานเครือข่ายพันธมิตร ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมและประสานเครือข่าย กลุ่มงานส่งเสริมธุรกิจและองค์ความรู้ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ได้พูดถึงภารกิจและแดชบอร์ดที่ผ่านมาของสถานบันข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งได้ยกตัวอย่างการทำงานในช่วงการเลือกตั้งที่ต้องมีการรายงานผลแบบเรียลไทม์ที่แตกต่างจากโปรเจกต์อื่น ๆ ที่เคยได้รับ โดยทางทีมต้องทำให้เห็นได้เป็นภาพว่าอะไรเป็นอะไร

โดยทางวิทยากรได้ยกตัวอย่างการนำข้อมูลที่คัดกรองแล้วเพื่อทำให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นเช่น การเรียนต่อของนักเรียนในโรงเรียนว่าจบระดับชั้นแล้วยังอยู่ที่โรงเรียนเดิม หรือมีการย้ายสังกัด รวมถึงการย้ายสถานที่ไปเลย นอกจากนี้วิทยากรยังได้แสดงข้อมูลจากการเก็บรวบรวมให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นภาพกันมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องของภาพรวมสถานการณ์หมอกควันไฟป่ารายวัน, ข้อมูลการเลือกตั้ง, ข้อมูลการขยายสถานศึกษาของนักเรียน และเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา

พร้อมตอบคำถามจากผู้เข้าร่วมอบรมถึงเรื่องของประสบการณ์ของวิทยากรแต่ละท่านว่าการทำงานกับผู้ใช้นั้นมีการใช้เครื่องมืออย่างไร ซึ่งวิทยากรตอบคำถามนี้ว่า จากประสบการณ์หลัก ๆ คือดูธรรมชาติของหน่วยงานเหล่านั้นก่อนว่าเขามีหน่วยงานที่กรุงเทพหรือมีหน่วยงานภาคพื้นที่ด้วย หากเขามีหน่วยงานภาคพื้นที่ด้วยก็ต้องดูว่าสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร อุปกรณ์เป็นแบบไหนเป็น Power BI หรืออย่างอื่น อุปกรณ์ที่จะเสริม Dashboard ได้สามารถเสริมได้หรือไม่

ช่วงถัดมาดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม รองผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ มาถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าร่วมในเรื่อง “Understanding PDPA” ซึ่งดร.สุนทรีย์ ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มของข้อมูลที่ถูกละเมิดในอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกคือเรื่องของ Healthcare, Financial, Pharmaceuticals, Energy และ Industrial ซึ่งกลไกคณะกรรมการตามกฎหมายได้แบ่งออกเป็น 1. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (กคส.) 2. คณะกรรมการกำกับสำนักงานฯ (กกส.) 3. คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 4 คณะ 4. สนง.คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ซึ่ง PDPA นั้นเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection) เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการหรือองค์กรที่มีการเก็บ ใช้ ข้อมูลส่วนบุคคล, กำหนดมาตรการเยียวยาถ้าหากมีการละเมิดสิทธิ, สร้างความโปร่งใสและเป็นธรรมในการใช้ข้อมูล และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างมั่นคง ซึ่งการประมวลผลข้อมูลนั้นจะเริ่มจากการเก็บรวบรวม (Collect) เพื่อนำไปใช้ (Use) และเปิดเผย (Disclose) โดยข้อมูลทั้งหมดนั้นจะเกี่ยวข้องกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ๆ (Data Subjects)

ตัวอย่างสำหรับความสัมพันธ์ตาม PDPA โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สำนักงานประกันสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, บริษัท ไอที จำกัด (มหาชน) และมีผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น freelance รับดูแลเพจร้านค้า, ห้างหุ้นส่วนจำกัดรับพิมพ์นามบัตร, บริษัท รับดูแลระบบไอที จำกัด, มหาวิทยาลัยรับเป็นที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งพนักงานของบริษัท/ห้าง/ร้าน ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ตามนิยามในกฎหมาย แต่พนักงานต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่องค์กรกำหนด

ส่งท้ายสัปดาห์ที่ 3 ได้มีการจัด “Pre-Workshop Explain Capstone Project Details” จากทาง BDI Training Team โดยมีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรมออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อจัดทำ Digital Maturity Assessment ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้หัวข้อแตกต่างกันออกไปแบ่งออกเป็นกลุ่ม L (Leadership) ได้หัวข้อ Healthcare, กลุ่ม E (Envision) ได้หัวข้อ Travel, กลุ่ม A (Agility) ได้หัวข้อ Commerce และ กลุ่ม D (Decision) ได้หัวข้อ Pubic Sector

ซึ่งการทำ Digital Maturity Assessment ได้แบ่งหัวข้อออกเป็น กลยุทธ์และแผน (Strategy & Plan), ความเป็นผู้นำ (Leadership), ประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience), การดำเนินงาน (Operations), ทรัพยากรบุคคล (People), วัฒนธรรม (Culture), องค์กร (Organization), เทคโนโลยี (Technology) และการวิเคราะห์ข้อมูล และ AI (Data Analytics & AI) และให้ผู้เข้าอบรมปรึกษากันภายในกลุ่มเพื่อจัดทำ Gap Analysis & Digital Transformation Roadmap Model ตาม Use-case ที่กำหนดในสัปดาห์ถัดไป

ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่

Website : BDI , DurianCorp
Facebook : BDI , DurianCorp

อย่าลืมกดติดตาม Tojo News เพื่อพบกับข่าวสาร และบทความใหม่ ๆ จากเรา

Line Today TOJO NEWS , ToJoNews



เกี่ยวกับ บริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จำกัด ที่ปรึกษาและบริการจัดการหลักสูตร LEAD by BDI

บริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จำกัด (DURIAN) คือผู้นำในการสร้างระบบนิเวศน์นวัตกรรมในประเทศไทย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจนวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้ง Fintech, HealthTech, GreenTech, AgTech และ Smart City, etc. มีผลงานร่วมกับทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรนานาชาติ เป็นที่ประจักษ์ทั้งในไทยและต่างประเทศ บจ.ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน ทำธุรกิจหลัก 3 ด้าน คือ

1. การให้บริการด้าน Knowledge Service การจัดหลักสูตรผู้บริหารในทุกระดับ โดยทีมที่มีประสบการณ์บริหารหลักสูตร และการดูแลผู้บริหารชั้นนำทั้งประเทศไทยและนานาชาติมานานกว่า 10 ปี มากกว่า 30 โปรแกรมชั้นนำ

2. ธุรกิจร่วมลงทุนในรูปแบบ Venture Builder กับธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตทั้งในไทย และนานาชาติ หลากหลายอุตสาหกรรม

3. ธุรกิจด้านเทคโนโลยี AI LAB and Software House ครบวงจร โดยมีกลุ่มลูกค้าทั้งในระดับโลก และประเทศ เช่น UN, NATO, มิตรแท้ประกันภัย ฯลฯ

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: