หลังจากที่มีข่าวทั่วไปว่า ช่วงนี้ ลิงก์ปลอม หรือเว็บไซต์ปลอม กำลังระบาดเป็นอย่างหนัก ทำให้หลายๆ คนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านี้
โดยลิงก์ปลอมจะถูกส่งตามช่องทางต่างๆ เข้าโทรศัพท์มือถือ ซึ่งตัวผู้ใช้งานโทรศัพท์หลายคน
อาจจะไม่ได้สังเกตความผิดปกติของลิงก์ที่ถูกส่ง
เข้ามา จนเผลอกดคลิกลิงก์ ดาวน์โหลดไฟล์ที่เป็นอันตราย ที่เสี่ยงต่อการดูดเงินจากบัญชีธนาคารโดยไม่รู้ตัว
📌ตำรวจสอบสวนกลาง(CIB) ได้สรุปช่องทางที่มิจฉาชีพมักจะใช้ส่งลิงก์หลอกดูดเงิน จำนวน 7 ช่องทาง ดังนี้
- 1. SMS ปลอม มิจฉาชีพจะส่งลิงก์โดยมักอ้างว่า คุณได้รับสินเชื่อ คุณได้รับรางวัลจากกิจกรรม หรือหลอกลงทะเบียนรับสิทธิ ซึ่งจะหลอกให้กรอกข้อมูลและติดตั้งไฟล์ที่ไม่ประสงค์ไว้
- 2. ไลน์ปลอม มิจฉาชีพจะสร้าง LINE Official Account ปลอมขึ้นมา ใช้รูปโปรไฟล์ให้เหมือนกับของจริง อ้างเป็นตำรวจ ธนาคาร หรือหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชน หลอกให้เหยื่อโอนเงิน หรือหลอกขอข้อมูล และให้กดลิงก์สูญเงินไปจำนวนมาก
- 3. อีเมล์ปลอม โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างชื่อบริษัท แจ้งให้ชำระใบแจ้งหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระเงิน และมีลิงก์ไปเว็บไซต์ปลอม หลอกให้กรอกข้อมูล และทำรายการชำระเงิน
- 4. เว็บไซต์ปลอม มักจะแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชน หลอกให้ชำระค่าบริการต่างๆ และมักหลอกกดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จนเงินหายหมดบัญชี
- 5. ลิงก์ใต้คอมเมนท์ หรือไวรัสโฮคส์ (Virus hoax) เป็นลิงก์ข่าว หรือคลิปวิดีโอ ที่สร้างชื่อหน้าเว็บลิงก์เหมือนสื่อหลัก เพื่อหลอกให้คิดว่าเป็นการแชร์ลิงก์ที่มีต้นตอมาจากสื่อหลักมีความน่าเชื่อถือ
- 6. โฆษณาบนสื่อโซเชียลมีเดีย และเว็บไซต์ ซึ่งมีบางเว็บที่ไม่พึงประสงค์ใช้ในการหลอกล่อโฆษณาการพนัน และยิงแจ้งเตือนโฆษณา เพื่อหลอกให้คนหลงเชื่อกดลิงก์ รวมถึงลิงก์ที่ติดฝังมัลแวร์ (Malware เป็นชื่อเรียกโดยรวม ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิด ที่ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่ายระบบออนไลน์)
- 7. แอปพลิเคชันที่ไม่ทราบแหล่งที่มา จะให้ดาวน์ โหลดผ่านลิงก์ที่ส่งให้ ไม่ได้ดาวน์โหลดผ่านสโตร์ที่มีการตรวจสอบ เสี่ยงที่จะถูกหลอกติดตั้งแอปปลอมหรือแอปเลียนแบบกับแอปจริงให้คนหลงเชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็น เเอปเงินกู้ แอปพนันและแอปหาคู่เถื่อน ที่คนหลงกลเป็นเหยื่อสูญเงินไปหลายราย
ขอบคุณข้อมูลจาก
@ ตำรวจสอบสวนกลาง