ช่อฟ้านี้จะใช้ประดับเฉพาะพระราชวัง โบสถ์ (รูป ๔๙) วิหาร ศาลาการเปรียญและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ บางประเภทในวัดเท่านั้น โดยที่จริงช่อฟ้าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด เพราะไม่มีใครสามารถอธิบายที่มาได้ ทั้งรูปร่างหน้าตาของ ช่อฟ้าก็มีต่าง ๆ กันแล้วแต่ว่าเป็นของภูมิภาคใด ๆ เช่น บางแห่งอาจปั้นเป็นรูปสัตว์ธรรมดาหรือสัตว์หิมพานต์ก็ได้ โบสถ์หรือวิหารเมื่อถอดเครื่องประดับออกไปจนหมดสิ้น คงเหลือไว้แต่เพียงผนังสี่ด้านกับหลังคาเปล่า ๆ สมมติว่าลองใส่เครื่องประดับคืนเกลับเข้าไปทีละชิ้น ๆ จากข้างล่างไปสู่ข้างบน จนกระทั่งในที่สุดยกช่อฟ้ากลับขึ้นไปตั้งบนหลังคา ในทันทีที่ช่อฟ้ากลับเข้าสู่ที่เดิมเราจะรู้สึกว่าสมบูรณ์แบบได้กลับคืนมาทันที เสมือนหนึ่งช่อฟ้านี้เป็นจุดรวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ในสถาปัตยกรรมไทยแม่บท
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมในการประกอบพิธียกช่อฟ้าอันถือเป็นศาสนวัตถุที่สำคัญที่สุดของอุโบสถ
๒. เพื่อเป็นการประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าอุโบสถ วิหาร ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์
๓. เพื่อร่วมกันทำนุบำรุงพระศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบต่อไป
ช่อฟ้า คือ ส่วนที่อยู่บริเวณยอดสุดของหน้าบันทั้งสองด้านของอาคารในงานสถาปัตยกรรมไทย จะมีรูปลักษณะคล้ายสัตว์ปีกนกหรือครุฑ มีจะงอยปากตรงส่วนกลาง ส่วนปลายทำเป็นรูปเรียวโค้งปลายสะบัดออก มีเค้าโครงคล้ายรูปนก หรือพญานาค
พิธีการยกช่อฟ้า ถือว่าเป็นพิธีสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการยกส่วนบนสุดของอาคาร ศาสนสถานหรือพระราชวัง มีคติความเชื่อว่า หากใครได้ร่วมบุญยกช่อฟ้าแล้วนับว่าเป็นกุศลมหากุศลอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นส่วนสูงสุดของอาคาร และถือว่าเป็นทำให้อาคารสมบูรณ์ เป็นของสูงในสมัยโบราณถือกล่าวว่าบุญยกช่อฟ้าเป็นการบุญอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ ผู้ประกอบด้วยบุญญาธิการสูงส่งเท่านั้นจึงจะยกช่อฟ้าได้ มิฉะนั้นก็จะต้องใช้วิธีร่วมบุญ รวมกันเป็นหมู่เหล่าเพื่อให้บุญนั้นมากพอที่จะยกช่อฟ้าได้ โดยเฉพาะพระอารามหลวงจะหาโอกาสได้ร่วมบุญยกช่อฟ้า นั้นยากเต็มที
อานิสงส์บุญของการยกช่อฟ้า จะทำให้ชะตาชีวิตเราสูงส่งไม่ตกลงไปที่ต่ำ ไม่ตกไปอบายภูมิ มีจิตใจใฝ่ดี ใฝ่ความก้าวหน้ามีเกียรติ มีความสง่างาม
หากมีใครมาบอกบุญยกช่อฟ้า ก็รีบสะสมบุญกันนะคะ เพราะโอกาสของบุญนี้ หาทำได้ยากมาก วัดแห่งหนึ่งสร้างโบสถ์เสร็จจะมีพิธียกช่อฟ้า แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
_____________________________________________________________________________________
อ่านบทความอื่น ๆ
ตำนาน ศาลเจ้าพ่อเสือ
ไขข้อสงสัย “ใส่บาตร” จำเป็นต้องถอดรองเท้า จริงหรือ?