โดย อ่าย ณัฏฐา
การทำบุญตักบาตร เป็นประเพณีดั้งเดิมที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เราเชื่อว่สการทำบุญตักบาตรเป็นการเสริมบุญบารมีให้กับเราได้เป็นอย่างสูง คนที่ทำเป็นประจำ จะถือว่าเป็นผู้มีบุญอย่างมาก ความเคร่งครัดในเรื่องกฏระเบียบให้ปฏิบัติตามจะเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการทำให้ตามให้ถูก เพราะเชื่อว่าการทำผิดแบบแผน อาจจะทำให้บุญที่ควรจะได้ ไม่ได้เต็มอย่างที่เราคาดหวังไว้
คำถามเรื่องข้อปฏิบัติที่พึ่งควรจึงมีมาให้เราได้ยินอยู่บ่อยๆ เช่น เราควรใส่บาตรด้วยอะไร เราควรใส่บาตรพระกี่รูป หรือแม้กระทั่งว่าเราควรถอดรองเท้าตอนใส่บาตรหรือไม่ วันนี้เรามีขั้นตอนการใส่บาตรมาฝาก เพื่อให้คุณสามารถทำตามได้อย่างถูกวิธีนะคะ
การนิมนต์พระ
ในการนิมนต์พระคำพูดไม่สำคัญเท่ากับกริยาอาการที่ควรเต็มไปด้วยความสำรวม รายการให้เกียรติพระสงฆ์ที่เรานิมนต์มา โดยเราสามารถพูดง่ายๆได้ว่า นิมนต์ค่ะ/ครับ และอาจจะต่อด้วยคำว่าหลวงพี่ หลวงตาหรือแม้กระทั่งพระอาจารย์ขึ้นอยู่กับพระที่เราต้องการนิมนต์นะคะ
การจบ
ในขั้นตอนนี้คือการนำของที่เราต้องการนำมาใส่บาตรขึ้นมาทูลไว้ที่หัว เพิ่มการตั้งจิตอธิษฐาน โดยการจบที่เหมาะสมควรใช้ระยะเวลาแต่พอดี ไม่ควรนานเกินไป
การถอดรองเท้าหรือการยืนใส่บาตรด้วยเท้าเปล่า
ตามหลักปฏิบัติที่เรามักเห็นคนหลายๆ คนทำกันเมื่อเราต้องการจะใส่บาตรพระสงฆ์นอกจากเราจะถอดรองเท้าแล้ว เราจะทำการย่อลง ของโรงหรือทำตัวให้ต่ำลงกว่าพระสงฆ์ที่เราต้องการจะใส่บาตรค่ะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและเป็นการเชิดชูให้พระสงฆ์อยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่าเรา
การใส่บาตร
เมื่อเรานำของมาใส่บาตรควรสังเกตให้ดีก่อนว่าของเหล่านั้นมีคุณภาพที่ดีหรือไม่ หากเป็นอาหารหรือของสด นอกจากควรดูเรื่องอุณหภูมิเพราะหากร้อนเกินไปอาจจะทำให้พระสงฆ์ถือบาตรได้ลำบาก เราควรสังเกตว่ามีการบูดเหม็นหรือเสียสภาพไปของอาหารเหล่านั้นหรือไม่ หากเป็นของแห้ง ก็ควรสังเกตเรื่องวันหมดอายุให้ดี
ส่วนการวางของใส่บาตรนั้นควรทำด้วยสติ และกริยาที่สำรวม
การรับพร
ขั้นตอนสุดท้ายของการใส่บาตรที่พระสงฆ์จะให้พรเรา เราควรพนมมือรับพรด้วยกริยาสำรวม
จากขั้นตอนของการใส่บาตรที่เราได้กล่าวมามีหลายคนตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องของการถอดรองเท้าว่าจำเป็นหรือไม่
จากความเชื่อแล้ว คนไทยยกให้พระสงฆ์อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าเราเสมอ และเนื่องจากพระสงฆ์ส่วนใหญ่ถอดรองเท้าในขณะที่เดินบิณฑบาต จึงมองว่าการใส่รองเท้าของเราอาจทำให้เราอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าพระสงฆ์ถึงแม้จะเพียงน้อยนิดก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่จึงมักจะถอดรองเท้าในขณะใส่บาตรค่ะ
แต่หลายคนก็สงสัยว่าเมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่การถอดรองเท้าทำได้อย่างละเอียดยากลำบาก เช่นกันอยู่ในชุดเครื่องแบบ หรือการใส่รองเท้าที่มีถุงเท้าอยู่ อาจจะทำให้เลอะเทอะเฉอะแฉะเมื่อใส่รองเท้ากลับไป
ตามหลักพระพุทธศาสนาแล้วทุกอย่างสำคัญที่จิตใจ หากการถอดรองเท้าทำให้คุณกังวลใจเสียจนคุณไม่มีจิตใจหรือสมาธิที่จะจดจ่ออยู่กับการใส่บาตรแล้ว พระสงฆ์ท่านกล่าวว่าเราไม่จำเป็นต้องถอดรองเท้าเสมอไป ท่านเชื่อว่าการทำความเคารพต่อพระสงฆ์ สามารถทำได้ทั้งทางกาย วาจาและใจ ดังนั้นการใส่บาตรที่มาจากความตั้งใจจริง กระทำอยู่ในกริยาและการพูดจาที่สำรวมย่อมมีอานิสงส์มากมายอยู่แล้วค่ะ
_______________________________________________________________________________
อ่านบทความอื่น ๆ
เสริมดวงชะตา ด้วยหินโมราสีฟ้า (Blue Agate)
ตำนานท้าวเวสสุวรรณ เทพแห่งสมบัติทั้งปวง
You must be logged in to post a comment Login