หากจะพูดถึงน้ำหวานที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน และคนไทยเราก็เอาน้ำหวานนี้ไปทำหลากหลายเมนู ชื่อแรกที่เรานึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘เฮลซ์บลูบอย’ (Hale’s Blue Boy)
เฮลซ์บลูบอยอยู่คู่คนไทยมาประมาณ 64 ปี สิ่งที่น่าสนใจคือแม้จะเป็นน้ำหวานที่ภาพลักษณ์ดูบ้าน ๆ หน้าตาที่ไม่เคยเปลี่ยน และแถมไม่ค่อยทำการตลาดอะไรที่หวือหวามากนัก แต่กลับมีกำไรมากกว่าพันล้านบาท
โดยเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจค้า รายงานข้อมูลผลประกอบการของ บริษัท เฮลซ์เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำหวานเฮลซ์บลูบอย ไว้ดังนี้
ปี 2561 รายได้ 2,889 ล้านบาท กำไร 749 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 3,769 ล้านบาท กำไร 1,099 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 3,320 ล้านบาท กำไร 1,057 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 3,563 ล้านบาท กำไร 1,137 ล้านบาท
น้ำหวานสูตรของ 4 พี่น้อง
จุดเริ่มต้นของน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยนั้นเกิดขึ้นในช่วงปี 2502 พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน 4 คน ของตระกูลพัฒนะเอนก ที่เดิมทำอาชีพเปิดร้านโชห่วย ได้เริ่มปรุงสูตรน้ำหวานเพื่อนำมาวางขายในร้าน แล้วน้ำหวานเหล่านั้นกลับขายดีเป็นอย่างมากจนทำให้เริ่มมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจึงคิดการสร้างแบรนด์ขึ้นมา เนื่องจากในยุคนั้นที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าอุปโภค บริโภคทุกชนิด ใครที่เริ่มทำสินค้าอะไรก่อนก็มักจะประสบความสำเร็จ ซึ่งการสร้างแบรนด์ของพวกเขาเรียกได้ว่าเป็นการมองการณ์ไกล เพราะในยุคนั้นสินค้าโฮมเมดมักทำขายแบบง่าย ๆ ไม่มีการทำโลโก้ชื่อนี่ห้อ หรือสร้างแบรนด์ให้ยุ่งยาก
การทำโลโก้ของพวกเขาเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ เป็นงานฝีมือตั้งแต่ยังไม่มียุคคอมพิวเตอร์ โดยเกิดจากการแกะไม้เป็นตัวหนังสือและรูปหนูบลูบอก ซึ่งเมื่อพิมพ์ออกมาก็กลายเป็นฟอนต์และโลโก้ที่สวยงามและลอกเลียนเยาก
สินค้าขายดี สารพัดเมนูฮิต
แม้ไม่ชัดเจนว่าเป็นแบรนด์น้ำหวานรายแรกหรือไม่ แต่น้ำหวานเฮลซ์บลูบอยนั้นขายดีเป็นอย่างมาก ไม่เพีนงแค่ขายดีในระดับครัวเรือน แต่ยังกระแสดีไปถึงร้านอาหารและคาเฟ่ เพราะสามารุดัดแปลงไปทำเมนูของหวานได้อีกมากมาย ทั้งน้ำแข็งไส, หวานเย็น, ทับทิมกรอบ, นมเย็น ไปจนถึงเมนูดับร้อนอย่างแดงมำนาวโซดา
โดยปัจจุบัน เฮลซ์บลูบอยวางขายอยู่ 9 รวชาติด้วยกัน ได้แก่ สละ, ครีมโซดา, สับปะรด, องุ่น, สตรอเบอร์รี่, แคนตาลูป, ซาสี่, มะลิ และกุหลาบ นอกจากนี้ยังมีโปรดักต์อื่นเพิ่มเติมด้วยนั่นคือ “น้ำตาลก้อน”
นอกจากนี้ภายใต้การบริหารงายของรุ่นที่ 2 ที่ตลาดในประเทศเริ่มอิ่มตัว เฮลซ์บลูบอยยังถูกส่งออกไปขายในต่างประเทศด้วย ทั้ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป อาเซียน จีน และอินเดีย โดยธงหลักในการนำเสนอสินค้า คือการเป็น Number one syrup in Thailand
ไม่เน้นโตหวือหวา แต่แข็งแรง
สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้น้ำหวานบ้าน ๆ ที่ไม่ได้ทำการตลาดหวือหวาสามารถติบโตอย่างมั่นคงและแข็งแรงมาจนถึงปัจจุบันนี้ได้มาจากการจัดโพสิชั่นสินค้าไว้ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือนที่กำไรต่อขวดค่อนข้างต่ำ ยอดขายไม่ได้หวือหวา ทำให้ธุรกิจใหญ่ทุนหนาไม่สนใจลงมาเล่นในตลาดนี้ และไปเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมแทน จึงทำให้เฮลซ์บลูบอยแทบจะไร้คู่แข่งที่ชัดเจน อีกส่วนหนึ่งก็มาจากการควบคุมคุณภาพให้ดีสม่ำเสมอ โดยเฉพาะคุณภาพของน้ำตาลที่เป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งการที่เฮลซ์บลูบอยไม่กระโดดเข้าไปเล่นในตลาดอุตสาหกรรมทั้งที่ได้กำไรมากกว่าก็เพราะกังวลว่าจะควบคุมคุณภาพได้ลำบาก และการไปเจาะตลาดอุตสาหกรรมก็ต้องลดต้นทุนแล้วต้องไปใส่ขวดพลาสติก ซึ่งจะทำให้เก็บน้ำหวานได้เพียง 1 ปี ขณะที่ขวดแก้วนั้นสามารถเก็บรักษาได้นาน 2-5 ปี
สาเหตุสุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยนั่นก็คือ เรื่องของปรัชญาในการทำธุรกิจของตระกูลนี้ โดย ‘ประยุทธ พัฒนะอเนก’ ทายาทรุ่น 2 เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ครอบครัวของเขาเป็นคนเชื้อสายจีนที่ยึดหลักอดออม ทำมาหากินแบบเน้นความปลอดภัย ไม่โลดโผน เติบโตปีละเล็กละน้อย รักษาคุณภาพ และค่อย ๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ขอบคุณข้อมูลจาก workpointtoday
อ่านเรื่องราวของเฮลซ์บลูบอยจบแล้วอยากเริ่มต้นทำธุรกิจแล้วต้องการที่ปรึกษาและได้คำแนะนำดี ๆ เราขอแนะนำแพลตฟอร์ม ITD Expert Anywhere
สำหรับผู้ที่สนใจใช้งานแพลตฟอร์มสามารถลงทะเบียนได้ที่ : https://forms.gle/jujLjSokdB34iLJV7
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม : https://expertanywhere.itd.or.th/
Facebook : ITD Expert Anywhere
#SME #SMEThailand #itdExpertAnywhere #ITDExpertAnywhereThailand #เฮลซ์บลูบอย