กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ Gulf Cooperation Council หรือกลุ่มประเทศ GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน GCC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1981 ความน่าสนใจของตลาด GCC ถือเป็นตลาดใหญ่และมีอำนาจซื้อสูง ด้วยจำนวนประชากรทั้ง 6 ประเทศรวมกันประมาณ 60 ล้านคน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการสูงตามไปด้วย
ในปี 2565 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง มูลค่าเกือบ 75,000 ล้านบาท เติบโต 75% จากปี 2564 เพราะมูลค่าการส่งออกหลายหมื่นล้านบาท พร้อมทั้งยังมีการเติบโตสูง เรียกได้ว่า ตะวันออกกลางถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญสำหรับสินค้าเกษตรไทย ที่มองข้ามไม่ได้ โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม
ยกตัวอย่างประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบีย ยูเออี หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ซึ่งเมื่อพูดถึงประเทศเหล่านี้ เป็นประเทศที่รวยจากน้ำมัน และเป็นศูนย์กลางการบินของโลก อย่างสนามบินดูไบ
ตลาดตะวันออกกลางจึงเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แม้ว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้จะร่ำรวยและมีน้ำมันมหาศาล แต่ก็มีปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร เพราะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ดังนั้น ทุก ๆ ปีจึงต้องมีการนำเข้าอาหารจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ข้าว เนื้อสัตว์ ธัญพืช หรือสินค้าเกษตรแปรรูป
การเติบโตของมูลค่าการส่งออกทำให้เห็นโอกาสสำคัญ ที่ทำให้สินค้าเกษตรไทยส่งออกได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสิ่งสำคัญคือ “สินค้าเกษตรไทยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม” ด้วยประชากรส่วนใหญ่ในตะวันออกกลาง เป็นชาวมุสลิม จึงเลือกบริโภคอาหารฮาลาล หรืออาหารที่ชาวมุสลิมทานได้ โดยไม่ผิดหลักศาสนา ซึ่งอาหารฮาลาลนั้น ต้องมีขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่น คนมุสลิมจะต้องเป็นคนเชือดสัตว์เท่านั้น และตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จนถึงการขนส่ง และจัดจำหน่าย จะต้องไม่มีการปนเปื้อนของสิ่งต้องห้าม รวมไปถึงสินค้าต้องมาจากธรรมชาติ ที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม เช่น ผัก ผลไม้ นม และไข่
ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีการส่งออกอาหารฮาลาล เช่น ผลไม้กระป๋องแปรรูป หรืออาหารทะเลแปรรูป มากถึง 50% ของสินค้าเกษตรทั้งหมดที่ส่งออกไปตะวันออกกลางอีกด้วย ซึ่งไทยที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอยู่แล้ว ก็สามารถทำให้สินค้าเกษตร กลายเป็นสินค้าฮาลาลที่มีการรับรอง และส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้มากขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการส่งออกอาหารฮาลาล เช่น ผลไม้กระป๋องแปรรูป หรืออาหารทะเลแปรรูป มากถึง 50% ของสินค้าเกษตรทั้งหมด ที่ส่งออกไปตะวันออกกลางอีกด้วย
สินค้าเกษตรแปรรูปจากประเทศไทย เช่น อาหารทะเลกระป๋อง ผัก หรือผลไม้กระป๋อง ประเทศไทยยังครองแชมป์ตลาดได้เป็นอันดับ 1 ในหลาย ๆ ประเทศของตะวันออกกลาง นั่นเพราะว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งจากประเทศอื่น ๆ อย่างอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ที่มีวัตถุดิบต้นทางที่หลากหลาย มีพื้นที่ติดทะเล อีกทั้งแรงงานไทยมีทักษะความเชี่ยวชาญมานาน ที่สำคัญคือ ด้วยระยะทางการขนส่งที่ค่อนข้างไกล ทำให้อาหารไทยที่ส่งออกไปยังภูมิภาคนี้ มักเป็นอาหารกระป๋อง เพราะอาหารกระป๋อง มักเก็บได้นาน และไม่เน่าเสียง่าย ถือเป็นข้อได้เปรียบของสินค้าเกษตรไทย หากมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ก็จะสามารถส่งออกไปยังตะวันออกกลางอย่างต่อเนื่องได้เช่นกัน
คุณอัครวุฒิ ตั้งศิริกุศลวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวก้า อินเตอร์เทรด แอนด์ เอ็กซิบิชั่นส์ (ดูไบ) กล่าวไว้ในงาน “SMEเจาะตลาดอาหรับโอกาสเพิ่มยอดขาย” ถึงการเข้าไปทำธุรกิจในตะวันออกกลางได้อย่างน่าสนใจว่า สิ่งแรก ต้องรู้จักกลุ่ม GCC ให้ดีพอ เนื่องจากแต่ละประเทศลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพื่อหาความต้องการของตลาดที่รองรับความเป็น SMEs ได้เนื่องจากที่ผ่านมา SMEs ที่สะดุดและล้มลงในการเปิดตลาดในต่างประเทศปัญหาใหญ่ คือ ผลิตสินค้าแล้วลูกค้าไม่ซื้อ โดยเชื่อว่า ตลาดกลุ่ม GCC ยังมีความอะลุ่มอล่วยมากกว่าตลาดอื่น ๆ อีกศักยภาพกลุ่ม GCC ยังมีอนาคตเติบโตได้ดีกว่าตลาดอื่น ๆ ที่เศรษฐกิจของประเทศนั้นชะลอตัว และมีคู่แข่งในตลาดจำนวนมาก
สำหรับศักยภาพของกลุ่ม GCC ยังมีอำนาจการซื้อสูง ด้วยรายได้เฉลี่ยมากกว่าสหรัฐฯ 2 เท่า และมากกว่ายุโรป3 เท่า ที่สำคัญนิยมนำเข้าสินค้าไทยโดยเชื่อมั่นในคุณภาพ มีความหลากหลายและราคาสมเหตุสมผล นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบ 3 เรื่อง คือ
1. คนตะวันออกกลางมีความเชื่อใจหากบอกว่า มาจากไทย เขาจะเปิดใจฟังและเชื่อใจเกิน 50% เมื่อเทียบกับจีน เขาอาจจะคิดดูก่อน
2. มิตรภาพระหว่างคนตะวันออกกลางกับไทย สร้างได้ไม่ยาก ด้วยการมีความซื่อสัตย์สูงของคนไทย ทำให้ใช้เวลาพัฒนามิตรภาพไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องใช้เวลาพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้งบประมาณการตลาดที่เตรียมไว้อาจจะหมดก่อน
3. นโยบายตะวันออกกลางเป็นนโยบายเดียวและการขับเคลื่อนประเทศเป็นทิศทางเดียว ทำให้การทำงานเป็นไปได้ง่าย มีลักษณะคล้ายกับพัฒนาการของไทย เช่น ผู้นำผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น คนรุ่นใหม่เริ่มมีจำนวนมากขึ้น มีการใช้โซเชียลมีเดียมาสนับสนุนทำตลาด และการให้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีเพิ่มขึ้น
สำหรับผู้ประกอบการที่มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจในตะวันออกกลาง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 – 9 มีนาคม 2567 รวม 114 วัน บริษัทเวก้า จัดงาน Thailand Pavilion at Sheikh Zayed Festival เทศกาลประจำปี ณ อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มีผู้เข้าชมทั่วโลกกว่า 2.5 ล้านคน
โอกาสพิเศษสำหรับผู้ประกอบการที่อยากเข้าร่วมจัดงานในช่วงเวลาอันสั้น เวก้าจัดโปรแกรม “คีออส” จัดแสดงสินค้าในเวลา 10 วัน เพื่อผู้ประกอบการที่สนใจขยายธุรกิจ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ทดลองจัดแสดงสินค้าในงานที่ยิ่งใหญ่ประจำปีได้เช่นกัน
ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วม สามารถสมัครเข้าร่วมงาน ได้ที่
https://linktr.ee/sheikhzayedfestival
ติดตามข่าวสารสำคัญ ๆ ได้ทาง Vega Intertrade & Exhibition ผ่านช่องทางออนไลน์
Facebook : Vega Intertrade & Exhibition
Youtube : คัมภีร์ธุรกิจอาหรับ (Middle East Business Guru)
Tiktok : Vega Intertrade
#VegaIntertrade&Exhibition #ThailandPavilionatSheikhZayedFestival
#เวก้าอินเตอร์เทรดแอนด์เอ็กซิบิชั่น #คัมภีร์ธุรกิจอาหรับ #VegaIntertrade