Connect with us

News

โครงการ GPO Ignite Program จัดอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวรุ่นที่ 2

Published

on

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 องค์การเภสัชกรรม และ บริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จำกัด ร่วมกันจัดงานเปิดโครงการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมแบบเข้มข้น GPO Ignite Program ปีที่ 2 ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์

ดร.ศรัญญา เสนสุภา CCO & Co-Founder บริษัท ดูเรียนคอร์ปปอเรชัน จำกัด

GPO Ignite Program ปีที่ 2 เป็นโครงการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมใหม่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจด้านนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้โครงการพัฒนานวัตกรรมที่มีศักยภาพ มีแผนธุรกิจที่สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้จริง ให้บุคลากรขององค์การเภสัชกรรมสามารถศึกษาถึงกระบวนการพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสม นอกจากเพื่อให้เติบโตเป็นองค์กรที่มีนวัตกรรมจากภายใน ทั้งในเชิง Product, Service หรือ Process ที่สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน

ภาพบรรยากาศ ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์

ภายในงานช่วงแรกได้รับเกียรติจากทางองค์การเภสัชกรรม นำโดย ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ประธานคณะทำงาน ผู้ประเมินโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์  ได้ขึ้นมาพูดบนเวทีในหัวข้อ GPO Ignite Program Welcoming Session ซึ่ง ศ.พญ. อรพรรณ กล่าวว่า ในฐานะกรรมการบริหารกองทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม และประธานคณะทำงานผู้ประเมินโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ ขอแสดงความยินดีกับทั้ง 6 บริษัท ที่ผ่านเข้าสู่โครงการ GPO Ignite Program รุ่นที่ 2 ซึ่งทุกคนอยู่ภายใต้โครงการ GPO Ignite Program ซึ่งวัตถุประสงค์คือเพื่อตอบโจทย์การทำงานขององค์การเภสัชกรรม ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนทั้งเรื่องยาและนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ซึ่งคาดหวังว่า 6 บริษัทนี้จะอยู่กับเรา และมีอย่างน้อย 1 บริษัทที่ได้รับการพิจารณาเพื่อที่จะลงทุนร่วมกัน สำหรับโครงการปีที่ 2 นี้ดูแล้วว่าทุกคนมีความพร้อมและเป็นบริษัทแล้ว ปีนี้จะเน้นที่การลงพื้นที่จริงในบริษัทต่าง ๆ เพื่อที่ให้ครบคลุมและเข้าใจตรงกัน หลังจากนั้นจะมีอย่างน้อย 1 บริษัทที่ได้รับการพิจารณาร่วมทุน และทุกทีมที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ในปี 2566 จะได้รับการถ่ายความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรชั้นนำในประเทศ และได้รับคำปรึกษาแบบตัวต่อตัวจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนธุรกิจ แผนการตลาด และมีโอกาสได้รับการพิจารณาความร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมต่อไป

ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ประธานคณะทำงาน
ผู้ประเมินโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์

ด้าน ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้ขึ้นมาพูดในหัวข้อ Program Overview ซึ่งได้กล่าวว่า จากพื้นฐานที่เป็นนักวิจัย และเรียนด้านเภสัชฯ มาโดยตลอด รวมถึงเป็นผู้อำนวยการของสถาบันวิจัย และตอนนี้ได้รับตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฯ ซึ่งกำกับดูแลทางด้าน R&D (ช่วงวิจัยและพัฒนา) และทางด้านการตลาด สำหรับงานนี้จึงมาดูผลงานจากทีมต่าง ๆ เพื่อที่จะดึงและนำไปต่อยอด ซึ่งได้มีการทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยในประเทศไทยรวมทั้งโรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ เพื่อเติมเต็มข้อมูลซึ่งกันและกัน องค์การเภสัชกรรม จึงได้จัดทำโครงการ GPO Ignite Program ขึ้น เพื่อสนับสนุนผลงานนวัตกรรมจาก Startup ไทย ให้ก้าวกระโดดขึ้นไปสู่ระดับประเทศได้

โดยองค์การเภสัชกรรม และบริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จำกัด ได้ร่วมกันบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมมาแล้วอย่างเข้มข้นในรุ่นที่ 1 และประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สำหรับโครงการ GPO Ignite Program รุ่นที่ 2 นี้ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้กระชับ และเข้มข้นขึ้นกว่ารุ่นแรก โดยในปีนี้ เราได้คัดเลือกทีมที่มี TRL ในระดับ 5 ขึ้นไป ซึ่งจะมีความพร้อมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ มี Prototype และมีแผนการพัฒนาธุรกิจ แผนการตลาดเบื้องต้นแล้ว พร้อมที่จะผลักดันไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการบ่มเพาะธุรกิจในรุ่นนี้ จะเป็นการบ่มเพาะแบบเข้มข้นและกระชับ เน้นการต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้เร็วที่สุด และมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริม Startup ในประเทศไทยให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในสากล พร้อมกล่าวไว้ว่า “หวังว่าเราจะได้ทำงานร่วมกันนะคะ”

ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม

สำหรับ พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้พูดในหัวข้อ GPO Vision to Innovation โดยได้แสดงความยินดีกับทั้ง 6 ทีมที่ผ่านเข้าสู่โครงการ GPO Ignite Program รุ่นที่ 2 พร้อมกล่าวต่อว่า องค์การเภสัชกรรม เชื่อว่าการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนมีส่วนหนึ่งเกิดจากการส่งเสริมนวัตกรรม เราจึงได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับนวัตกรรม ด้วยวิสัยทัศน์ขององค์การเภสัชกรรมที่ว่า “เป็นองค์กรหลัก เพื่อสร้างความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ของประเทศ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ที่มีนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและยั่งยืน” โดยในปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรมได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมทั้งด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และธุรกิจนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนายาและเครื่องสำอาง การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในหลากหลายรูปแบบ การก่อตั้งโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสัตว์ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health Concept รวมถึงยังได้ส่งเสริมนวัตกรรมภายในองค์กร ผ่านโครงการ WOW Award โดยให้หน่วยงานภายในนำเสนอโครงการนวัตกรรม เพื่อคัดเลือกโครงการที่น่าสนใจนำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมองค์กร

พร้อมเผยว่า องค์การเภสัชกรรมจะเป็นจุดเชื่อมสำคัญระหว่างผู้ประกอบการ Startup และหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร ในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน ผ่านโครงการ GPO Ignite Program ครั้งนี้ และขออวยพรให้ทุกทีมที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ ประสบผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ มีโอกาสได้ร่วมพัฒนานวัตกรรมร่วมกับองค์การเภสัชกรรมและเครือข่ายพันธมิตร ให้มีศักยภาพและยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพของไทย ให้เติบโตทัดเทียมนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน “ขอให้ทุกท่านโชคดี และขอเปิดการอบรม GPO Ignite Program ปีที่ 2 ณ บัดนี้” พญ. มิ่งขวัญ กล่าวทิ้งท้าย

พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ คณะทำงานผู้ประเมินโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ องค์การเภสัชกรรม ได้มาให้ความรู้ในหัวข้อ “ความเข้าใจ Technology Cycle และการรับรองมาตรฐาน” โดยได้เผยว่า เทคโนโลยีก็มีวงจรชีวิตที่เรียกว่า Technology Life Cycle (TLC) เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่

1 ช่วง R&D (ช่วงวิจัยและพัฒนา) ซึ่งเป็นช่วงที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทดสอบ ทดลองทั้งตัวเทคโนโลยี และความต้องการของตลาด, 2 ช่วง Ascent (ช่วงพุ่งทะยาน) เป็นช่วงที่เทคโนโลยีเริ่มเป็นที่รู้จัก ทำให้ความต้องการ ความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย, 3 ช่วง Mature (ช่วงอิ่มตัว) เป็นช่วงที่ความต้องการของตลาดเริ่มนิ่งและทรงตัว และ 4 ช่วง Decline (ช่วงถดถอย) ช่วงนี้เป็นช่วงที่แม้จะเพิ่มแรงกระตุ้นไปเท่าไหร่ก็ไม่กระเตื้องอีกต่อไป ความต้องการของตลาดลดลงเรื่อย ๆ จนหมดความต้องการ หมดความสำคัญและตายไปในที่สุด

พร้อมทั้งได้ยกตัวอย่างเครื่องหมายที่สำคัญในการรองรับ เช่น เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป ที่เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ สมอ. กำหนดมาตรฐาน, เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ที่เป็นเครื่องหมายรับรองการผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไป, เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย ที่เป็นเครื่องหมายรับรองการผลิตที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน, ฯลฯ

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
คณะทำงานผู้ประเมินโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ องค์การเภสัชกรรม

ช่วงบ่ายภายในงานได้มีกิจกรรม Project Presentation ที่ให้แต่ละทีมนำเสนอโครงการ จาก บริษัท กัญญ์ เฮิร์บ จำกัด, บริษัท เฟมเม เวิร์ค จำกัด, บริษัท โนบิทเทอร์ จำกัด, บริษัท เทคแคร์ ซิสเตม จำกัด, บริษัท เกรท เทค แอนด์ อินโนเวชั่น จำกัด และบริษัท ด๊อกเตอร์อาสา เฮลท์ จำกัด พร้อมทั้ง ดร.ศรัญญา เสนสุภา CCO & Co-Founder บริษัท ดูเรียนคอร์ปปอเรชัน จำกัด ได้ขึ้นมากล่าวแนะนำรายชื่อผู้ให้คำปรึกษาแต่ละท่านเพื่อให้คำปรึกษาในการพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์

และช่วงสุดท้ายของวันได้มีกิจกรรม Ignite Clinic สำหรับให้แต่ละทีมได้เข้ารับคำปรึกษาทางด้าน Business และด้าน Technical ก่อนจบกิจกรรมในวันแรก  

สามารถติดตามข่าวสารของโครงการได้ที่ 

องค์การเภสัชกรรม

อ่านข่าวอื่น ๆ ของ GPO ได้ ที่นี่

#GPO #IgniteProgram #DurianCorp #GPOIgniteProgram #GPOIgniteProgram2 #WhereAngelsMeetUnicorns #MakeKnowledgeVisible&Accessible #HealthTechStartup #MedTechStartup

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: