ครม.มีมติเห็นชอบ ขยายเวลาจัดทำกฎหมายลำดับรอง ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ.2553 ออกไปอีก 1 ปี
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการ “ทำกฎหมายลำดับรอง” ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553
ออกไป 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 19 ฉบับ โดย สธ. ได้ยกร่างกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 18 ฉบับ ขณะนี้ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 1 ฉบับ
แต่โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อน
วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ มีผลบังคับใช้
การออกกฎหมายลำดับรอง จึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
ตามกรอบของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี
จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง
จำนวน 1 ฉบับดังกล่าว
ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน
หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ….
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานฯ นั้น
ประกอบไปด้วย
- ให้ผู้จ้างงานสามารถเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หลักประกันความเสียหายในการทำงาน
จากผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้จ้างงานและผู้รับงาน
- กรณีที่งานที่รับไปทำ“มีมูลค่าสูงหรือมีปริมาณมาก”เพื่อคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
ไม่ต้องเดือดร้อน ในการหาหลักประกันเกินกว่าที่กำหนด และป้องกันมิให้ผู้จ้างงานแสวงหา
ผลประโยชน์จากหลักประกันโดยไม่สมควร
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ค @ ไทยคู่ฟ้า
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/74797?fbclid=IwAR24Hmbg7X37GfBWW16WGn_-VgJXVtG0MK61Q1qMRNqB74N6u53bLur3G9M