นักปฏิวัติคนสำคัญของคิวบา ซึ่งใช้แนวคิดทางการเมืองแบบมาร์กซ์-เลนิน
เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศ เปลี่ยน สาธารณรัฐคิวบา เป็น รัฐบาลสังคมนิยม
มีการปฏิรูปในทุกภาคส่วนของสังคม คาสโตร ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคิวบา
ตั้งแต่ ค.ศ. 1959 ถึง 1976 และเป็น ประธานาธิบดีตั้งแต่ ค.ศ. 1976 ถึง 2008
ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์คิวบา ตั้งแต่ก่อพรรคใน ค.ศ. 1961 กระทั่ง ค.ศ. 2011
ฟิเดล อาเลฮันโดร กัสโตร รุซ
(Fidel Alejandro Castro Ruz 13 สิงหาคม ค.ศ. 1926 — 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016)
ว่ากันว่า ฟิเดล เกิดในไร่อ้อยที่หมู่บ้านบีราน ใกล้เมืองมายารี ปัจจุบันคือจังหวัดโอลกิง
ประเทศคิวบา (ยุคที่ฟิเดลเกิดเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโอเรียนเต)
บิดาของฟิเดล มีเชื้อสายสเปน อพยพเข้ามาสร้างเนื้อสร้างตัวในคิวบา
โดยเริ่มต้นเป็นกรรมกรในโรงงานน้ำตาล แต่ด้วยความมานะ อุตสาหะ ก็สามารถสร้างฐานะจนร่ำรวย
มารดาของ คาสโตร เดิมเป็นเพียงคนรับใช้ในบ้านของพ่อ คาสโตร จึงถือเป็นลูกนอกกฏหมาย
ด้วยมารดาพาคาสโตรพาหนีออกจากบ้าน ไปฝากเลี้ยงไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า
ก่อนที่ภายหลัง บิดาจะตามกลับมาอยู่ด้วยกัน ส่งเสียให้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย
ในขณะที่ร่ำเรียนในระดับมหาวิทยาลัย คาสโตรเข้าเรียนวิชากฎหมายที่ฮาวาน่า
คาสโตร เริ่มทำกิจกรรมทางการเมือง ภายหลังก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับกบฏติดอาวุธ
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับรัฐบาลฝ่ายขวาในสาธารณรัฐโดมินิกันและโคลอมเบีย
เขาเคยนำกำลังเข้าโจมตีค่ายทหารมอนคาดา แต่ล้มเหลวใน ค.ศ. 1953 ทำให้ถูกจำคุกหนึ่งปี
จากนั้น เขาเดินทางไปยังเม็กซิโก ด้วยความช่วยเหลือของราอุล กัสโตร น้องชาย
และเช เกบารา เพื่อนรัก เขารวบรวมกลุ่มนักปฏิวัติชาวคิวบา เป็นขบวนการ 26 กรกฎาคม
ภายหลังจึงเดินทางกลับมายังคิวบาพร้อมกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ทำการต่อสู้จนกระทั่ง
สามารถล้มล้างการปกครองของประธานาธิบดีคิวบา ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา ผู้นำผู้เผด็จการของคิวบา
ซึ่งได้รับการหนุนหลังจาก สหรัฐอเมริกา บาติสตา ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศใน ค.ศ. 1959
การรับเอาแนวความคิดแบบ มาร์กซ์-เลนิน เป็นหลักในการปกครองประเทศในปี ค.ศ. 1961
คาสโตร ประกาศการปฏิวัติคิวบาด้วยแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1965
ก่อนที่ต่อมาคาสโตร จะก้าวขึ้นเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ จากนั้น
เขาเปลี่ยนแปลงคิวบาสู่สาธารณรัฐสังคมนิยม เต็มตัว ด้วยการนำระบบอุตสาหกรรม
กลับมาเป็นของรัฐและให้บริการสาธารณสุขและการศึกษาแบบให้เปล่า
รวมถึงการปราบปรามการต่อต้านภายในประเทศตนเอง
ฟิเดล คาสโตร ได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพและนายกรัฐมนตรีตามลำดับ
การพัวพันในการล้มล้างรัฐบาลบาติสตา รวมถึงความสัมพันธ์กับผู้นำโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ
ทำให้ สหรัฐอเมริกา คอยจับตามอง คาสโตร อยู่ตลอด ซีไอเอ พยายามสร้างสถานการณ์
เพื่อล้มล้างรัฐบาลของ คาสโตร หลายหนแต่ก็ล้มเหลว
รวมถึงมีความพยายามลอบสังหาร ฟิเดล คาสโตร อีกหลายๆครั้ง
สหรัฐใช้มาตราการกีดกันทางการค้าและบอยคอตในทางเศรษฐกิจต่อคิวบา อย่างหนัก
เพื่อบีบให้ ฟิเดล คาสโตร กลับมาภักดีกับ รัฐบาลประชาธิปไตย ของสหรัฐอเมริกา
แต่ ฟิเดล คาสโตร กลับเดินหน้าสร้างพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตและอนุญาตให้โซเวียต
ตั้งฐานทัพเพื่อเก็บอาวุธนิวเคลียร์บนเกาะคิวบาได้ เรื่องนี้นำไปสู่เหตุการณ์
วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาใน ค.ศ. 1962
ใน ค.ศ. 1976 เขากลายมาเป็นผู้นำประเทศแบบเบ็ดเสร็จในระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึง 1983
หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตพันธมิตรหลัก ใน ค.ศ. 1991
คาสโตรได้นำคิวบาเข้าสู่ “วาระพิเศษ” ทางเศรษฐกิจ
โดยใช้แนวความคิดสวนทางกับทุนนิยมของโลกในยุคนั้น ต่อมาได้นำคิวบาเข้า
ร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม”พันธมิตรโบลิเวียเพื่ออเมริกา” ใน ค.ศ. 2006
รวมถึงสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการเมืองกับชาติอื่นในลาตินอเมริกา
ซึ่งเรียกว่า “เส้นทางสายกุหลาบ” เพื่อเผยแพร่แนวคิดการปกครองแบบคอมมิวนิสต์
ให้แก่ประเทศในแถบอเมริกาใต้ ในปีเดียวกัน คาสโอนผ่องถ่ายภาระกิจไปยังรองประธานาธิบดี ราอุล กัสโตร
ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเมื่อ ฟิเดล คาสโตร ลงจากตำแหน่งใน ค.ศ. 2008
ฟิเดล คาสโตร เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคนทั้งโลก มีผู้คนยกย่องว่าเป็นตัวแทนของการ
ต่อต้านจักรวรรดินิยม มีมนุษยธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและคนยากจนทั่วโลก
บ้างก็กล่าวหาว่าเป็นผู้นำเผด็จการ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนบ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี
เขาได้มีอิทธิพลสำคัญต่อการเมืองทั่วโลก ในระดับเดียวกับ เนลสัน มันเดลา, อูโก ชาเบซ
และเอโบ โมราเลส นอกจากนี้ ฟิเดล คาสโตรยังได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพวกนิยมซ้าย
นักสังคมนิยม และนักต่อต้านจักรวรรดินิยมจำนวนมากทั่วโลก
ฟิเดล คาสโตร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ในวัย 90 ปี
ข้อมูลจาก
You must be logged in to post a comment Login