Connect with us

Dharma

ย้ำอีกครั้ง!! กรมทรัพย์สินทางปัญญา แจงประเด็น ลิขสิทธิ์ “ปังชา” อะไร ยังไง มาดูกัน

Published

on

หลังจาก “ปังชา” กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคม เมื่อมีผู้อ้างลิขสิทธิ์ พร้อมระบุถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับความคุ้มครอง พร้อมทั้งสงวนสิทธิห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือนำชื่อไปใช้ ได้ส่งจดหมายเตือนไปไล่ฟ้องร้านที่ใช้ชื่อคล้ายกัน ทำให้สาธารณชนเกิดความสงสัยว่า เมนูขนมน้ำแข็งไส ที่มีขนมปังและราดด้วยชาไทย ร้านทั่วไปยังสามารถขายได้หรือไม่

ต่อมา กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้แจงถึงประเด็นดังกล่าวรวมถึงได้เปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างกันของลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักรู้ ถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน

โดย สิทธิบัตร มีด้วยกัน 3 แบบคือ

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีความ ชับซ้อน หรือมีการแก้ไขปัญหาทาง เทคนิค เช่น • กระบวนการบ่าเชื้อสเตอริไลซ์สําหรับอาหาร • พบปราศจากแลคโตส
  • อนุสิทธิบัตร
    การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
    แต่ไม่มีความซับซ้อนทางเทคนิคมากนักเช่น
    • สูตรอาหารเจลสำหรับพกพา
    • เครื่องผลิตน้ำแข็งใสแบบเกล็ดละเอียด
  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์
    การคุ้มครองรูปร่าง ลวดลาย
    หรือองค์ประกอบของสี เช่น
    • รูปร่างของขนมที่มีลักษณะพิเศษ
    • ลวดลายของกล่องบรรจุอาหาร

ส่วน ลิขสิทธิ์ นั้น หมายถึง

  • ลิขสิทธิ์ คือ ความคุ้มครองทางกฎหมาย ที่ให้ แก่เจ้าของผลงาน ที่เกิดจากการใช้ความคิด สร้างสรรค์
  • การคุ้มครองลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่ต้องจดทะเบียน

โดยประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์ได้แก่

  • งานวรรณกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานสิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นๆ ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
  • ตัวอย่างลิงสิทธิ์ในธุรกิจร้านอาหาร เช่น ภาพถ่าย Display สินค้า ลวดลาย และรูปเล่มของเมนูอาหาร ลวดลายหรือภาพวาด บนภาชนะใส่อาหาร เป็นต้น

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ย้ำอีก !! ว่า
“น้ำแข็งไส ราดชาไทย” มีขายมานาน จึงไม่มีใครสามารถ จดสิทธิบัตร และ อนุสิทธิบัตร
แล้วอ้างเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในเมนูนี้ได้

ส่วนร้านที่เป็นข่าวไล่ฟ้องร้านเล็กๆอื่นๆนั้น แม้จะได้จดสิทธิบัตรในหลายรายการ โดย 1 ในนั้น คือ ภาชนะ ที่เป็นของแบรนด์ ซึ่งร้านอื่นๆไม่ควรใช้ภาชนะที่เหมือนกับของที่มีลิขสิทธิ์ ไปใช้ในร้าน
ของตัวเอง

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
@ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: