Connect with us

Business

Craft Beer ไทย ! เผยอีกมุมที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

Published

on

Craft Beer ไทย ! เผยอีกมุม ที่คุณ “ไม่เคยรู้มาก่อน”

Craft Beer ไทย “ศุภพงษ์ พรึงลำภู” ผู้ขับเคลื่อนคนสำคัญ และผู้ร่วมก่อตั้งโรงเบียร์สหประชาชื่น

เผยจุดเริ่มต้นของการริเริ่มผลิต Craft Beer ที่มา แนวคิด และวิธีการผลิต ซึ่งจะทำให้เรามองเห็นอีกด้านของวงการคราฟต์เบียร์ ว่าไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด !

คุณศุภพงษ์ พรึงลำภู
คุณศุภพงษ์ พรึงลำภู

คุณศุภพงษ์ พรึงลำภู หรือ คุณตูน เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเบียร์สหประชาชื่น และหัวหน้าฝ่ายผลิต ทำเบียร์มาประมาณ 9 ปี เมื่อก่อนจะต้มเบียร์ เช่าบ้านกับลุงยอด ยอดเบียร์ และบริษัทกรุ๊ปบี พอหลังโควิดเราเห็นว่าราคา พื้นที่ ตกลงมา เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่แพร่ระบาด

เรามองว่านี่เป็นโอกาสที่ดีในการขยับขยายพื้นที่ และได้เจอที่ตรงประชาชื่น เลยรวมกัน แล้วก็คิดว่าโรงเบียร์จะชื่ออะไรดี ก็เสนอชื่อโรงเบียร์ประชาชื่นใจ แต่เขาบอกว่ามันดูตลกเกิน เลยลองหาอะไรที่มันดูยิ่งใหญ่ขึ้น

สหประชาชื่นกับสหประชาชาติ เราคล้ายกันคือการที่หลายกลุ่มมารวมกัน อยากให้พูดชื่อแล้วรู้เลยว่าอยู่แถวไหนอย่างน้อยก็ยึดโยงกับพื้นที่ เราชอบ Motto ของ UN ชอบเรื่องสันติภาพอยู่แล้ว ผมมองว่าถ้างั้นเราเป็นสหประชาชื่น เพื่อสันติภาพและความมั่นคงของคราฟต์เบียร์ไทย เลยเป็นที่มาของชื่อโรงเบียร์ครับ

โรงเบียร์สหประชาชื่น
โรงเบียร์สหประชาชื่น

อะไรทำให้คุณตูนเลือกที่จะมาขับเคลื่อนเรื่องคราฟต์เบียร์ในประเทศไทย ?

เมื่อ 9 ปีที่แล้ว ผมอยากทำเบียร์ชื่อ แซนด์พอร์ต เป็นไอเดียเริ่มจากว่า ตอนนั้นอยู่ที่ตำบลท่าทราย นนทบุรี เราอยากมีอะไรสักอย่างที่มีเอกลักษณ์ไว้เป็นความภาคภูมิใจ เรารู้สึกว่าทำไมทุกคนเข้าไปในเมืองหมดเลย เราไม่ได้อยากไปเอกมัย ทองหล่อ อยากอยู่แถวบ้าน แต่แถวบ้านไม่มีอะไร

คิดว่าถ้าเรามีเบียร์ดี ๆ แถวบ้าน คนในเมืองหรือนักท่องเที่ยวคงสนใจอยากมาชิมสักครั้ง ปรากฏว่ามันทำไม่ได้ ตอนนั้นเราเข้าใจว่ามันมีสุราชุมชน เราเลยไปขอ แต่ปรากฏว่าผิดกฎหมาย คือเราไม่เคยรู้มาก่อน พอเรารู้เราเลยรู้สึกว่ามันไม่ใช่ ทำไมเขาถึงไม่ให้เราทำล่ะ ในเมื่อเป็นอาชีพสุจริต ทำเบียร์เป็นอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ได้ทำยาเสพติดร้ายแรง ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่แฟร์ ก็เลยพยายามทำให้ได้

ความคิดเห็นของคุณตูนต่อกฎหมายการผลิตสุราในไทย มีความคิดเห็นอย่างไร ?

ผมว่ามันไม่มีเหตุผลเพียงพอในกฎระเบียบหลาย ๆ อย่าง ในการกำหนดขั้นต่ำที่มันสูงมาก ๆ ผมไม่เห็นว่ามันมีประโยชน์อะไร ตัวอย่างถ้าคุณอยากทำวิสกี้ คุณต้องมีกำลังผลิต 30,000 ลิตร/วัน หรือเบียร์ ต้องมีกำลังผลิตที่สูง ผมมองว่าสังคมปัจจุบันแนวคิดแบบนี้มันไม่สามารถไปต่อได้แล้ว

สังคมคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันต้องการ การมีเหตุผลมากขึ้น ทำไมรายย่อยควรทำไม่ได้ เนื่องจากประเทศเราไม่มีการกีดกันทางการค้า แต่มีประโยชน์ต่อนายทุน ลดการแข่งขันกับนายทุนใหญ่ เรียกเอื้อนายทุนก็ได้ ตรงนี้มันยังไม่มีคำตอบ ซึ่งการเคลื่อนไหวเลยมีต่อมาเรื่อย ๆ

เมนูร้านโรงเบียร์สหประชาชื่น
เมนูเบียร์ร้านโรงเบียร์สหประชาชื่น

เมื่อ 9 ปีที่แล้ว เราเริ่มพูดเรื่องนี้กันครั้งแรก ๆ เลย ตอนนั้นก็มีคนสนใจอยู่บ้าง แต่ว่าตอนนี้เป็นวงกว้าง แล้ว สังคมเข้าใจแล้วว่าสุราของประเทศไทยถูกผูกขาดจริง ๆ กฎหมายเหล่านี้ ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนจริง ๆ มันก็ไม่มีทางออกกฎหมายเพื่อประชาชน เรื่องเหล่านี้ก็จะแก้ยากขึ้นเรื่อย ๆ

อยากจะฝากอะไรกับรัฐบาลที่จะมีการจัดตั้งเร็ว ๆ นี้

ก็มองว่าเรื่องสุรา เรามีการควบคุมที่สูงที่สุดในโลกแล้ว การควบคุมแอลกอฮอล์ในบ้านเรามันเป็นตัวร้ายมาตลอด ไม่สามารถมีงานวิจัย ที่เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ ธุรกิจสุรา เป็นตัวโกงที่ทางภาครัฐยัดเยียดให้ แต่จริง ๆ แล้วเราเสียภาษีในอัตราที่สูงมาก เราอยากให้สุราเติบโตไปอย่างยั่งยืนไปกับสังคมไทย

ต้องเริ่มจากการให้ผู้ประกอบการ หรือประชาชนมีส่วนร่วมในการออกกฎกติกาต่าง ๆ และการควบคุมที่ไร้เหตุผล เช่น ห้ามขายหลังบ่าย 2 หรือ การให้ข้อมูลจะถูกตีความเป็นโฆษณาไปหมด แล้วเจ้าหน้าที่เอาสินบนไปแบ่งกัน ผมว่าเราควรต้องหยุดเรื่องนี้ได้แล้ว เพื่อให้สุรากับสังคมสามารถไปด้วยกันได้

ผมอยากให้สุราหรือการดื่มเบียร์เป็นเรื่องของวัฒนธรรม ที่สามารถอวดชาวต่างชาติ หรืออวดภูมิภาคได้ ยกตัวอย่าง เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี พอไปถึงจะรู้เลยว่าเขามีอะไรดี ของเราก็มีเหมือนกันแต่ถูกตัดตอนมาตลอด อยากฝากรัฐบาลใหม่ว่าให้ฟังประชาชนมากขึ้น ความคิดเห็นของนายทุนก็คงสำคัญ แต่ถ้าไม่เอาประชาชนเข้าไปอยู่ในสมการด้วย คุณคงไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้

อุปสรรคในการผลิตคราฟต์เบียร์ มีอะไรบ้าง ?

ธุรกิจสุรา ความเสี่ยงภายนอกสำคัญที่สุด ตั้งแต่ผมทำเบียร์มา 9 ปี มีวิธีจัดเก็บภาษีถึง 3 ครั้ง การจัดเก็บภาษีแต่ละครั้ง ไม่มีพวกเราอยู่ในปัจจัยการตัดสินใจ ดังนั้น ทำให้ตอนนี้ภาษีของรายย่อยเสียสูงกว่ารายใหญ่ถึง 2 – 3 เท่า เพราะคิดจากราคาปลีก ตอนแรกที่เราเริ่มทำ เรามองว่าอยากได้กำไรสัก 10% แต่ปรากฏว่าเขาขึ้นภาษีใหม่ เท่ากับเราต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 20% กลายเป็นว่ากำไรที่ทำมาปีที่แล้วหายหมดเลย

กด Craft Beer

ยังไม่รวมเรื่องกฎหมายควบคุมที่ออกมาโดยคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบไม่มีขีดจำกัด เขาสามารถออกกฎหมายเองได้เรื่อย ๆ เขาออกกฎหมายห้ามขายออนไลน์ โรงผลิตไวน์ที่อยู่ตามชายแดนก็เรียบร้อยเลย เขาอยู่ชายแดนเขาขายตามเว็บไซต์แล้วก็ส่งไปรษณีย์ไป เขาก็พออยู่ได้ แต่พอตัดช่องทางนี้ คือคนต้องอยู่ติดถนนใหญ่กันหมด เหรอทุนคนต้องเข้าห้างกันหมดถึงจะซื้อได้หรือ ?

ความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้มีมาอยู่เรื่อย ๆ อุปสรรคเรื่องกติกาการผลิตก็เรื่องหนึ่ง เราไม่สามารถทำได้เลย อย่างโรงเบียร์ปัญหาใหญ่ ๆ คือเรื่องกำลังการผลิต หรือทุนจดทะเบียนที่โดนบังคับ แล้วก็ห้ามจัดจำหน่าย

อย่างทุกท่านมาที่โรงเบียร์ผม จะเห็นว่าผมไม่สามารถบรรจุกระป๋องไปขายที่อื่นได้ เบียร์ต้องผลิตและจำหน่ายที่นี่ เป็นใบอนุญาตแบบนั้น เหมือนเยอรมันตะวันแดง แต่ของผมยังดีที่อยู่ในกรุงเทพ ประชาชื่น ถ้าผมอยู่ที่ห่างไกล ผมมีโอกาสผลิตเบียร์ เสียภาษี แต่ทำไมขายออกไปไม่ได้

สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรค เวลาคนจะลงทุนทำโรงเบียร์ก็ต้องมอง ทำเลที่ตั้ง ว่ามีคนอยู่ไหม ที่ที่เหมาะก็จะแพง ตรงนี้ถ้าสามารถขายออกได้มันก็ลดความแออัดได้ ถ้าเป็นห่วงเรื่องเมาแล้วขับก็ซื้อกลับบ้านได้ อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องวัตถุดิบ ตอนนี้บ้านเรายังนำเข้าเยอะ แต่ก็เริ่มเอาวัตถุดิบในไทยมาทดแทนมากขึ้น

แต่ถ้าเป็นการนำเข้าจะเยอะกว่า โดนผลกระทบอย่างตอนโควิด ค่าขนส่งขึ้น วัตถุดิบเหล่านี้ก็ขึ้นหมดเลยแล้วไม่ลดลง เรื่องเดียวที่ไม่ขึ้นคือเงินเดือนพวกผม ทีนี้พอฐานการเก็บภาษีคิดจากราคาปลีก กลายเป็นว่า พอต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ราคาปลีกก็สูงขึ้น ภาษีก็สูงขึ้นตามไปด้วย

ตรงนี้มันมี Study ดี ๆ จากเมืองนอกเยอะว่าถ้าเกิดคุณเป็นรายย่อย ให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียม เขาจะมีแต้มต่อให้ เช่น รายย่อยเสียภาษีเท่านี้ พอคุณขยายกิจการคุณเสียอีกระดับหนึ่ง พอเป็นรายใหญ่คุณเสียเยอะสุดเพราะต้นทุนถูกสุด จริง ๆ อุปสรรคมีเยอะมาก ผมว่าเราควรมีโรงเบียร์มากกว่านี้

ทดสอบกลิ่น Craft Beer

ฝากข้อคิดให้คนที่กำลังอยากเริ่มต้นผลิตเบียร์คราฟต์ว่ามีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้างในการผลิตเบียร์

สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นผลิตเบียร์ อยากให้ศึกษาเยอะ ๆ เมื่อก่อนตอนผมทำใหม่ ๆ ผมคิดว่าผมเข้าใจแล้ว แต่จริง ๆ ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ความชิบหายในการผลิตเบียร์มีหลากหลายรูปแบบ สิ่งที่ช่วยให้เบียร์เราดีได้ อย่างเดียวคือความรู้ อยากให้ศึกษาเยอะ ๆ ทดลองเยอะ ๆ อย่ารีบขายมาก ลองชิมเอง ให้เพื่อนชิม ทดสอบอายุผลิตภัณฑ์ก่อน

บางทีอร่อยที่บ้าน แต่ไม่อร่อยที่อื่น ข้อดีของการผลิตเบียร์เอง คือ สนุก อร่อยด้วย จริง ๆ เป็นเรื่องที่ผมชอบ ผมทำครั้งแรกแล้วผมรู้สึกสนุก เห็นน้ำหวานมาเป็นเบียร์ที่มีฟองในแก้วได้ด้วยฝีมือตัวเองมันเป็นความรู้สึกที่พิเศษมาก แต่จะพิเศษกว่าถ้าอร่อย อยากให้ทุกคนศึกษาหาข้อมูลเยอะ ๆ

เบียร์ทำไม่ยาก แต่เบียร์อร่อย เบียร์ที่มีคุณภาพอาจต้องใช้ความพยายาม ใช้ความรู้หน่อย ข้อเสีย คือ บางทีทำให้แฮงค์ ทำให้ท้องอืดได้ถ้าดื่มเยอะเกินไป บางทีเราก็สนุกเกิน เหมือนถ้าเราผลิตเบียร์ได้เยอะเราก็มีให้ทดลองชิมเยอะ เราควรมีวันพักผ่อนบ้าง อย่าหักโหมเกินไป จะได้อยู่ดื่มเบียร์กันได้นาน ๆ

อย่าลืมกดติดตามข่าวสารจาก Tojo News

https://today.line.me/th/v2/publisher/102232

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: