Connect with us

Social

เปิดแผนกระจายวัคซีน บุคคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงใน 13 จังหวัดเสี่ยง จะได้รับการฉีดลอตแรก

Published

on

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 เวลา 11.30 น. ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล COVID-19 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค ได้เปิดเผยถึงแผนการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรมว.สธ. ได้มอบหมายให้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำเสนอแผนต่อที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา 

โดยหลักการก็คือต้องเป็นไปตามนโยบาย ให้ทุกคนในประเทศไทยต้องได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการป่วยและตาย เพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ และเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายในการรับวัคซีนจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 กำหนด 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่อยู่ด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน 2.บุคคลที่มีโรคประจำตัว คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน และโรคอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 3.ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องการควบคุมโรคโควิด19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย

ส่วนกลุ่มเป้าหมายระยะที่ 2 จะเป็นกลุ่มเป้าหมายระที่ 1 และมีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆที่นอกหนือจากด่านหน้า ผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ นักกีฬา ผู้ที่เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบินลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ ประชาชนทั่วไป นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ นักธุรกิจต่างชาติ คนต่างชาติพำนักระยะยาว แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ 

โดยวางแผนไว้ว่า 13 จังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงเป็นฟื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ มีบุคคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฎิบัติงานกับผู้ติดเชื้อจะได้รับพิจารณาให้เข้ารับซีนก่อนเป็นลำดับแรก ตามแผนดังนี้

1. สมุทรสาคร จำนวน 70,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 8,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 6,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 46,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 10,000 โดส

2. กรุงเทพฯ (ฝั่งตะวันตก) 66,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 12,400 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,600 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 47,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 5,000 โดส

3. ปทุมธานี 8,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 3,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส

4. นนทบุรี 6,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส

5. สมุทรปราการ 6,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส

6. ตาก (อ.แม่สอด) 5,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 3,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส

7. นครปฐม 3,500 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,500 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส

8. สมุทรสงคราม 2,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 1,500 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส

9. ราชบุรี 2,500 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส

และ 4 จังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม คือ

ชลบุรี 4,700 โดส, ภูเก็ต 4,000 โดส, อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 2,500 โดส และจ.เชียงใหม่ 3,500 โดส 

ซึ่ง 4 จังหวัดนี้ จะมอบให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายตามสถานการณ์และบริบทของพื้นที่

ซึ่งจำนวนวัคซีนที่มาถึงไทย 2 แสนโดสนั้น จะฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมาย ลอตแรกรวมทั้งสิ้น 183,700 โดส ส่วนอีก 16,300 โดส สำหรับควบคุมการระบาดและฉีดให้บุคลากรโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 จะฉีดห่างกันประมาณ 2-3 สัปดาห์

นอกจากนี้ นายแพทย์ทวีศิลป์ ยังได้เปิดเผยถึงแผนการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 โดยเป็นข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยวัคซีนโควิด “ซิโนแวค” จะเข้าประเทศไทย จำนวน 2 ล้านโดส เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2564 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

-วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 : จำนวน 200,000 โดส นอกจากวัคซีนซิโนแวคจะเดินทางถึงประเทศไทยในวันนี้แล้ว วัคซีนจากแอสตราเซเนกา 

ก็จะถึงไทยด้วยเช่นกัน ลอตแรกจำนวน 117,000 แสนโดส

– เดือนมีนาคม : จำนวน 800,000 โดส ของซิโนแวค จะมาถึงประเทศไทย

– เดือนเมษายน : วัคซีนซิโนแวค เข้าไทยอีกจำนวน 1,000,000 โดส

 – เดือน มิถุนายน วัคซีนแอสตราเซเนกา จะถึงไทยจำนวน 6 ล้านโดส

– เดือนกรกฎาคม 2564 : จำนวน 10,000,000 โดส

– เดือนสิงหาคม 2564 : จำนวน 10,000,000 โดส

รอบสอง จำนวน 35 ล้านโดส เดือนกันยายน–ธันวาคม 2564 

แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

– เดือนกันยายน 2564 : 10,000,000 โดส

– เดือนตุลาคม 2564 : 10,000,000 โดส

– เดือนพฤศจิกายน 2564 : 10,000,000 โดส

– เดือนธันวาคม 2564 : 5,000,000 โดส

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: