Connect with us

Published

on

ถือเป็นข่าวที่คนทั้งโลกตั้งตารอคอยนั่นก็คือข่าวการพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ยับยั้งการระบาด ของไวรัสโคโรน่า 2019 หลังจากที่คนทั่งโลกต้องใช้ชีวิตอยู่ท่านกลางความหวั่นวิตกมาตลอดปีที่ผ่านมา และเมื่อปลายปีก็เริ่มมีข่าวดีเผยแพร่ออกมาเป็นระยะถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีน

         วันนี้สำนักข่าวโตโจ้นิวส์จะนำรายละเอียดข้อมูลของวัคซีนแต่ละชนิดที่มีการพัฒนากันอยู่ รวมถึงจะแยกแยะรูปแบบการทำงานของแต่ละแบบเอาไว้ด้วย เพื่อความเข้าใจที่ครบถ้วน รอบด้าน โดยข้อมูลดังกล่าวเรียบเรียงมาจากข้อเขียนของ นพ.ยง ภู่วรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เผยแพร่บนเฟซบุ๊ค

Unrecognizable female laboratory technician examining vial of coronavirus vaccine. Selective focus on hand and vial in foreground

โดยมีรายละเอียดดังนี้

         วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคโควิด-19 จัดกลุ่มได้หลายชนิด แต่ที่มีการขึ้นทะเบียนภาวะปกติและฉุกเฉินมี 6 ตัว โดยสามารถแบ่งกลุ่มวัคซีนได้เป็น

         1. mRNA วัคซีน มีการศึกษากันมาก โดยทำการศึกษาในมนุษย์ถึงระยะที่ 2-3 ถึง 3 ชนิด กลุ่มนี้มีความก้าวหน้าและขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 2 ชนิดได้แก่วัคซีนที่ผลิตโดย Pfizer, BioNTech และ Moderna ประสิทธิภาพในการป้องกันถึงร้อยละ 95 วัคซีนของ Pfizer ได้ขึ้นทะเบียนแล้วมากกว่า 8 ประเทศได้แก่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สวิตเซอร์แลนด์ ประเทศในเครือ EU นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ กรีนแลนด์และเซอร์เบีย และขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉินอีก 18 ประเทศรวมถึงสิงคโปร์ ส่วนวัคซีนของ Moderna ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินในอเมริกาและแคนาดา

         2. วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นตัวนำ ก็มีการศึกษากันมากเช่นเดียวกัน และมีการศึกษาในมนุษย์ระยะท้ายในมนุษย์อยู่ 4 ชนิด และได้ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉิน 3 ชนิดได้แก่ Ad 5-nCov ของ CanSino ประเทศจีน, Sputnik V ของรัสเซีย และ AstraZeneca ของอังกฤษ มีประสิทธิภาพโดยรวม 70% 

มีการแจกแจงแบบให้ครึ่งโดส แล้วตามด้วยเต็มโดส (90%) และมีการให้เต็มโดสและเต็มโดส (62%) การให้ครึ่งโดส จากความผิดพลาดของโรงงานโดยบังเอิญ และล่าสุดวัคซีนดังกล่าวเพิ่งได้ขึ้นทะเบียนล่าสุดเมื่อ 30 ธันวาคมที่ผ่านมาในประเทศอังกฤษ AstraZeneca ได้ขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในอังกฤษและอาร์เจนตินา,วัคซีนของรัสเซียขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในรัสเซีย เบลารุส และอาร์เจนตินา,วัคซีนของจีนขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในประเทศจีนเท่านั้น

         3. วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อตาย มีการศึกษาในมนุษย์ระยะท้าย 5 ชนิด และได้ขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉินแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนของ Sinovac และ Sinopharm ประเทศจีน,วัคซีน Sinovac ขึ้นทะเบียนฉุกเฉินในประเทศจีน, ส่วนของ Sinopharm ขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะปกติในจีนสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรน

                  หลักการของวัคซีนในสามกลุ่มนี้คือ

         1.mRNA และไวรัส Vector ใช้หลักการคล้ายกัน โดยกรรมวิธีแบบที่ใช้ mRNA จะใช้ Lipid Nanoparticle ส่วนไวรัสเวกเตอร์จะใช้ตัวไวรัสเป็นตัวนำพา RNA เข้าสู่เซลล์มนุษย์ แล้ว RNA ที่เป็น Messenger RNA จะเข้าสู่ไรโบโซม สร้างโปรตีนส่งผ่านออกมานอกเซลล์ โปรตีนที่สร้างออกมาเปรียบเสมือนเป็นแอนติเจนตามรูปแบบที่กำหนด กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้หรือภูมิต้านทานนั่นเอง วัคซีนในกลุ่มนี้จึงเป็นวัคซีนใหม่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง mRNA วัคซีนจึงเป็นวัคซีนชนิดแรกที่ใช้ในคนโดยตรง ไวรัสเวกเตอร์มีการศึกษาทดลองวัคซีนอีโบล่ามาบ้างแล้ว

         2.วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว ใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิมเหมือนวัคซีนในอดีตหลายๆชนิดเช่นไวรัสตับอักเสบเอ โปลิโอชนิดเชื้อตาย นอกจากนี้ยังมีวัคซีนที่รอการขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉิน (Pending) เช่น วัคซีนของบริษัท Johnson&Johnson ก็จัดว่าเป็นไวรัสแบบเวคเตอร์ วัคซีน Novavax เป็นวัคซีนแบบ Recombinant Protein และวัคซีน Covaxin ของอินเดียเป็นชนิดเชื้อตายซึ่งคงต้องรอผลการศึกษาซึ่งยังไม่ครบถ้วน เพราะเป็นการศึกษาอย่างเร่งด่วนให้สำเร็จใน 1 ปี ยังไม่ทราบผลการศึกษาระยะยาว ความคงทนของภูมิต้านทานและข้อมูลต่างๆจำต้องเป็นขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉินโดยเปรียบเทียบผลที่ได้จากการป้องกันโรคกับอันตรายที่เกิดขึ้นจากวัคซีน ผลที่ได้มากกว่าก็น่าจะเป็นประโยชน์ในภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นในภาวะฉุกเฉิน บริษัทจึงมีเงื่อนไขไม่สามารถฟ้องร้องบริษัทได้ ซึ่งจะเหมือนกันหมดทุกบริษัท

         สถานการณ์วัคซีนของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

         อินโดนีเซีย ได้รับวัคซีนจากจีน Sinovac 3 ล้านโดสในเดือนธันวาคม และเมื่อผ่านการขึ้นทะเบียนภาวะฉุกเฉิน คาดว่าจะเป็นต้นเดือนมกราคมก็จะมีการเริ่มใช้งานจริง หลังจากนั้นจีนก็จะส่งต่อให้บริษัทใหญ่ของอินโดนีเซียที่รู้จักกันดีคือ BioFarma ผลิตเพิ่มอีก 45 ล้านโดส และอินโดนีเซียวางแผนที่จะซื้อวัคซีนจาก AstraZeneca ในไตรมาสสองอีกและยังวางแผนที่จะจัดหาวัคซีนจากบริษัทอื่นๆอีก50 ล้านโดส

         ฟิลิปปินส์ ได้ติดต่อกับทุกบริษัท รวมทั้งบริษัท Pfizer และ Moderna ในระยะแรก 20 ล้านโดสและในระยะต่อมาก็จะพยายามจัดหาวัคซีนอีก 80 ล้านโดสจากบริษัทต่างๆรวมทั้ง AstraZeneca, Novavax และ Johnson&Johnson โดยในไตรมาสแรกจะใช้วัคซีนของจีนคือ Sinovac และ Sputnik V ของรัสเซีย ซึ่งคาดว่ากำลังรอขึ้นทะเบียนในฟิลิปปินส์

         มาเลเซีย ก็มีการติดต่อกับเกือบทุกบริษัทไม่ว่าจะเป็น Pfizer, Sinovac, CanSino หรือแม้กระทั่ง Moderna และ Johnson&Johnson คาดว่าในไตรมาสแรก มาเลเซียจะได้รับวัคซีนจาก Pfizer สิงคโปร์ ได้เริ่มการให้วัคซีนจากบริษัท Pfizer แล้วตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 

         ประเทศไทย เดิมมีการกล่าวว่าจะเริ่มแผนการให้วัคซีนกลางปีโดยใช้ของ AstraZeneca โดยคาดว่าจะได้รับวัคซีนภายในเดือนกุมภาพันธ์ วัคซีนAstraZeneca ที่ไทยรอคอยอยู่ ยังไม่สิ้นสุดการทดลอง

         มีมากกว่า 10 ประเทศได้เริ่มฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 5 ล้านโดส และภายในมกราคมจะมีการฉีดอีกหลายสิบเท่า ซึ่งคาดว่าจะเป็นร้อยล้านโดส

         ประเทศต่างๆได้ขึ้นทะเบียนและทะเบียนในภาวะฉุกเฉินในวัคซีนบางตัว มากกว่า 30 ประเทศและรวม EU ทั้งหมด คาดว่าจะมีการฉีดเป็นจำนวนมากในเดือนมกราคม

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: