บริษัท พลาสติก ฟิชเชอร์ (Plastic Fischer) ได้คิดค้นแทรชบูม (TrashBoom) เป็นแนวกั้นขยะหน้าตาคล้ายกับรั้วลอยน้ำ ความยาวแต่ละยูนิตประมาณ 120 เซนติเมตร ครอบคลุมผิวน้ำลึกสุด 50 เซนติเมตร ตัวอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกันเพื่อสร้างห่วงขนาดใหญ่ ที่ปรับให้เข้ากับแม่น้ำขนาดต่าง ๆ ได้ง่าย
.
ส่วนการติดตั้งสามารถนำไปวางกั้นในพื้นที่แม่น้ำที่มีความเร็วการไหลต่ำ เพื่อให้กระแสน้ำพัดเอาเศษขยะต่าง ๆ มารวมกัน จากนั้นเศษขยะจะถูกรวบรวมไปยังโรงคัดแยก เพื่อนำส่วนหนึ่งไปรีไซเคิล หรือส่งไปที่โรงเผาตามประเภทของขยะต่อไป
.
ด้านข้อดีของแทรชบูมนี้ คือสร้างจากวัสดุที่หาได้ง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ และซ่อมแซมได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ขาดแคลน หรือประเทศที่กำลังพัฒนา รวมทั้งเคลมว่ายังช่วยสร้างอาชีพให้คนในชุมชน เช่น การทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คัดแยกขยะ และนอกจาก พลาสติก ฟิชเชอร์ แล้วไอเดียการสร้างแนวกีดขวางขยะนี้ ก็เคยมีไอเดียการสร้างกำแพงฟองอากาศเบนขยะบนแม่น้ำให้ลอยไปสู่เครื่องจัดเก็บ จากบริษัทเกรท บับเบิล แบริเออร์ (Great Bubble Barrier) ในประเทศเนเธอร์แลนด์