Connect with us

Innovation & Technology

อินโดนีเซียพบคลื่นเสียง “แยกขยะพลาสติก” ออกจากมหาสมุทร

Published

on

นักวิทยาศาสตร์จากอินโดนีเซีย ค้นพบคลื่นเสียงช่วยจับไมโครพลาสติก
วิธีที่จะช่วยแยกขยะพลาสติกออกจากแหล่งน้ำรวมถึงมหาสมุทรแทนการใช้ฟิลเตอร์ดักจับขยะแบบเดิม
.
นักรณรงค์หลายประเทศ เช่น Charles Moore ผู้ก่อตั้ง Algalita Marine Research and Education ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในแคลิฟอร์เนีย มีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติกในมหาสมุทรที่เพิ่มปริมาณขึ้นปีละ 12 ล้านตัน ขณะเดียวกัน Dhany Arifianto นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Teknologi Sepulh Nopember ประเทศอินโดนีเซีย พบวิธีแยกไมโครพลาสติกออกจากแหล่งน้ำ โดยไม่ใช้ตัวกรองหรือฟิลเตอร์ที่มีราคาแพง หรือการดักจับด้วยน้ำมัน
.
การใช้คลื่นเสียงในการแยกไมโครพลาสติกทำได้ด้วยการปล่อยคลื่นเสียงเข้าไปในท่อน้ำ คลื่นเสียงจะทำให้โมเลกุลของน้ำ และไมโครพลาสติกสั่นสะเทือนในความถี่ที่ต่างกัน ไมโครพลาสติกจะเคลื่อนที่รวมตัวกัน จากนั้นจึงทำการแยกไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำได้
.
โดยผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ สามารถแยกไมโครพลาสติกในน้ำจืดได้ถึง 95% ขณะที่ในน้ำเค็มเขาตั้งเป้าให้มีประสิทธิภาพ 58% ก็เพียงพอ ซึ่งระบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสเกลที่ใหญ่ขึ้นได้ โดย Arifianto วางแผนจะใช้ช่องแคบให้เป็นประโยชน์เพื่อทดสอบนวัตกรรมนี้

เพื่อไม่พลาดข่าวสารดี ๆ จากเรา อย่าลืมกดติดตาม Tojo News

https://today.line.me/th/v2/publisher/102232

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: