Connect with us

Business

Startup จะเติบโตอย่างไรในยุควิกฤติ

Published

on

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา จาก Clubhouse ห้อง “Crisis x Growth : Startup จะเติบโตอย่างไรในยุควิกฤติ” ตอนนี้นักลงทุนมองสตาร์ทอัพอย่างไร? สตาร์ทอัพไทยไปต่อไม่ไหวจริงไหม? เป็น Session ที่ชาว Startup และ SMEs ที่ต้องการเติบโตควรรับฟัง ซึ่งถ้าใครไม่ได้ฟังไม่เป็นไร วันนี้ทีมโตโจ้นิวส์ มาแชร์ไว้ให้แล้ว 

ซึ่งห้องนี้จัดโดย คุณต้องดร.สุรอรรถศุภจัตุรัสผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ NIA และคุณบอมโอฬารวีระนนท์นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสสว. และ CEO & Co-founder, DURIAN ได้เชิญเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาร่วมพูดคุยและแชร์สุดยอดเคล็ดลับในการเติบโตให้เราฟังกัน โดยมี คุณท๊อปจิรายุสทรัพย์ศรีโสภาผู้ก่อตั้ง Bitkub, คุณหมูวรวุฒิอุ่นใจนักลงทุนอิสระที่เริ่มต้นจากการผู้ประกอบการ SMEs และ Startup สู่การ Scale ธุรกิจในระดับหมื่นล้านและผันตัวเองมาเป็นผู้ร่วมลงทุนใน Startup หลากหลายที่น่าสนใจและคุณออมศรัณย์สุตันติวรคุณนายกสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA)

เริ่มด้วยคุณท๊อป เผยว่า ในตอนนี้โลกของเราได้มีการพัฒนาของโลกที่เรียกว่า exponential world หรือการโตแบบยกกำลังของโลกอยู่แล้วโดยไม่ว่าจะมีโควิด-19 หรือไม่ก็ตามแต่โควิด-19 มันเป็นแค่ตัวเร่งที่มาเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ยิ่งเร็วขึ้นไปอีกและด้านดีของการมีโควิด-19 ก็คือรัฐบาลปริ้นเงินออกมาช่วย economy ไม่ให้หมดลมหายใจเพราะตอนนี้รัฐบาลได้อุ้ม SME อยู่ถึง 90% ให้ยังคงอยู่” 

ด้านคุณหมูมองว่าเห็นด้วยกับด้านดีของโควิด-19 ตามที่คุณท๊อปกล่าว และกล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนนี้ประเทศของเรา สูญเสียโอกาสที่นานๆ จะมีอย่างนี้สักครั้งนึง หรืออาจจะเป็นโอกาสในรอบ 100 ปีเลยด้วยซ้ำ เพราะวิกฤตครั้งนี้มันบีบบังคับให้เราต้องใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มที่ แต่เรายังใช้มันน้อยไป  เช่น พอเกิดโควิด-19  ทุกคนต้องอยู่บ้าน ออกไปทำงานไม่ได้ ถามว่าทุกวันเราใช้เทคโนโลยีอะไรที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นของคนไทยบ้าง บอกเลยว่าแทบจะไม่มี เราใช้ของต่างชาติเกือบหมดเลย ทั้งๆ ที่เราควรจะใช้โอกาสตรงนี้พัฒนา mindset และวิธีการใช้เทคโนโลยีกับการทำธุรกิจของไทย ให้มันก้าวกระโดดมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น โครงการที่รัฐออกมาให้ประชาชน พวก เราชนะ เที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง โครงการพวกนี้ มีแต่ดีๆ ทั้งนั้น  เราสามารถต่อยอดได้อีกด้วยซ้ำ แต่ไม่ได้มีใครหคิดไปถึงการต่อยอดในอนาคตเลย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง พวก e-money ที่จะจำเป็นมากๆ 

คุณต้องได้เสริมต่ออีกว่า วิกฤติ ณ วันนี้ มองว่า มันไม่ใช่แค่พราะโควิด อย่างเดียว ถ้าจะมองในมุมกว้าง มันยังมีวิกฤตอื่นๆ อีก อย่างเช่น เรื่องของสิ่งแวดล้อม pm2.5 ที่มันจะเป็นตัวเร่ง ที่จะทำให้เกิดการพลักดัน หรือพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว  ทำไมเราไม่มองว่า วิกฤตคือโอกาส ถ้าเรามองว่า วิกฤตเหล่านี้ ในอีก 3-5 ปีข้างหน้าในอนาคต ถ้ากลุ่ม startup หรือ sme ปรับตัวให้เป็น ให้เข้ากับกระแสโลกได้ทัน  มันอาจจะเป็นโอกาสดีๆ ก็ได้ โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจ เทรนด์โลกต่างๆ ที่ควรจะตามให้ทัน เช่น เรื่องของ health tech หรือ med tech, BCG Economy,  Lifestyle และ Fintech 

คุณหมูย้ำอีกว่า “ถ้าใครยังไม่รู้ วันนี้ยังไม่สายนะ ที่จะศึกษาเรื่องพวกนี้ และตามให้ทัน เพราะมันคือเทรนด์ของโลกในอีก 3-5 ปีหน้าแน่นอน โดยเฉพาะในประเทศเรา ทั้ง B ทั้ง C ทั้ง G ซึ่งเป็นฐานของเศรษฐกิจหรือทรัพยากรในบ้านเราแน่นอน”

มาที่คุณออมได้แสดงความเห็นของเรื่องของวิธีการที่จะทำให้บริษัทเป็น unicorn 

คุณออมมองว่า formula ที่จะทำให้บริษัทจะไปเป็น Centaur หรือ unicorn มันไม่ได้เปลี่ยนไปไม่ว่าจะก่อนหรือหลังโควิด-19 เกิดขึ้น แต่หลายบริษัทขาดองค์ประกอบหลักที่คนทำธุรกิจขาดกัน 

  1. คุณจะเป็น unicorn ได้ ตัว market size ที่คุณทำมันจะต้องรองรับหรือมันจะต้องใหญ่พอ และสิ่งที่ตอนนี้หลายคนเป็นคือ เวลาทำธุรกิจขึ้นมา เรามองแค่ประเทศไทยว่าเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่หลายๆครั้ง painpoint ของไทยอันเดียว มันไม่ได้เหมือนกับประเทศอื่น และทำให้มันไม่สามารถพัฒนาไปถึงประเทศอื่นๆ ได้ ทำให้ธุรกิจที่คุณทำมันจบแค่ไหนประเทศไทย 
  1. สิ่งที่ขาดไม่ได้ในบริษัทคือ ผู้ร่วมทีม คนที่มาร่วมทีมแต่แรก ควรจะต้องมีคนที่มีประสบความสูง เพราะพวกเขาเหล่านี้จะเห็น painpoint ในมุมมองธุรกิจชัด และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือกลุ่ม founder ที่มารวมตัวกัน ไม่ครบในตำแหน่งที่ควรจะเป็น บ้างที่อาจจะไม่ได้คิดว่าตรงนี้มันสำคัญ แต่ความจริงแล้ว มันสำคัญมากๆ ทีมของเราควรมีคนที่เก่งในแต่ละด้านเพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องที่ขาดกัน 
  1. Solution ที่ทำออกมาไม่ได้มีความแตกต่างกับที่อื่นๆ 

“ 3 สิ่งนี้ ที่คนที่อยากจะเป็น Centaur หรือ Unicorn ควรมี “ไม่ใช่ว่ามีแล้วไปได้ไกล แต่มันต้องมีถึงจะมีโอกาสไปได้ไกล” คุณออม กล่าว

ซึ่งหลังจากที่ได้ดู data พบว่า 72% ของ Startup ที่ fail มีอยู่ 2 เรื่อง คือ 1. Product market ไม่ fit คือมีโปรดักที่ดี แต่ market ไม่ใหญ่พอ หรือมีโปรดักที่ดี แต่คนชอบในโปรดักนี้มีไม่เยอะพอ  2. มีทีมที่ไม่ใช่ หรือมีทีมที่ใช่ในเวลาที่ไม่ถูก นั้นเอง 

ปิดท้ายด้วยข้อคิดจากคุณท๊อป กล่าวว่า ขอให้ทุกคนมี mindset ที่เปิดรับ content ที่อยู่ในหัวเรา ไม่จำเป็นต้อง unlearn สิ่งเก่า แต่ให้ relearn สิ่งใหม่ จะเรียนรู้อะไรที่มหาลัยสอน จบมาไม่ได้ใช้อยู่ดี โลกมันเปลี่ยนเร็วมาก “สำคัญที่เราเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองให้เป็น” ถ้าเรากล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ กล้าที่จะเข้าใจกฎของเกมใหม่ๆ คุณก็จะเป็นผู้ที่ชนะการเล่นเกมต่อๆ ไปได้ ไม่ยึดติดกับกฎของเกมเก่าๆ

นอกจากทักษะการปรับตัวและการอดทนการลงมือทำคือเรื่องที่สำคัญมากๆบางคนไม่ได้เก่งกว่าเราแต่เค้ากล้าที่จะทำทำให้เค้าได้เรียนรู้และเก่งขึ้นไปเรื่อยๆอย่างเช่นลองทำหนึ่งอย่างที่ตัวเองกลัวละมันจะข้ามความกลัวนั้นไป  

อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่อยากได้ความรู้เรื่องนี้แบบเต็มรูปแบบ สามารถติดตามต่อได้ที่ช่องทาง Growth program ซึ่งจะมีวิทยากรมาให้รู้อีกมากมาย และถ้าใครที่อยากเข้าร่วมโครงการแบบนี้ ช่องทางการติดต่อ Line Official Account : @growthprogram

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: