Connect with us

News

อันตราย ! แคดเมียมมีพิษต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

Published

on

อันตราย ! แคดเมียมมีพิษต่อร่างกายมากกว่าที่คิด จากกรณีที่ กทม. ประกาศพื้นที่อันตรายโรงงานซุกแคดเมียมย่านบางซื่อ เสี่ยงต่อสุขภาพประชาชนบริเวณโดยรอบ หลังจากตรวจสอบแล้วพบสารเคมี จำนวน 98 ถุง น้ำหนักประมาณ 150 ตัน

มาทำความรู้จักกับ แคดเมียม (Cadmium: สูตรทางเคมี Cd) เป็นแร่โลหะหนักชนิดหนึ่ง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลากหลายด้าน เช่น ใช้ฉาบและเคลือบเงาผิวโลหะต่าง ๆ เพื่อความเงางาม ทนต่อการกัดกร่อน สารเพิ่มความคงตัวของพลาสติก จำพวกพีวีซี ผลิตเม็ดสี ผลิตแบตเตอรี่ขนาดเล็ก (แคดเมียม – นิกเกิล แบตเตอรี่)

อันตราย

แคดเมียมยังพบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือทองแดง ในการทำเหมืองสังกะสีจะได้แคดเมียมเป็นผลตามมา สามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหาร น้ำ รวมทั้งพบแคดเมียมในสีที่ผสมใช้กับบ้านหรืออาคาร

ช่องทางการรับสัมผัส แคดเมียม เข้าสู่ร่างกาย

แคดเมียมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ดังนี้

  • ทางผิวหนังผ่านการสัมผัส
  • ทางจมูก ด้วยการหายใจ สูดดมฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนแคดเมียมเข้าไปในร่างกาย
  • ทางปากด้วยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารแคดเมียม เช่น ข้าวที่ปลูกบนดินที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียมอยู่ สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน เนื้อหรือนมจากวัวที่กินหญ้าที่เกิดจากดินที่มีการปนเปื้อน

ผลกระทบต่อสุขภาพจากแคดเมียม

  1. พิษเฉียบพลัน: พบในกรณีหายใจเอาไอระเหยของแคดเมียมเข้าไป ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอก
  2. พิษเรื้อรัง: การได้รับสารแคดเมียมเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อความเป็นพิษของไต กระดูก และอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด หากสัมผัสสารนี้มาอย่างยาวนานต่อเนื่อง

สำหรับพิษต่ออวัยวะที่สำคัญ คือ พิษต่อไต โดยจะมีการอักเสบที่ไต ทำให้ไตสูญเสียการทำงาน และอาจทำให้เกิดไตวายเรื้อรังได้ในที่สุด ซึ่งการเกิดความผิดปกติของไตนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ไม่ได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายแล้วไตก็ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ ส่วนพิษต่อกระดูก คือ แคดเมียมจะเข้าไปสะสมอยู่ในกระดูก เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนและอาจมีอาการปวดกระดูกอย่างมากโดยเฉพาะที่กระดูกสะโพก ซึ่งเป็นอาการของโรคอิไต – อิไต โดยคนกลุ่มนี้จะมีอาการกระดูกเปราะ แตกหักง่าย 

พิษของแคดเมียมยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ แคดเมียมยังมีส่วนที่ทำให้อาการของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ส่วนวิธีการรักษา ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ และการให้คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) คือ การกำจัดสารโลหะหนักออกจากร่างกายเพื่อบำบัดภาวะผิดปกติทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับการสะสมและตกค้างของสารโลหะหนักแบบเรื้อรัง 

อันคราย

วิธีป้องกันตัวเองและปฐมพยาบาล

1. หากสูดดม: ให้รีบออกจากพื้นที่ รับอากาศบริสุทธิ์นำส่งแพทย์ทันที

2. หากสัมผัสกับผิวหนัง: ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกหมดทันที ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน รีบพบแพทย์

3. หากเข้าตา: ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก รีบพบจักษุแพทย์

4. หากกลืนกิน /ดื่ม ให้รีบดื่มน้ำตามทันทีอย่างน้อย 2 แก้ว รีบพบแพทย์

5. งดเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ติดตามสถานการณ์ สังเกตอาการตนเอง ผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที

แคดเมียม ป้องกันได้อย่างไร

กลุ่มคนงานที่ต้องสัมผัสกับแคดเมียม สามารถป้องกันได้โดย

  • ใส่หน้ากาก เช่น หน้ากาก N95 ป้องกันไอระเหยจากสารเคมีโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการหายใจเอาไอของแคดเมียมเข้าสู่ร่างกาย
  • ใส่ถุงมือตลอดเวลาในขณะปฎิบัติงาน
  • ล้างมือและทำความสะอาดร่างกายหลังการทำงานทุกครั้ง
  • ประชาชนทั่วไปให้เฝ้าระวังและสังเกตอาการหากเกิดพิษที่เป็นผลจากแคดเมียม

วิธีเก็บรักษาแคดเมียม: ควรเก็บแคดเมียมในรูปแบบของสถานะของแข็งและอยู่ในบรรจุภัณฑ์อย่างมิดชิด จะสามารถลดความเสี่ยงการรับสัมผัสสารดังกล่าวได้

อย่าลืมกดติดตามข่าวสารจาก Tojo News

https://today.line.me/th/v2/publisher/102232

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: