Connect with us

Business

Wealth กับระบบการเงินใหม่

Published

on

เขียนโดย : ปุ้ม ศิริวรรณ นพรัตน์

Wealth กับระบบการเงินใหม่ 

การใช้ชีวิตของคนเราที่แสวงหา คุณภาพชีวิต เน้นความสะดวกสบาย  และใช้ชีวิตให้ได้ตามที่ต้องการ  ทรัพยากรธรรมชาติ  ที่มีอยู่..ทำงาน.เหลือใช้ เก็บสะสมจนกลายเป็น ความมั่งคั่งที่เราหรือใครก็ยังวุ่นวายหากันอยู่ว่าต้องทำอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงแบบGreat Reset ทั้งโรคระบาดก็ยังไม่จบ..ศึกการค้าระหว่าง มหาอำนาจ สหรัฐ กับพันธมิตร..และจีน แถม โซเวียต 

จีนที่ทุ่มเม็ดเงินลงทุนทั่วโลก ทั้งแอฟริกา..อาเซียนบวกการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี.. 5G 6G อวกาศ วันนี้โลกจึงมีสินทรัพย์ 2กลุ่ม

กลุ่มแรกแบบเดิมๆ จับต้องได้ ที่ดิน ทองคำ อสังหาริมทรัพย์.ธุรกิจ หุ้น.. คือ ระบบเงิน Fait ที่เรามี ธนบัตร เหรียญ ออกมาใช้ซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่แต่ละประเทศมีสกุลเงินประจำชาติ หรือท้องถิ่น  ไทยเราเรียกมูลค่าของเงินมีหน่วยเป็น บาท  สหรัฐอเมริกา เรียกดอลล่าร์สหรัฐที่เป็นมหาอำนาจทางการเงิน…เป็นผู้ชี้นำตลาดการเงินของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก.. นโยบายการเงินที่ความรับผิดชอบอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (การกำหนดอัตราดอกเบี้ย กำหนดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์.. สถาบันการเงิน ฯลฯ) นโยบายการคลัง มี กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก (จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารประเทศ.. กำหนดประเภท และอัตราการจัดเก็บภาษีทุกชนิดที่มีใช้ในประเทศ หาเงินเข้าคลัง และในยุคที่ผ่านมาเราก็มีสินทรัพย์อีกชนิดหนึ่งที่มีผลสูงมากต่อมูลค่า ธุรกิจมูลค่าหุ้น.. คือทรัพย์สินทางปัญญา..Intellectual Property (IP)..ไว้จะเขียนเล่าให้ฟังคะ

กลุ่มที่2 สินทรัพย์ดิจิทัล มีทั้ง คริปโตเคอเรนซี่จำนวน7กลุ่มหลัก

1. กลุ่มรักษามูลค่า (Store of Value) เช่น Bitcoin (BTC), Litecoin (LTC), Bitcoin Cash (BCH)

2. กลุ่มสัญญาอัจฉริยะ (Smart contract) เช่น Ethereum (ETH), Cardano (ADA), Polkadot (DOT), Kusama (KSM) ฯลฯ

3. กลุ่ม DeFi (Decentralized Finance) เช่น Uniswap (UNI), Maker (MKR), AAVE และอีกมากมาย

4 กลุ่มส่งต่อมูลค่า (Value Transfer) เช่น Ripple (XRP), Stellar (XLM)

5. กลุ่ม Oracle เช่น Chainlink (LINK), Band Protocol (BAND)

6. กลุ่ม Stablecoin เช่น USDT, USDC, DAI

7. กลุ่มมีม (Meme) เช่น Dogecoin (DOGE)

หากเราพิจารณาภาพที่ k.อั้ง สุพัฒน์ อำไพธนากร  เริ่มที่2ภาพ แรกนะคะ

จะมีการแบ่งสินทรัพย์ดิจิทัลเป็น5กลุ่ม มีหน่วยงานดูแล คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย..​คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  ที่ยังคงไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ

ส่วนสกุลเงินดิจิทัล หรือ  CBDC

CBDC คืออะไร? Central Bank Digital Currency คือเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ พูดง่าย ๆ ในกรณีของไทย ก็เหมือนเงินบาทหรือธนบัตรที่ออกโดยแบงก์ชาติ เพียงแต่อยู่ในรูปแบบ “ดิจิทัล”

เรากำลังอยู่ระหว่างการหาจุดเชื่อมของระบบเงินดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล… ที่หน่วยงานกำกับดูแล  และคุ้มครอง ของแต่ละประเทศก็ใช้กฎหมายไม่เหมือนกัน…เรียกว่าฝุ่นยังตลบ!!! แต่นักลงทุนหรือผู้แสวงหา wealth  ต้องทำย่างไรเพื่อรักษาคุณภาพชีวิต…

 ปุ้ม ศิริวรรณ นพรัตน์  ขอตั้งข้อสังเกตุว่า 

-สินทรัพย์ที่จะคงอยู่แน่.ๆ แร่ ทองคำ ที่ไว้สะสม เพื่อ wealth หรือใช้เป็น asset  back ของ ธนาคารกลางใช้เป็นหลักทรัพย์ที่จะจัดพิมพ์เงิน ธนบัตร หรือเหรียญออกมาเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจ…ของประเทศนั้นๆ

-ทองคำดิจิทัล ที่BTCคือเหรียญที่คนรุ่นใหม่เชื่อและลงทุนทั่วโลก ก็ยังคงขยายมูลค่ามาไกลมากหากนึกถึงจุดเริ่มต้น ยังมีคำถามว่า ใช้แค่เก็งกำไรหรือเปล่าจากนักลงทุนที่ไม่แน่ใจการคุ้มครองจากหน่วยงาน?

-ทรัพย์สินทางปัญญา  IP ยังถูกพูดถึงในทุกกลุ่มที่ของนักลงทุน ทุกGENว่ามีมูลค่าเพราะ เป็นตัวหลักในการสร้างนวัตรกรรม

วันนี้เราได้ยินการใช้  ดิจิทัลหยวน. ดิจิทัลบาท  รูเบิ้ลดิจิทัล.. ยุโรป จะผ่านกฏหมายการใช้ CBDC จากสภาปี2023 (2566)..

สุดท้ายก่อนจบบทความ….ข้อสังเกตุที่จะฝากไว้คือ ปกเล่มล่าสุด ของ THE ECONOMIST ภาพรถไฟฟ้าเหาะ.ในสวนสนุกเด็กเล่น…แต่งานนี้คงไม่มาเล่นๆ.เพราะประโยคที่เขียนว่า

When the ride ends , What would happen if the markets crashed

อย่าลืมรัดเข็มขัดให้แน่น…จะได้ไม่ตกขบวนเวลารถไฟตกกระแทกพื้นแรงๆๆๆ Save Trip นะคะ นักลงทุน ผู้แสวงหา wealth

สามารถย้อนกลับ ไปฟัง….รายการ ฟ้าใส.by ศิริวรรณ วันที่ 15 กพ..65..ได้ที่ Facebook page : @SPOTLIGHTbySiriwan

#พี่ปุ้ม ศิริวรรณ นพรัตน์

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: