Connect with us

On this day

15 กันยายน “วันศิลป์ พีระศรี” บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

Published

on

ภาพวาดโดย ศิลปิน ดินหิน

2435 – วันที่ 15 กันยายน คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เกิดที่เขตซาน จิโอวันนี่
เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี

2451 – คอร์ราโด เฟโรชี ได้เข้ารับการศึกษาในราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์
(The Royal Academy of Art of Florence)

2458 – คอร์ราโด เฟโรชี สำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรช่างเขียนในวัย 23 ปี
และสอบคัดเลือกได้เป็นศาสตราจารย์ เกียรตินิยมอันดับ 1

2466 – ศาสตราจารย์คอร์ราโด ได้รางวัลชนะเลิศการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยาม
ที่จัดขึ้นในยุโรป ในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์ต้องการบุคลากร
ที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตก เพื่อฝึกสอนช่างไทย ให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างผลงาน
ประติมากรรมในแบบตะวันตก
ทางรัฐบาลอิตาลี จึงได้ส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้ สยาม พิจารณา
โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงคัดเลือกศาตราจารย์คอร์ราโด ให้มาปฏิบัติงานในไทย ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์คอร์ราโด
จึงได้เดินทางเข้าสู่สยามพร้อมกับภรรยาและบุตรสาว เพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร
กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ
แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2469

2485 – ศาสตราจารย์คอร์ราโด ถูกควบคุมตัวในฐานะที่ถือสัญชาติอิตาลี เนื่องจากอิตาลีแพ้สงคราม
แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ฯพณฯ หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น
ได้เจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยขอให้ ไทย เป็นผู้ดำเนินการเอง ในขณะเดียวกัน ก็ทำเรื่องโอนสัญชาติ
ศาสตราจารย์คอร์ราโด จากอิตาลีมาเป็นไทย ศาสตราจารย์คอร์ราโด จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า
อาจารย์ศิลป์ พีระศรี นับตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา

2486 – โรงเรียนศิลปากร ได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคนแรก ในภาวะสงครามเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยาก หมากแพง
ดำรงชีวิตลำบาก ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี จึงขายทรัพย์สินส่วนตัวพาครอบครัวเดินทางกลับอิตาลี

2492 ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง เนื่องจากงานที่ยังคั่งค้าง
อยู่เป็นจำนวนมาก การเดินทางกลับมาครั้งนี้ ภรรยาและบุตร ไม่ได้ติดตามมาด้วย

2502 ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี สมรสครั้งใหม่กับนางสาวมาลินี เคนนี่ (ไม่มีบุตรด้วยกัน)

2505 ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่อนิจกรรม เนื่องจากหัวใจล้มเหลวหลังจากผ่าตัดมะเร็งลำไส้
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช รวมอายุได้ 69 ปี 8 เดือน 19 วัน

ผลงานชิ้นสำคัญของ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี

ภาพจาก 6 เมษายน “วันจักรี” – Mixmaya.Com

2472 – ปั้นแบบพระบรมรูปปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เพื่อประดิษฐาน
ที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยหล่อที่ประเทศอิตาลี

2477 – ออกแบบสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

2482 – ออกแบบภาพปั้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร

ภาพจาก อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (bkkmonument.com)

2484 – ปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐานไว้เป็นอนุสาวรีย์
ที่หน้าสวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร

2485 – ปั้นและหล่อทองแดงประติมากรรมประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ภาพจาก ศิลป์ พีระศรี – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

2493 – ออกแบบและหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ภาพจาก พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรร (palanla.com)

2499 – ออกแบบสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรรณบุรี

2500 – ปั้นพระพุทธรูปลีลา ฉลอง 25 พุทธศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา

ผลงานชิ้นสุดท้าย คือ ทำงานวิจัยจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างนนทบุรี และเขียนบทความชิ้นสุดท้าย
เรื่อง An Appreciation of Sukhothai Art ก่อนที่จะเสียชีวิต

ภาพต้นทาง จาก เปิดเรื่องราววันใกล้ชิด ‘ศิลป์ พีระศรี’ ความคิดถึงจากลูกศิษย์ถึงอาจารย์ผู้เป็นที่รัก (matichon.co.th)

คำสอนสำคัญของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี 

“พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว”

“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”

“นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร”

“ถ้านายรักฉัน ขอให้นายทำงาน”

“พวกเธอต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน…

ถึงจะเรียนศิลปะ”

“ทุกคนมีความงาม นายต้องค้นให้พบ”

“ศิลปะไม่ได้สอนให้ วาดรูป เป็น
แต่สอนให้รู้จัก การใช้ชีวิต”

“อย่าถือว่าเราเป็นคนเก่ง ต้องศึกษาเล่าเรียนอีกมาก ฉันเองยังคงศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา”

จากหนังสือ รวมคำสอนสำคัญของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี บรรณาธิการ วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร
พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2554 ในวาระครบรอบ 119 ปี อ.ศิลป์ พีระศรี
ภาพจากหนังสือ 100 ปี นิทรรศการเชิดชูเกียรติ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
ภาพต้นทางจาก 15 กันยายน “วันศิลป์ พีระศรี” บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย (silpa-mag.com)

ข้อมูลจาก
15 กันยายน “วันศิลป์ พีระศรี” บิดาศิลปะร่วมสมัยของไทย คณบดีศิลปากรคนแรก (thairath.co.th)
15 กันยายน “วันศิลป์ พีระศรี” บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย (silpa-mag.com)



Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: