Connect with us

On this day

14 สิงหาคม 2490 ปากีสถาน แยกตัวจากอินเดีย โดยได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ

Published

on

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ
ปากีสถานซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียจึงถูกอังกฤษแยกประเทศออกมาเป็นประเทศเอกราช
เนื่องจากพลเมืองส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ธงชาติปากีสถาน
ภาพจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7607367/K7607367-15.jpg

ปากีสถาน เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกับอินเดียมายาวนานกว่า 5,000 ปี
อาณาเขตของประเทศปากีสถานในปัจจุบันเคยอยู่ในส่วนหนึ่งของอินเดียโบราณหรือชมพูทวีป
ซึ่งเคยถูกปกครองโดยชาวอารยัน เปอร์เซีย มาซิโดเนีย กลุ่มชนจากเอเชียกลาง อาณาจักรออตโตมัน
ชาวอาหรับ และจักรวรรดิ์โมกุลตามลำดับ
จนถึงช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 จักรวรรดิอังกฤษ ได้ขยายอิทธิพลมายังอินเดีย
และแผ่เข้ามายังดินแดนส่วนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้แทนที่จักรวรรดิ์โมกุลที่เสื่อมอำนาจลง
ซึ่งต่อมา อังกฤษสามารถปกครองอนุทวีปเอเชียใต้ ได้โดยสมบูรณ์

อังกฤษเข้าไปมีอิทธิพลในอินเดียผ่านบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) บริษัทการค้า
ซึ่งแต่เดิมเดินทางมาที่อินเดียเพื่อหาแสวงเครื่องเทศไปค้าขาย ต่อมาก็ค่อยๆขยายเข้าไปมีอิทธิพล
ทางการทหารและการปกครอง ต่อมาเมื่อเกิดเหตุจลาจลครั้งใหญ่ในปี 1857 กองทัพอังกฤษ
ได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามก่อนประกาศใช้กฎหมายก่อตั้งรัฐบาลอินเดีย (Government of India Act)
ซึ่งเป็นการถ่ายโอนอำนาจการปกครองอินเดีย จากบริษัทอินเดียตะวันออก
มาขึ้นอยู่กับ สหราชอาณาจักร กลายเป็นส่วนนึงของจักรวรรดิอังกฤษ ในเดือนสิงหาคม 1858

แต่การปกครองโดยกดขี่ชาวพื้นเมืองของอังกฤษ ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างต่อเนื่อง ปี 1919
หลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ทหารอินเดียนับล้านเข้าร่วมสงคราม
ในกองทัพจักรวรรดิอังกฤษ ด้วยหวังว่า พวกเขาจะได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้นหลังสงคราม

ในยุคอาณานิคมนั้น ปากีสถานถือเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในอินเดีย
ก็มีแนวความคิดที่จะสถาปนาดินแดนอิสระของชาวมุสลิม
ระหว่างปี 2480-2482 (ค.ศ. 1937-1939) กลุ่มชาวมุสลิมรวมตัวกันในชื่อ All-India Muslim League
และผลักดันข้อเสนอดังกล่าว จนฝ่ายปกครองเห็นชอบกับข้อมติที่เรียกกันว่า Pakistan Resolution
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2483 (ค.ศ. 1940) จึงเกิดดินแดนที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่
ขึ้นในอนุทวีปเอเชียใต้ ในนามดินแดน ปากีสถาน

การประชุมที่จัดขึ้น ณ กรุงนิวเดลลี เพื่อดำเนินการขอเอกราชคืนจากอังกฤษซึ่งประกอบไปด้วย
(ซ้ายมือสุด) ชวาหะร์ลาล เนห์รู ผู้นำอินเดีย (คนที่สองจากขวา) ลอร์ดเม้าท์แบทเทิ่ล ตัวแทนของอังกฤษ และ (ขวามือสุด) มูฮัหมัด อาลี จินนาห์ จากปากีสถาน

At the conference in New Delhi where Lord Mountbatten disclosed Britain’s partition plan for India (left to right) Indian nationalist leader Jawaharlal Nehru (1869 – 1964), adviser to Mountbatten Lord Ismay, Viceroy of India Lord Louis Mountbatten, and President of the All-India Muslim League Muhammad Ali Jinnah.
(Photo by Keystone/Getty Images)

ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง อินเดียได้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ
จนประสบความสำเร็จในวันที่ 14 สิงหาคม 2490 (ค.ศ. 1947) และทำให้ ปากีสถาน
มีสถานะเป็นประเทศอีกประเทศหนึ่งแยกตัวจากอินเดีย
โดยแบ่งดินแดนปากีสถานในขณะนั้นเป็น 2 ส่วน คือ ปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก
( ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ ) โดยมีควาอิด-อาซาม มูฮัหมัด อาลี จินนาห์ เป็นผู้นำประเทศคนแรก
ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ (ขณะนั้นยังไม่มีตำแหน่งประธานาธิบดี)
เนื่องจากเป็นบุคคลที่ชาวปากีสถานยกย่อง ให้เป็นบิดาของประเทศ (Father of the Nation)
ต่อมาในปี 2514 (ค.ศ. 1971) ปากีสถานตะวันออกได้แยกตัวเป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน

มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2419 ถือเป็นบิดาแห่งปากีสถาน ผู้ผลักดันให้เกิดการแยกดินแดนระหว่างฮินดูกับมุสลิม ออกมาเป็นดินแดนของประเทศปากีสถาน จินนาห์เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2491 สิริอายุได้ 71 ปี
ภาพจาก มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ — Google Arts & Culture

ปากีสถาน แปลว่า ดินแดนแห่งชนบริสุทธิ์ มีชื่อเป็นทางการว่า สาธาณรัฐอิสลามปากีสถาน
(อิสลามี จัมฮูริยะ อิ ปากีสถาน) ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทิศเหนือติดกับจีน ทิศตะวันตก
ติดกับอัฟกานิสถานและอิหร่าน ทิศตะวันออกติดกับอินเดีย และทิศใต้ติดกับทะเลอาหรับ
ด้วยแต่ละประเทศที่อยู่ขนาบข้างปากีสถานมีพื้นที่ขนาดใหญ่ พรมแดนแต่ละด้าน
จึงมีระยะทางยาวไกลมาก
โดยด้านที่ติดกับอัฟกานิสถาน ยาว 2,430 กิโลเมตร, ด้านที่ติดกับจีน 580 กิโลเมตร,
ด้านที่ติดกับอินเดีย ยาว 2,240 กิโลเมตรและด้านที่ติดกับอิหร่าน ยาว 909 กิโลเมตร
ส่วนที่ติดกับทะเลอาหรับยาว 1,046 กิโลเมตร


แสดงแผนที่ประเทศปากีสถาน
ภาพจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7607367/K7607367-1.jpg

ปากีสถานมีพื้นที่ 8 แสนตารางกิโลเมตรเศษ ( ใหญ่เป็นอันดับที่ 34 ของโลก ) มีส่วนที่เป็นพื้นน้ำร้อยละ 3
ลักษณะภูมิประเทศของปากีสถาน จะเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางภาคตะวันออก ภูเขาทางภาคเหนือ
และตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ราบสูงบาลูจิสถานทางตะวันตก และทะเลทรายทางตอนใต้ เป็นพื้นที่มีระดับความสูง
ส่วนที่ต่ำที่สุด คือ มหาสมุทรอาหรับ ส่วนที่สูงที่สุด คือ K2 (เมาท์ ก็อดวิน ออสติน Mt.Godwin Austin )
ความสูง 8,611 เมตร จากระดับน้ำทะเล

สัตว์ประจำชาติปากีสถาน แพะภูเขามาร์คอร์ The Markhor (Capra falconeri)
ภาพจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7607367/K7607367-39.jpg

ประชากรของปากีสถานมีประมาณ 163(ปี2552) .เป็นเชื้อชาติปัญจาบ ร้อยละ 44 ชาวปาทาน ร้อยละ 15
ชาวซินด์ ร้อยละ 14 เซไรยคี ร้อยละ 10 มูฮาเจียร์/อูรดู (ชาวมุสลิมที่อพยพมาจากอินเดีย) ร้อยละ 8
บาลูชี ร้อยละ 3.6 และอื่นๆ ร้อยละ 3.5 ใช้ภาษาอูรดู และ ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
เพื่อการติดต่อการค้า และสื่อสาร แต่อย่างไรก็ยังถือว่า ภาษาอูรดู เป็นภาษาประจำชาติ
นอกเหนือจากนี้ก็มีภาษาท้องถิ่นอีกหลายภาษา ที่ใช้กันในพื้นที่ต่าง ๆ
เช่นภาษาปัญจาบี ซินดิ ปาทาน และบาลูชี
ชาวปากีสถานนับถือศาสนาอิสลามเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์โดยเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่มากกว่าครึ่ง
รองลงมาเป็นชีอะห์ ศาสนาอื่น ๆ อย่างฮินดู, คริสต์และซิกห์ มีจำนวนน้อย

ต้นไม้ประจำชาติ ต้นสนซีดาร์พันธุ์หิมาลัย Himalayan Cedar ( Cedrus deodara )
ภาพจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7607367/K7607367-41.jpg

เมืองหลวงของประเทศปากีสถาน คือ กรุงอิสลามาบัด และมีเมืองสำคัญ ๆ อื่น ๆ ได้แก่ การาจี
ซึ่งเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางเศรษฐกิจ ทางใต้ของประเทศ
เมืองละฮอร์เป็นเมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมทางเหนือของประเทศ 

มัสยิดชาห์ ไฟซาล ตั้งอยู่โดดเด่นอยู่ใน กรุงอิสลามาบัด เมืองหลวงแห่งใหม่ที่สร้างมาแทนที่การาจี เมืองหลวงเดิม
ภพจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7607367/K7607367-6.jpg
นกประจำชาติของปากีสถาน นกคุ่มภูเขาชูคาร์ The Chukar, Alectoris chukar
ถาพจาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7607367/K7607367-40.jpg

ข้อมูลอ้างอิงจาก

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: