เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อย และได้รับบาดเจ็บอีกนับพัน เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปฏิวัติ
ล้มล้างการปกครองระบบกษัตริย์ในอิหร่าน ไปเป็นประเทศที่ปกครองตามหลักอิสลามอย่างเต็มตัว
แต่เดิมนั้น ดินแดนแถบนี้เรียกว่าเปอร์เซีย ปกครองโดยระบบกษัตริย์มาเป็นเวลานาน
ก่อนจะเปลี่ยนชื่อประเทศไปใช้ชื่อ “อิหร่าน” แทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477
จุดเปลี่ยนสำคัญมาจากการแพร่ขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก ที่รุกคืบมาในเปอร์เซีย
โดยเฉพาะจากประเทศ อังกฤษ ที่เข้ามาหาประโยชน์จากการขุดเจาะน้ำมันในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
หลังจากนั้นชาติตะวันตกอื่นๆ ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลสำคัญในประเทศ
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาติตะวันตกเข้ามาคุกคามและแย่งชิงผลประโยชน์ มีทั้งรัสเซีย อังกฤษ
เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา คนอิหร่านเริ่มไม่พอใจต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ
นำไปสู่กระแสต่อต้านตะวันตก เพื่อปกป้องผลประโยชน์และเอกราชของชาติ
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาติตะวันตกเข้าควบคุม อิหร่าน โดยบีบให้กษัตริย์ เรซา ชาห์ ข่าน
(ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เข้าพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เมื่อ พ.ศ.2468)
ซึ่งเป็นผู้ไม่นิยมชาติตะวันตก ให้สละอำนาจราชบัลลังก์ พร้อมทั้งสนับสนุน กษัตริย์ที่นิยมตะวันตก
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาคือ มุฮัมหมัด เรซา ข่าน ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์องค์เดิม
ขึ้นครองราชย์บัลลังก์แทน อิหร่านในเวลานั้นจึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับตะวันตก
กษัตริย์มุฮัมหมัด เรซา ข่าน เริ่มมีบทบาทในการบริหารประเทศมากขึ้น พระองค์เริ่มเปลี่ยนแปลงประเทศ
ให้ก้าวหน้าในหลายๆด้าน เช่น การปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเลือกตั้ง การให้สิทธิแก่สตรี ปฏิรูปการศึกษา
แม้ประชาชนจะยอมรับการปฏิรูปของพระองค์ในตอนแรก แต่ก็นำมาซึ่งปัญหา
ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปที่ดินซึ่งคนใกล้ชิดกษัตริย์ เป็นผู้ได้รับประโยชน์ การพัฒนาตามแบบตะวันตก
ทำให้เกิดผับ บาร์ ไนท์คลับ สื่อลามก หลั่งไหลเข้ามาภายในประเทศ
จนเหล่าผู้นำทางศาสนาและพวกอนุรักษ์นิยมไม่พอใจ
ที่สำคัญคือ ผลประโยชน์ในการพัฒนาตกอยู่ในมือคนรวยเพียงไม่กี่ตระกูล รวมถึงราชวงศ์ของพระองค์
ที่มีธุรกิจและกิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงเข้าไปมีผลประโยชน์กับบริษัทต่างชาติในอิหร่าน
ในขณะที่ประชาชนอิหร่านส่วนใหญ่อยู่อย่างยากลำบาก ไม่มีงานทำ ขาดการศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
และขาดแคลนยารักษาโรค รวมทั้งนโยบายที่ให้การสนับสนุนอิสราเอล ของกษัตริย์
เหตุการณ์น่าสลดใจ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2521 โดยก่อนหน้านั้น รัฐบาลได้ประการภาวะฉุกเฉิน
ห้ามการชุมนุมในทุกกรณี แต่ก็ยังมีประชาชนจำนวนมาก ออกมาประท้วงในบริเวณจตุรัสจาเลห์
ในกรุงเตหะรานรัฐบาลจึงส่งทหารจากกองทัพไปสกัดกั้นผู้ประท้วง ต่อมามีความวุ่นวายเกิดขึ้น
ทหารจึงกราดยิงผู้ชุมนุมประท้วงล้มตายนับร้อย บาดเจ็บอีกนับพัน
เหตุการณ์นี้สร้างความโกรธแค้น ไม่พอใจให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ เป็นชนวนให้เกิด
การปฏิวัติล้มล้างอำนาจการปกครองของกษัตริย์ ของอิหร่าน
ทำให้อิหร่าน กลับไปสู่การเป็นรัฐที่ปกครองตามหลักศาสนาอิสลามเต็มตัว
ข้อมูลและรูปภาพจาก
Black Friday (1978) – Wikipedia
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของอิหร่าน จากกษัตริย์สู่รัฐอิสลาม (silpa-mag.com)
You must be logged in to post a comment Login